...+

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แห่งท้องทุ่งเมืองคชสาร

มื่อเอ่ยถึงผ้าไหมหลายคนต่างหวนนึกถึง ช้างแห่งเมืองสุรินทร์ ซึ่งต่อแต่นี้ไม่เพียงแค่ผ้าไหมเท่านั้นที่จะสร้างชื่อให้เมือง คชสาร

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ที่ภาครัฐร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าไปส่งเสริมให้จังหวัดดังกล่าวเป็นพื้นที่นำร่องปลูก จะเป็นอีกผลิตผลหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญไม่แพ้กัน

นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า การส่ง เสริมให้ชาวบ้านรวมกลุ่ม ผลิตข้าวปลอดสารเคมี ถือ ว่าเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้ กระดูกสันหลังของชาติ สามารถลดต้นทุนการผลิต มีสุขภาพที่ดี และช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ให้มีความสมดุล สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จได้ ต้องปรับทัศนะคติที่ คน ให้มีความรู้ พัฒนาปรับเปลี่ยนระบบการผลิต

เมล็ดพันธุ์ข้าว นับเป็นอีกปัจจัยหลักที่สำคัญ โดยทางบริษัททำการวิจัยข้าวลูกผสมซึ่งแปลงทดลองปลูกอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร ซึ่งข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวให้ผลผลิต 1,500-2,000 กก./ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกได้ในปี'48 โดยจะเริ่มที่ภาคกลางในเขตชลประทานก่อน

...การทำให้รายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้นจากเดิม มิได้อยู่ที่ผลผลิต ที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้ชาวนาสามารถแปร รูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารให้ได้...

ด้วยเหตุนี้จึงดำเนินการติดตั้งเครื่องจักร เพื่อสร้างโรงสีชุมชนขึ้น ซึ่งมีกำลังการสีอัตรา 500 กก./ชม.ที่บ้านโนนม่วย ต.หนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ และให้ชาวบ้าน ในพื้นที่รวมกลุ่มวางแผน บริหารและจัดการกันเองอย่างมีระบบ ทางทีมงานทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำเท่านั้น

การสร้างโรงสีชุมชนแห่งนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้ เกษตรกรขายข้าวสารแทนข้าวเปลือก ให้คนไทยสามารถซื้อข้าวกินในแหล่งผลิต โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่งข้าวเปลือกและกลับไปซื้อในถิ่นที่ไกลออกไป

นายเลิศ บุญสด ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านโนนม่วย บอกว่า หลังจากมีโรงสีชุมชนเข้ามา สมาชิกมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะจะรับซื้อข้าว สูงกว่าราคาท้องตลาด โดยข้าวที่สมาชิกผลิต จะเป็นข้าวอินทรีย์ ซึ่งปลอดสารเคมีและปลอดสารพิษ ที่สำคัญสมาชิก ในกลุ่มไม่ต้องเอาข้าวไปจำนำ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ แต่สมาชิกสามารถเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง และมาขอกู้เงินกลุ่มไปใช้หนี้ และทางกลุ่มจะจัดระบบว่าเวลาไหน จะใช้ข้าวจากยุ้งฉางสมาชิกคนใดก่อน ซึ่งจะเวียนไปจนกระทั่งครบทุกคน หลังสิ้นปีหากสมาชิกนำเงินมาใช้หนี้ที่กู้ยืมก็ยังจะได้เงินปันผล

ส่วนผลผลิตในการทำข้าวอินทรีย์แรกๆจะอยู่ที่ 150 กก./ไร่ และแม้ผลผลิตจะได้น้อยแต่ราคาขายได้สูงกว่า สุขภาพดีขึ้น และต้นทุนลดน้อยลง ส่วนตลาดในช่วงแรกๆจะนำผลผลิตไปเปิดตัวให้คนภายนอกรู้จัก ด้วยการขนไปขายตามงานต่างๆ แต่พอนานวันเข้าผู้ บริโภคเริ่มเข้ามาหาซื้อถึงที่ จนทำให้ทุกวันนี้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ

สำหรับผลผลิตลุงเลิศบอกว่า แม้จะได้น้อยแต่นานวันจะค่อยๆเพิ่มขึ้น ซึ่งคนที่ทำนาข้าวอินทรีย์ต้องทำใจและซื่อตรง หลักการนี้ถูกต้องและเห็นด้วยจริงๆ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น