...+

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2548

กวี...อีสาน....

เมืองไทยนั้นถือได้ว่ามีหลายชนชาติ หลายศาสนา แตกต่างกัน
ทั้งภาษาและวัฒนธรรม แต่ใน ความแตกต่างนั้นก็รวมเอาความเป็นไทยได้
อย่างกลมกลืน และตรงนี้เองเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองไทย ภาคอีสาน
เราเองก็มิศิลปวัฒนธรรมหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าภาคภูมิใจและสมควร
แก่การสืบทอดดำรงไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาพย์ กลอน กวีแห่งอีสาน
เราซึ่งแฝงไว้ด้วยความไพเราะ กลมกลืนกับการดำรงชีวิตของคนอีสาน
ในสัมยก่อน หากแต่นำมาใช้ในปัจจุบันก็ยังใช้ได้อยู่ เนื่องจากกวีเหล่านี้

ได้แทรกคำสั่งสอนที่ลึกซึ้ง บทกวีที่กล่าวข้างต้นนั้นคือ "ผญา"
ซึ่งบางท่าน
อาจจะคุ้นหูกันดี หากแต่จะมีใครบ้างที่จดจำนำไปใช้ คงเป็นแต่เพียง
ลมที่พัดผ่านหูเท่านั้น
"คำผญา" หรือ "ผะหยา" เป็นกาพย์กลอนพื้นเมืองอย่างหนึ่ง
ที่แสดงความคิด ปัญยา ความฉลาด หลักแหลมของชาวบ้าน และเป็นคำพูด
ที่แสดงถึงความมีไหวพริบปฏิภาณอันดียิ่ง
คำผญา แตกต่างจาก กาพย์ กลอน พื้นเมืองตรงที่ ศิลปะการ
แต่งคำผญามีหลายแบบหลายวิธี ไม่ระบุระเบียบหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ถือความ
สุนทรียรสเป็นสำคัญ เนื้อหาของคำผญาส่วนมากเป็นคำพูดโอ้โลมปฏิโลม
การหยอกล้อ เสียดสีกันของหนุ่มสาว ฯลฯ

ลักษณะของผญา คือ
1.ไม่เป็นระเบียบกฏเกณฑ์แน่นอน
2.มีทั้งกาพย์ และกลอนผสมกันไป
3.บางทีมีสองวรรค สามวรรค สี่วรรคแล้วแต่ผู้แต่งต้องการ
4.ส่วนสำคัญคือ ให้มีการสัมผัสวางลงอย่างแน่นอนและมีเสียงเอก โท
เกี่ยวเนื่องกัน

ประเภทของผญา สามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทดังนี้
1.คำผญาย่อย พูดจาฟังกันระหว่างหนุ่มสาว
การฟังระหว่างหนุ่มสาวคือ การฟังระหว่างเพศในสังคม ที่ไม่อาจ
ปฏิเสธได้ แต่ความรักของหนุ่มสาวจะสร้างขึ้นเวลาใด กับใคร แบบใดนั้น
คือปัญหาที่ทุกคนช่วยกันคิดค้นและปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระยะเวลาที่ผ่านมา

คนอีสานเคยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะบทเรียนในการสร้าง
ความรักของหนุ่มสาวในเบื้องต้น ก่อนที่จะรักกันจริงๆต้องผ่านการพบปะพูดจา

จนเข้าใจก่อนซึ่งโบราณเรียกว่า รูปถูกตา วาจาถูกใจ คือทัศนะคติที่ตรงกัน
ในเบื้องต้น
เช่น ชาย "อ้ายนี้มาเห็นหน้า ซุมนางคือว่าต่าง
คือบ่แม่นชาติเชื้อ ชาวบ้านแห่งอีเฮียม
น้องแม่นเนาแดนด้าว นครใดดั้นฮอด เฮียมเด
ขอแก่นองนาถน้อง บ่นบ้าง บอกมา แดท้อน..ฯ
2.คำผญาที่พูดถึงความสวยสดงดงามและความอุดมสมบูรณ์ของชาวบ้าน
และธรรมชาติ เช่น "หอมดอกจิก คิดฮอดบ้านหลัง
หอมดอกฮัง คิดฮอดบ้านเก่า
หอมดอกคัดเค้า คือซิเฒ่าบ่เป็น แท้เด...ฯ


... เขาซาว่าชาวบ้านอ้ายมุ่น ฆ้อนกะดัง ระฆังกะม่วน
สวนฝ้ายกะงาม ข้าวกะแซบ ปลาแดกกะหอม
ข้าวกะอ่อน ปลายยอนกะมัน
3.คำผญาที่พูดถึงการพัวพันในสังคม
เช่น น้องเป็นลูกกำพลอย อาศัยอยู่นำป่า
น้องเป็นลูกกำพร้า อาศัยอยู่นำลุง
อยู่นำลุง ลุงซำปากกล้า อยู่นำป้า ป้าซำปากงาม
อยู่นำขุนนำกวน หลายปีเพิ่นว่าข่อย..ฯ

ข้อมูล ชมรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
................................แถมท้าย.......
คติกำหนดอัตราชีวิตของชาวอีสาน
สิบปี อาบน้ำบ่หนาว
ซาวปี เล่นสาวบ่เปิด
สามสิบปี ตื่นก่อนไก่
สี่สิบปี ไปไฮ่มาทอดหุ่ย
ห้าสิบปี ไปนามาทอดหุ่ย
หกสิบปี เป่าขลุ่ยบ่ดัง
เจ็ดสิบปี ตีระฆังบ่ม่วน
แปดสิบปี หนักหนวกด่วนมาหู
เก้าสิบปี พี่น้องมาดูร้องไห้
ร้อยปี บ่ไข้ก็บ่ตาย
ร้อยสิบปี เห็นเดือนหงายว่าแม่นไฟไหม้
ร้อยซาวปี ไข้บ่ไข้ก็ตาย
........................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น