++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

การรักษาโรคกระดูกเอ็นและกล้ามเนื้อด้วยแพทย์จีน : คลินิกหัวเฉียว

การป้องกันรักษาโรคกระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อด้วยศาสตร์การแพทย์จีน

ผู้เขียน ศาสตราจารย์แพทย์จีนหลี่จงหมิน
ผู้แปล.: แพทย์จีนบดินทร์ ก่อกวิน
- แพทย์จีนปิยะมาศ เมืองใชย

แผนกกระดูก

การรักษากระดูกด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นวิธีการรักษา กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก คนโบราณเรียกว่า "วิชาต่อกระดูก วิชาจัดกระดูก จัดร่างกาย" เป็นต้น วิธีการรักษากระดูกด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งได้รวบรวมประสบการณ์ ผลการรักษาโรคทางกระดูกของบรรพบุรุษชนชาติจีนอันเป็นมรดกล้ำค่าในวงการแพทย์จีน ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหาที่โดดเด่น สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ วิชาการรักษากระดูกนี้เป็นแขนงหนึ่งของศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ปัจจุบันประเทศจีนได้นำวิธีจัดกระดูกที่หักเข้ามาใช้กับผู้ป่วยกระดูกหักแบบปิด (ไม่มีบาดแผลภายนอก) ถึง 80% ซึ่งมีจุดเด่น คือ ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด แต่จะใช้วิธีจัดกระดูกให้เข้าที่ แล้วใช้แผ่นไม้ยึดดามเอาไว้ ควบคู่กับการประคบยาสมุนไพรจีน เป็นการรักษาผสมผสานระหว่างการนิ่ง- เคลื่อนไหว กล่าวคือ ตำแหน่งที่กระดูกหักถูกยึดไว้เป็นอย่างดี แต่แขน ขา ยังขยับได้ บรรเทาอาการเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี กระดูกที่หักสามารถหายเป็นปกติและใช้งานได้เร็วขึ้น นอกจากนี้นังช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ป่วยได้อีกด้วย

วิธีจัดกระดูกที่หักให้เข้าที่แบบ แพทย์แผนจีน มีจุดเด่น ดังนี้

1.การจัดกระดูกเพื่อคืนหน้าที่การงาน หลังการจัดกระดูกให้เป็นไปตามหลักสรีระแล้ว ทำให้สามารถกลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงปกติ

2.เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ได้ผลดี ประหยัด ต้นทุนต่่ำ อุปกรณ์ราคาย่อมเยาว์ และด้วยความชำนาญของแพทย์แผนจีน

3.เป็นการใช้วิธีผสมผสานระหว่างนิ่ง- เคลื่อนไหว ช่วยฟื้นฟูหน้าที่การทำงานได้เป็นอย่างดี

โรคที่ผู้ป่วยสามารถทำการรักษาแล้วได้ผลดี ได้แก่
1.โรคกระดูกคอเสื่อม (รวมถึงอาการวิงเวียนหรือปวดศีรษะ เนื่องจากความผิดปกติของกระดูกคอ) กลุ่มอาการคอและไหล่ กล้ามเนื้อบริเวณคอกดทับเส้นประสาท รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ หลังและเอวอักเสบ

2.เนื้อเยื่อรอบไหล่อักเสบ (ไหล่ติด) เอ็นกล้ามเนื้อรอบไหล่อักเสบ

3.ปวดศอก (เทนนิสเอลโบ Tennis Elbow) กลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ปลอกเอ็นกล้ามเนื้อข้อมืออักเสบ เดอเคอแวงค์ นิ้วล็อค

4.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอว โพรงกระดูกสันหลังตีบบริเวณเอว หินปูนเกาะกระดูกสันหลังเอว ปวดเอวเนื่องจากกระดูกสันหลังเอวข้อที่สาม กล้ามเนื้อเอวอักเสบ อาการหลงเหลือจากการผ่าตัดคอและเอว โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด (Bamboo Spine)

5.หินปูนเกาะข้อเข่า เอ็นเข่าอักเสบ ถุงน้ำใต้เข่าอักเสบ หมอนรองกระดูกเข่าอักเสบ เยื่อหุ้มเข่าอักเสบ

6.ข้อเท้าบาดเจ็บเรื้อรัง กลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อเท้า นิ้วหัวแม่เท้าบิดออกด้านนอก โรคเก๊าท์รองช้ำ

7.กลุ่มอาการปวดสะโพกจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส การเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ปวดข้อรูมาตอยด์ ข้อต่อแข็ง หลังการผ่าตัด กลุ่มอาการปวดหลังการผ่าตัด

โรคดังกล่าวเมื่อใช้วิธีรักษากระดูก ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ต่างได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำวิธีดึงกระดูกใช้กับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอว กระดูกคอเสื่อมและโรคข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

โรคที่ผู้ป่วยนิยมเข้ารับการรักษา คือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่วนมากจะเป็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากหมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกงอกและมีอาการผิดรูปของกระดูกสันหลัง จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โรคเหล่านี้นับวันคนอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นได้มากขึ้น ทั้งจากลักษณะท่าทางการทำงานที่ต้องก้มๆเงยๆเป็นเวลานาน การยกของหนัก การขับรถเป็นเวลานาน การนั่งทำงานที่ไม่ถูกท่า ทำให้หมอนรองกระดูกถูกกดเป็นเวลานาน จากนั้นก็ปริหรือแตกออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดหลัง แล้วร้าวลงขา รู้สึกชาที่เท้า ข้อเท้า ความรู้สึกบริเวณขาผิดปกติไป เวลาไอ จาม หรือ เบ่งอุจจาระ มีอาการปวดหลังมากขึ้น เวลาเคลื่อนไหวจะปวดมาก พอพักสักระยะอาการปวดก็จะลดลง

อีกโรคหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมในการรักษา คือ อาการปวดเข่า ส่วนมากจะพบได้ในผู้สูงอายุเช่นกัน เนื่องจากน้ำไขข้อเข่าลดลง หมอนรองกระดูกเข่าเสื่อม เอ็นรอบเข่าเกิดการอักเสบ กระดูกพรุน เป็นต้น แต่คนวัยทำงานโดยทั่วไปก็มีอาการเช่นนี้ได้ จากการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็นที่ทำงาน การยืนเดินหรือนั่งคุกเข่า หรืองอเข่าเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการอักเสบภายในข้อเข่า เวลาเคลื่อนไหวมักมีเสียงดัง อาการหลักๆที่มารักษาคือ ปวดหัวเข่า เวลายืนหรือเดินเป็นเวลานานๆ ขึ้นลงบันไดหรือคุกเข่าแล้วลุกขึ้นมาอาการปวดจะเป็นมาก บางรายอาจเป็นมากจนเดินกระเผลก หรือไม่สามารถงอเข่าได้

การรักษาโดยส่วนใหญ่จะใช้การนวดเป็นหลัก ในบางกรณีอาจมีการจัดกระดูกร่วมด้วย ประกอบด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพรจีนทั้งภายในและภายนอก การอบสมุนไพร เพื่อลดการตึงของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น บรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระดูกเข้าที่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนมากมักจะทานยาแผนปัจจุบันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จึงหันมารับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน แต่ถ้าอาการเพิ่งเริ่มต้นควรรีบเข้ารับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนจะให้ผลเร็วและมักไม่กำเริบ

ในผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติของกระดูก ผลการรักษาค่อนข้างได้ผลดี โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าเป็นหนักมากควรได้รับการผ่าตัด ทั้งนี้ผู้ป่วยควรบริหารร่างกายและระมัดระวังเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดร่วมด้วย จึงจะได้รับผลการรักษาที่ดี

คลินิกหัวเฉียวไทย-จีนแพทย์แผนไทย สาขาโคราช
2 ถ.มิตรภาพ (โค้งวัดศาลาลอย) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

โทร 044-258555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น