...+

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงในประเทศไทย : กรณีของชุมชนกับสัตว์ป่า

ผลการศึกษาเกี่ยวกับความส ัมพันธ์ของ ชาวม้งที่มีต่อสัตว์ป่า พบว่าลดลงจากอดีตมาก การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจทำให้ชาวม้งมีเวลาที่จะเข้าป่าล่าสัตว์ลดลง การติดต่อกับตลาดบ่อยครั้งขึ้นทำให้คนม้งซื้อเนื้อสัตว์จากพื้นที่ราบมาก ขึ้น และคนรุ่นใหม่หันเหความสนใจจากป่ามาสู่เมือง จึงอาจกล่าวได้ว่าพืชเศรษฐกิจมีผลดีทางอ้อมต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในแง่ลด ความถี่ของการล่าสัตว์ของแต่ละบุคคล และลดความสนใจและความชำนาญในการล่าสัตว์ของคนบางกลุ่มลง อย่างไรก็ดี แม้ว่าชายม้งแต่ละคนจะล่าสัตว์ลดลง ประชากรในหมู่บ้านที่เพิ่มมากขึ้นก็ยังผลให้แรงกดดันต่อประชากรสัตว์ป่ามิ ได้ลดลงมากนัก นอกจากนั้นอาวุธปืน และยานพาหนะมีส่วนช่วยให้การล่าสัตว์มีประสิทธิผลและขยายพื้นที่ได้ห่างไกล หมู่บ้านมากขึ้น จากรายงานของชาวบ้านในทุกหมู่บ้านพบว่า สัตว์ป่าแทบทุกชนิดมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จากในอดีต และบางชนิดสูญพันธุ์ไปจากป่าบริเวณรอบหมู่บ้าน ซึ่งอาจเป็นสิ่งชี้ว่าประชากรสัตว์ป่าที่ถูกล่ายังคงสูงกว่าประชากรสัตว์ ป่าที่เกิดใหม่ ชาวม้งจำนวนมากเห็นด้วยกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า และได้มีความพยายามในอดีตที่จะห้ามการล่าสัตว์บางชนิด แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากยังมีผู้ไม่ให้ความร่วมมือ การล่าสัตว์กับชาวม้งนั้นเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดทางวัฒนธรรมมายาวนานตั้งแต่ สมัยที่สัตว์ป่ายังมีอยู่ชุกชุมจนกระทั่งสัตว์ป่าจำนวนมากใกล้สูญพันธุ์ อย่างเช่นในปัจจุบัน การที่จะให้ชาวบ้านหันมาอนุรักษ์สัตว์ป่านั้นจึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมอย่างช้าๆ โดยผ่านการสื่อสารอย่างมีระบบ การใช้อุปกรณ์การสื่อสารที่น่าสนใจ เช่น วีดิทัศน์ในการชักจูงให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่า การสื่อสารกับเด็กๆเป็นประจำผ่านโรงเรียนประจำหมู่บ้าน เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในระยะยาว

คณะผู้วิจัย วรนุช ตั้งอิทธิพลากร, ฟิลิปส์ เดียร์เด็น และชูศักดิ์ วิทยาภัค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น