...+

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547

เผยเคล็ดลับสอดแทรกความรู้ผ่านกิจกรรม

สืบเนื่องมากจากระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้โรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนทำกิจกรรมมากขึ้นขณะเดียวกันก็ลดการ เรียนการสอนในลักษณะท่องจำตำราเรียนด้วย โดยกิจกรรมนั้นต้องสอดแทรกสาระความรู้ตลอดจจนความบันเทิงให้แก่นักเรียนด้วย ซึ่งตรงนี้นับว่าเป็นโจทย์ให้ผู้บริหารโรงเรียนตลอดจนผู้สอนต้องกลับไปคิด
ดร. จรวยพร ธรณินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(สช.) กล่าวว่า ปัจจุบันนี้โรงเรียนสังกัดเอกชนหลายแห่งเริ่มนำกิจกรรมแปลกใหม่เข้ามาแทน การเรียนการสอนแบบท่องจำสูงขึ้น หากเป็นสมัยก่อนผู้สอนจะใช้วิธีการเลกเซอร์ประมาณ 90% ส่วนที่เหลือจะเป็นการเรียนการสอนในลักษณะต่างๆ
อย่างไรก็ดี หลังจากผู้สอนสนองนโยบายดังกล่าว จะสังเกตได้ว่านักเรียนรู้สึกสนุกสนานกับการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สอนหรือโรงเรียนจัดขึ้น เช่น นักเรียนได้ออกไปศึกษานอกสถาน มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และประการสำคัญนักเรียนยังมีส่วนร่วมวางแผนการเรียนการสอนร่วมกับครูอีกด้วย
“การให้นักเรียนร่วมวางแผน รวมทั้งแสดงความคิดเห็น ถือว่าเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อที่นักเรียนรู้ว่าบางครั้งการทำงานให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยความ สามัคคีของเพื่อนในกลุ่มเดียวกันด้วย อย่างไรก็ตามวิธีทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้เมื่อเติบโตขึ้นสามารถทำงานร่วม กับคนอื่นได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด”
ด้าน นางสาวสุปรียา ประสงค์ ครูโรงเรียนมีนประสาทวิทยา กล่าวในฐานะครูสอนชั้นอนุบาล 1ถึง 3 ว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาทางผู้บริหารสถานศึกษาได้วางคอนเซ็ปว่าต้องการให้ นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมวางแผนว่าสนใจเรียนเรื่องอะไรบ้าง เพื่อที่จะให้ผู้สอนไปหากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและประการสำคัญกิจกรรมเหล่านี้ ได้สอดแทรกความรู้ไว้อีกด้วย
ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์ อาจให้นักเรียนเขียนชื่อผลไม้มาคนละ 1 ชนิด แล้วให้จับกลุ่มผลไม้ชนิดเดียวกัน จากนั้นนับว่ามีจำนวนเท่าไหร่เพื่อให้เขียนเป็นตัวเลข นอกจากนี้ยังสอนให้นักเรียนรู้จักบวกเลขได้อีกด้วย โดยตั้งโจทย์ผล 2 ชนิดว่ารวมกันแล้วจะได้จำนวนเท่าไหร่ หากต้องการสอนวิธีลบอาจใช้วิธีการสอนคล้ายกัน โดยบอกว่าหากกินผลไม้ไปจำนวนหนึ่งแล้วจะเหลือกี่ผล เป็นต้น
สำหรับ กิจกรรมต่างๆ คิดขึ้นมาเพื่อให้ดึงดูดให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวพร้อมกับรับรู้เนื้อหา ตลอดเวลา โดยบางครั้งนักเรียนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่า รู้เรื่องอะไรบ้าง แต่ลองสอบถามนักเรียนส่วนใหญ่จะตอบได้ถูกต้อง
จากนั้น ครูสุปรียา เล่าว่า โรงเรียนมีนประสาทวิทยา ได้การเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลแตกต่างจากโรงเรียนแห่งอื่น โดยจัดให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 เรียนห้องเดียวกัน ทำกิจกรรมเหมือนกันทุกประการ แต่นักเรียนที่จะได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเรียนชั้น ป. 1 ได้นั้นจะดูจากอายุครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
“การให้เด็ก อนุบาลเรียนร่วมกันมีข้อดีหลายประการ เช่น เด็กโตจะช่วยดูแลเด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ไม่มากนัก อย่างพี่สอนให้น้องติดกระดุมเสื้อ ผูกรองเท้า ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้สอนให้เด็กๆ รู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมเดียวกันอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตามพี่ดูแลน้อง อย่างบางครั้งน้องไม่อยากมาโรงเรียนแต่เมื่อรู้ว่าได้เรียนห้องเดียวกันพี่ ก็อยากมาโรงเรียน ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะร้องไห้งอแงอยากกลับบ้าน เพราะเด็กๆ รู้ว่าสถานที่แห่งนี้ให้ความอบอุ่นได้ใกล้เคียงกับบ้าน”
หากถามถึง ความรู้ความสามารถของเด็กอนุบาล ครูสุปรียา กล่าวว่า จากการคลุกคลีกับเด็ก ทำให้รู้ว่าการที่รุ่นพี่ช่วยเหลือรุ่นน้องนั้นช่วยให้รุ่นน้องมีพัฒนา เรียนรู้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบความรู้ของเด็กอนุบาล 1-3 ตรงนี้ก็ต้องบอกว่าเด็กโตย่อมมีความรู้มากกว่าน้องอย่างแน่นอน
“ที่ จริงแล้วการพัฒนาความรู้ของเด็กต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง เช่นเด็กคนเดียวกันระหว่างที่อยู่อนุบาล 1-2 ยังผสมคำไม่ได้ แต่เมื่ออยู่อนุบาล 3 สามารถผสมคำง่ายๆ ได้ อย่างไรก็ดี ช่วงอนุบาลทางโรงเรียนจะเน้นเตรียมความพร้อมของเด็กเท่านั้นจะไม่วัดความ รู้ว่าเด็กคนนั้นเก่ง คนนี้อ่อน ซึ่งต้องการให้เด็กแข่งกับตัวเองมากกว่า”ครูสุปรียา กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น