...+

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2548

ดื่มชาทั้งที ต้องให้มีประโยชน์

โดย พัชรา อร่ามศรี
11 พฤศจิกายน 2547 17:30 น.
ในยุคที่ชาเขียวเฟื่องฟู เราพูดถึงข้อดีของชากันมาก เช่น ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยละลายไขมันและลดคอเลสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง จนทำให้ข้อเสียของชา โดยเฉพาะชาดำ อาจถูกละเลย

ข้อควรระวังในการดื่มชา

สารกาเฟอีน ในชา กาแฟ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทและมีผลเสพติดอ่อนๆ เวลาไม่ได้ดื่มแล้วจะหงุดหงิด ร่างกายไม่ควรได้รับเกินวันละ 200 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับกาแฟประมาณ 2 ถ้วย หรือชาประมาณ 4-5 ถ้วย

เมื่อกาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะและลำ ไส้ แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ไต ตับ ปอด กล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนกลาง ผลของกาเฟอีนอยู่ได้ 8-14 ชั่วโมง ร่างกายต้องใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมงในการสลายคาเฟอีน ถ้าร่างกายได้รับคาเฟอีนปริมาณสูงประมาณ 3,000-10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายในเวลาอันสั้นได้

ใครบ้างที่ไม่ควรดื่มชา

กคาเฟอีนจะกระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วง ลดความสามารถและระยะเวลาในการนอนหลับ คนที่มีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ จึงไม่ควรดื่มชา นอกจากนี้น้ำชาใส่น้ำแข็งหรือน้ำชาแช่เย็น จะไปกระตุ้นลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องตื่นกลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำ ทำให้เป็นปัญหาต่อการนอนยิ่งขึ้น และไม่ควรใช้วิธีแก้ง่วงด้วยการดื่มชา เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้นทันทีที่สารกระตุ้นหมดฤทธิ์ หากทำบ่อยๆ ร่างกายจะทรุดโทรมเร็ว
กาเฟอีนทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ จึงไม่ควรดื่มชา

ฤทธิ์ของกาเฟอีนยังไปเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอย่างที่แพทย์จีนเรียกว่า "กระเพาะเย็น" ซึ่งมักจะมีอาการอึดอัด และอาเจียนออกมาเป็นน้ำใสๆ ไม่ควรดื่มน้ำชาเวลาท้องว่างตอนเช้า เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ หากอยากดื่มชาตอนเช้า ควรหาอะไรรองท้องก่อน

นอกจากนี้ชายังไม่เหมาะกับผู้ป่วยไทรอยด์ เพราะอาการกระสับกระส่ายจะยิ่งถูกคาเฟอีนกระตุ้นให้รุนแรงขึ้น กาเฟอีนยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น