++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ท้าพิสูจน์! เด็กนาฏศิลป์พันธุ์ใหม่ ใครว่าเชย

ท้าพิสูจน์! เด็กนาฏศิลป์พันธุ์ใหม่ ใครว่าเชย


"ธาราทิพ วังกาวี" หรือน้องวิสา
ถ้าใครมีโอกาส
เดินลัดเลาะรอบรั้วไปตามมหาวิทยาลัยชื่อดังจนหนำใจกับภาพนักศึกษาหน้าใสที่
เดินขวักไขว่ ลองเลียบรั้วโรงเรียนนาฏศิลป์ดูเสียหน่อยปะไร
เพราะไม่ใช่แค่หน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพราเท่านั้นที่สะดุดตา
แต่ความคิดอ่านที่เข้าถึงแก่นของศิลปะไทยก็เป็นสิ่งที่ต้องค้นหา
เพราะมันได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ว่า "เด็กนาฏศิลป์เชย" ไปแล้ว
และเด็กนาฏศิลป์ศตวรรษที่ 21
มองวิชาที่ตนเล่าเรียนกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างไร
ไม่แน่คุณอาจเปลี่ยนใจ...อยากเรียนนาฏศิลป์บ้างก็ได้

"ใคร จะว่าเต้นกินรำกินไม่สน
เพราะเรารู้ว่าสิ่งที่เราเรียนคือวิชาที่ช่วยสืบทอดศิลป์แห่งไทยให้คงอยู่
ใครดูถูกเราก็เท่ากับเขาดูถูกมหรสพหลวงด้วย"

น้ำเสียงหนักแน่นจากหญิงสาวในชุดโจงกระเบนแดง
สวมเสื้อนักศึกษาติดเข็มกลัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ในวัย
19 ปี ของ "ธาราทิพ วังกาวี" หรือ น้องวิสา เธอเรียนชั้นปีที่ 2
เอกนาฏศิลป์ไทย (ละคร โขน)
และสิ่งที่ทำให้วิสาก้าวเข้ามาเป็นเด็กนาฏศิลป์
เนื่องมาจากฝันอยากเป็นครูนาฏศิลป์
และเป็นนาฏศิลปินทำการแสดงศิลปะด้านการแสดงให้ผู้คนทั่วโลกได้ชื่นชมละครใน
แบบฉบับมหรสพไทย

วิสา อธิบายให้ฟังว่า
คนส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าเด็กนาฏศิลป์เรียนจบแล้วจะทำงานอะไรได้
นอกจากรอสอบบรรจุเป็นครู หรือเปิดโรงเรียนสอนรำ สอนเล่นดนตรีไทย
แต่สาวน้อยตรงหน้าบอกว่า ตลาดของนักเรียนนาฏศิลป์ไม่ได้ตีบตัน
เพราะปัจจุบันคุณภาพของนาฏศิลป์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
มีงานหลายแขนงที่รองรับ ไม่ว่าจะเป็นงานเบื้องหลังละครเวที งานออแกไนซ์
จัดแสงสีเสียง เบื้องหลังกองละคร หรือแอคติ้งโค้ช
หรือบางคนก็ไปทำงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
กระทรวงการต่างประเทศ เพราะนาฏศิลป์วันนี้ไม่ได้รำเป็นอย่างเดียว

"เรามีหัวคิดมากพอที่จะไปทำอย่างอื่น
เพราะว่าแต่ละคนที่เรียนด้วยกันมาต่างมีความสามารถกันทุกด้าน
ขึ้นอยู่กับโอกาสของแต่ละคน"

ภัทรพล จิตตรานนท์-ก๊องส์ และ ชัยมงคล นิลอนันต์-น้องหม่ำ
เช่นเดียวกับ "ชัยมงคล นิลอนันต์" หรือน้องหม่ำ อายุ 20 ปี
ชั้นปีที่ 2 เอกนาฏศิลป์ไทย
ซึ่งมองว่านาฏศิลป์ไทยไม่ได้ล้าสมัยขนาดที่จะต้องผูกขาดกับอาชีพครูอย่าง
เดียว เราเห็นพี่น้องนาฏศิลป์ไทยทำการแสดงตามโรงแรมชื่อดัง
แม้ขณะที่เรียนอยู่ ก็สร้างรายได้ให้ตัวเองด้วยความสามารถที่เรามีได้
เพียงแต่ต้องจัดสรรเวลาเรียนกับการทำงานให้ดีเท่านั้นเอง

ขณะที่ "ภัทรพล จิตตรานนท์" หรือน้องก๊องส์ อายุ 20 ปี
ที่ใช้วิชาความรู้หาสตางค์เข้ากระเป๋าด้วยการออกแสดง
และเขาก็ใช้มันเปลี่ยนแปลงความคิดที่ไม่ลงรอยกับผู้เป็นพ่อให้คล้อยไปในทิศ
ทางเดียวกัน

"พ่อ ไม่เห็นด้วยเลยที่จะเรียนนาฏศิลป์ พ่อก็บังคับให้ลาออก
ไม่อย่างนั้นเขาจะไม่ส่งเสีย
แต่เราก็ทำให้เห็นว่าเราทำงานเลี้ยงตัวเองได้ ออกแสดงรำ ไปมาเลเซีย ไปจีน
ระยะหลังพอพ่อเห็นว่าเราพิสูจน์ตัวเองได้ เขาก็ปล่อยให้เรียนต่อ
และบอกว่าจะส่งเสียให้ถึงที่สุด"

น้องก๊องส์ ย้อนถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตัดสินใจมาเป็นลูกพ่อแก่ว่า
เขาเป็นเด็กโรงเรียนสามัญคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะมานุ่งโจงกระเบน ร้อง
รำ นอกจากวุ่นกับการอ่านหนังสือเพื่อจะเข้าคณะดังๆ
แต่เมื่อหยิบหนังสือชุดรามเกียรติ์มาดู
และอ่านบทละครทำให้เขาเข้าใจถึงความรู้สึกของคนที่คลั่งไคล้ตัวละครเหล่านี้

"ยิ่งได้อ่าน ยิ่งคิดว่า นี่แหละสมบัติของชาติ
บรรพบุรุษสร้างมาให้แล้ว
เราเป็นลูกหลานทำไมจะทำให้ดีหรือทำให้คงอยู่ไม่ได้
ทำไมหันไปนิยมของต่างชาติกันมากนัก ผมตัดสินใจเลยว่าจะต้องเรียนนาฏศิลป์
ยิ่งได้มีโอกาสแสดงโขนต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีแล้ว ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้เราอยากทำให้ดีต่อไปเรื่อยๆ"
ก๊องส์ สรุปและว่า
ในความรู้สึกของเขาคนที่มาเรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้ที่เสียสละ
เพราะรู้อยู่เต็มอกว่า นาฏศิลป์ไทยไม่เป็นที่นิยมของเด็กวัยรุ่น
หรือคนไทยแล้ว ส่วนใหญ่จะหันไปเรียนร้องเพลงตามสถาบันต่างๆ
หรือแข่งกันหาอาชีพที่ทำเงินให้ได้มากๆ ดังนั้น
ศาสตร์และศิลป์ของชาติอาจจะไร้ผู้สืบทอด
จึงจำเป็นต้องมีเด็กเช่นพวกเขามาช่วยทำให้ดำรง

"ปัจจุบัน เด็กเรียนนาฏศิลป์มีจำนวนไม่น้อย
แต่มีสักกี่คนที่เข้าถึงแก่น คนที่เข้ามาเรียนก็ต้องอดทน
ซื่อสัตย์และรักในความเป็นนาฏศิลป์จริงๆ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นลูกพ่อแก่
ลูกพ่อพิฆเณศวร" ภัทรพล ทิ้งท้าย
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000076535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น