++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"ประเวศ" ตั้งเป้าปฏิรูปครบวงจร ลดเหลื่อมล้ำ ขีดเส้น 6 เดือน ปล่อยยาแรง

ประชุมสมัชชาปฏิรูปนัดแรกคึก "ประเวศ" ลั่น ต้องปฎิรูปโครงสร้างทั้งทาง
เศรษฐกิจ -การเงิน- การคลัง- สิทธิชุมชนต่างๆ
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขีดเส้น 6 เดือน ปล่อยยาแรงออกสู่สังคม
หวังทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปแก้ปัญหาประเทศร่วมกัน
ย้ำหากไม่ทำจริงอาจขัดแย้งรุนแรง ให้เวลา 2 สัปดาห์
หน่วยงานท้องถิ่นถามความเห็นผู้นำทุกตำบล

วันนี้ (14 ก.ค.) ที่บ้านพิษณุโลก
มีการประชุมคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป(สปร.) ครั้งที่ 1 โดยมีนพ.ประเวศ วะสี
ราษฎรอาวุโส ประธานกรรมการฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม
เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
โดยการประชุมวันนี้ได้เปิดโอกาสให้กรรมการทุกคนแสดงความคิดเห็น
ในแนวทางการปฏิรูปประเทศให้ที่ประชุมรับทราบ
และนำไปพิจารณาศึกษาหาแนวทางการปฏิรูปต่อไป

นพ.ประเวศ แถลงผลการประชุมว่า คณะกรรการฯ
มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการ
ปฏิรูปประเทศ โดยเห็นว่าต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทาง เศรษฐกิจ โครงสร้างทางการเงิน การคลัง
สิทธิชุมชนต่างๆ โครงสร้างทางกฎหมาย ไม่เป็นธรรม มีอคติกับคนจน
โครงสร้างทางปกครองที่รวมศูนย์อำนาจ โครงสร้างทางการศึกษา
บทบาทต่อมหาวิทยาลัยในการแก้วิกฤตชาติ โดยคณะกรรมการฯ
พร้อมรับฟังข้อเสนอและข้อเรียก ร้องจากทุกภาคส่วนของสังคม
โดยการทำงานของคณะกรรมการฯ จะเชื่อมโยงกับคณะกรรมการปฏิรูป
ชุดนายอานันท์ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
โดยจะทำหน้สที่สังเคราะห์ออกเป็นนโยบายเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้

"การประชุมครั้งนี้ได้มีการเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่่อมล้ำ
เช่น มาตรการทางภาษี การปฏิรูปการใช้ที่ดินให้เป็นธรรม
การกระจายอำนาจสู่ชุมชน เพื่อไม่ให้ส่วนกลางเขไปครอบงำ
การปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา รวมทั้งแก้ระบบความยุติธรรม
อย่างไรก็ภายใน 5-6 เดือน
จะได้เห็นมาตรการเร่วด่วนที่เป็นยาแรงออกมาให้เห็นแน่นอน
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องปากท้อง"นพ.ประเวศกล่าว

นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า
นอกจากนี้เรายังให้องค์กรส่วนท้องถิ่นใช้เวลา 2 สัปดาห์
ไประดมความคิดเห็นจากผู้นำจากทุกตำบล ที่จะมีข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
นอกจากนี้ฝ่ายวิชาการของเรายังได้มีการเก็บข้อมูลจากเวทีเสื้อแดง
ที่ได้สะท้อนออกมาเป็นข้อเรียกร้องด้วย เพื่อนำมาสังเคราะห์ต่อไป
และอะไรที่สามารถเสนอต่อรัฐบาลได้ก็จะเสนอในทันที

นพ.ประเวศกล่าวว่า การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นเรื่องแก้ไขได้ยาก
ไม่ว่ารัฐบาลชุดนี้หรือรัฐบาลหน้า
เหตุการณ์ที่เกิดการบาดเจ็บล้มตายไปกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
ต่างๆ เปิดโอกาสให้เราแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ปฏิรูป
ให้สังคมเข้ามารวมตัวร่วมคิดร่วมทำ เป็นเจ้าของการปฏิรูปจะทำได้สำเร็จ
หน้าที่ของสมัชชาปฏิรูปคือ
ให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยทั่วถึง
อาศัยเครือข่ายต่างๆอาทิ สื่อ สื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค
อย่างไรก็ดีข้อเรียกร้องไม่สามารถนำไปสู่แนวทางแก้ปัญหาได้
และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ความรุนแรง
ดังนั้นข้อเรียกร้องต้องสังเคราะห์ออกมาเป็นนโยบายที่มีพลังปฏิบัติได้และ
แก้ปัญหาได้จริง และสังคมเข้ามาขับเคลื่อน ทั้งนี้เมื่อสังคมเคลื่อนไหว
นักการเมืองก็ต้องทำตามข้อเรียก ร้องนั้น

"จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล แต่อยู่ที่พลังทางสังคม
ติดอาวุธด้วยปัญญา ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องทำ
เพราะถึงเวลานั้นสังคมจะเข้ามาเป็นเจ้าของและเป็นผู้ขับเคลื่อน
แต่ถ้าทำไม่ได้บ้านเมืองจะเกิดวิกฤต ความรุนแรง มีคนตายมากขึ้นต่อไป
เพราะคนตายไม่เคยมีเป้าหมายร่วมกัน แต่มีเฉพาะกลุ่มเฉพาะคนต่างๆ
นอกจากนี้ปัญหาสำคัญคือระบบ ความยุติธรรม มีหลายคนให้ปฏิรูป
และมีเรื่องอื่นที่สำคัญมากคือ การกระตุ้นจิตสำนึก
ความเท่าเทียมกันระหว่างหญิง ชาย
ต่อไปผู้หญิงต้องมีบทบาทมากขึ้น"นพ.ประเวศกล่าว

เมื่อถามว่าบรรยากาศการเมืองขณะนี้สามารถแก้ปัญหาได้
นพ.ประเวศกล่าวว่า ต้องมองการเมืองกว้างกว่าเรื่องพรรคการเมือง
ที่ดูทะเลาะกันแล้วไม่ค่อยมีพลัง การเมืองต้องดูที่ความขัดแย้ง
ดูกระบวนการที่คนมาชุมนุม เช่น เสื้อแดง
และสิ่งที่เกิดขึ้นได้ผลมากกว่าสิ่งที่เรียกร้องคือ
จิตสำนึกที่ต้องสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งใหญ่มาก
กระบวนการประชาชนใหญ่ว่าพรรคการเมืองและนักการเมือง ทั้งนี้
นักธุรกิจบอกว่าเราอยู่อย่างเดิมไม่ ได้แล้ว มีการประชุมหลายที่
คุยกันเรื่องปฏิรูประเทศ เพราะเวลามีคนตายจะเกิดความสลด สังเวชกับประเทศ
ทั้งนี้คณะกรรมการฯ เราจะไปรับฟังจากเครือข่ายต่างๆ ว่าคิดอย่างไร
ความใฝ่ฝนสูงสุดคืออะไร มีมาตรการอะไรที่จะสร้างความเป็นธรรม
ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ อาทิ
การปฏิรูปที่ดินให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม มาตรการภาษีที่เป็นธรรม
หากชุมนุมดูแลได้ด้วยตัวเอง
โดยส่วนกลางไม่เข้าไปครอบงำจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้
สำหรับงบประมาณของคณะกรรมการฯ ที่รัฐบาลตั้งไว้เป็นวงเงิน
ไม่ใช้ค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งคงใช้ไม่ถึงวงเงินที่กกำนหนดให้
แต่การใช้เงินต้องถูกตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ส่วนการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 29
ก.ค.ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ไม่เน้นการทำงานในลักษณะนัดประชุม
แต่จะเน้นไปที่การสร้างเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น