...+

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

การศึกษาแบบอย่างเสียงร้องของนกกกในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ได้ทำการศึกษานกกกจำนวน 4 คู่ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2540 ถึงธันวาคม 2541 โ ดยบันทึกเสียงร้องของนกทั้งตัวผู้และตัวเมียในบริเวณรังนกด้วยเครื่องบันทึก เสียงเพื่อหาแบบอย่างของเสียงร้อง และสังเกตพฤติกรรมของนกในขณะที่ส่งเสียงร้อง จากการวิเคราะห์เสียงร้องพบว่า นกกกมีการสื่อสารด้วยเสียงลักษณะเดียว คือ เสียงร้องติดต่อ (calls) ซึ่งมี 3 แบบอย่าง คือ เสียง กก กาฮัง และ กาวะ และจำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ เสียงร้องปกติ เสียงร้องก่อนที่นกจะบิน เสียงร้องประสานกัน และเสียงร้องแสดงความก้าวร้าว ในการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนตัวเมียปิดขังตัวเอง ช่วงตัวเมียปิดขังตัวเอง ช่วงตัวเมียออกจากรัง และช่วงลูกนกออกจากรัง โ ดยพบว่าช่วงก่อนที่นกตัวเมียปิดขังตัวเอง นกจะใช้เสียงร้องปกติบ่อยกว่าเสียงร้องนกประเภทอื่น และบ่อยกว่าช่วงอื่นๆ จากการศึกษาและวิเคราะห์ความถี่ของเสียงร้อง ความถี่ต่ำสุดและสูงสุดของความถี่แรก จำนวนฮาร์โมนิก ระยเเวลาในแต่ละคำ ระยะเวลาห่างของแต่ละคำ พบว่า ความถี่ของเสียง กกอยู่ในช่วง 102.7 –2840.0 เฮิร์ต เสียงกาฮังอยู่ในช่วง 111.6 – 4384.6 เฮิร์ต ค่าความถี่แรกต่ำสุดของเสียง กกอยู่ในช่วง 148.2 –180.6 เฮิร์ต และสูงสุดอยู่ในช่วง 280.3-319.5 เฮิร์ต ส่วนเสียง กาฮังมีค่าความถี่แรกต่ำสุด ผันแปรอยู่ในช่วง 141.0-189.2 เฮิร์ต และสูงสุดอยู่ในช่วง 295.1-363.1 เฮิร์ต เสียงทั้ง 2 แบบอย่างมี 8-9 ฮาร์โมนิก ระยะเวลาในแต่ละคำของเสียง กกใช้เวลาอยู่ระหว่าง 0.094-146 วินาที เสียง กาฮังใช้เวลาอยู่ระหว่าง 0.270-0.778 วินาที ระยะเวลาห่างของแต่ละคำของเสียง กกอยู่ระหว่าง 1.977-2.829 วินาที เสียง กาฮังอยู่ระหว่าง 0.406-2.296 วินาที

คณะผู้วิจัย ศิริวรรณ นาคขุนทด, พิไล พูลสวัสดิ์, โอภาส ขอบเขตต์, ปานเทพ รัตนากร



+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ

เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น