++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มูลสุกรสู่ก๊าซหุงต้ม งานวิจัยคุณภาพ จากมทร.ธัญบุรี

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญวิกฤตปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
อันเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก
ด้วยการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ
ในปริมาณที่สูงมากจนกลายเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกลายเป็นปัญหารุนแรงของ
สังคม การหันมาใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนในธรรมชาติรอบตัวเช่น ลม
แสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลจากพืชและสัตว์
สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา

เช่นเดียวกับงานวิจัยสร้างสรรค์ชิ้นนี้ นั่นคือ "
การศึกษาประสิทธิภาพการบรรจุก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสุกรลงถังก๊าซหุงต้มด้วยชุดบรรจุก๊าซชีวภาพแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
" ผลงานกลุ่มนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย นายศุภชัย สุพวงแก้ว, นายธีระเทพ
คะโมระวงศ์ และนายศรชัย สามบุญศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 5
ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี โดยอาจารย์ชัยรัตน์ หงษ์ทอง
เป็นที่ปรึกษาตลอดงานวิจัย

"โจ" ธีระเทพ คะโมระวงศ์ ตัวแทนกลุ่ม
เผยถึงจุดเริ่มต้นของการคิดค้นก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสุกร
ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน
ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถนำมาใช้เกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม

" ปัจจุบันการใช้ก๊าซชีวภาพในประเทศไทยยังไม่มากเท่าที่ควร
ก๊าซที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจมีราคาสูงในอนาคต
จึงเกิดแนวคิดที่นำก๊าซชีวภาพมาบรรจุลงถังก๊าซหุงต้มแทนก๊าซ LPG
ที่ใช้กันอยู่ เป็นการจัดเก็บพลังงานเพื่อใช้ต่อไป
สำหรับการบรรจุก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสุกร
ต้องใช้ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 HP
ใช้เวลาในการบรรจุใส่ถังก๊าซหุงต้มจากความดันที่ 180 Psi ใช้เวลา 11.24
นาที และเมื่อนำก๊าซชีวภาพที่ทำการบรรจุได้ มาเปิดเพื่อใช้งาน
เวลาที่ใช้งานคือ 40.96 นาที"

สำหรับหลักการทำงานมีดังนี้ 1.การต่อท่อดูดก๊าซชีวภาพ
จากบ่อหมักมูลสุกรเข้าสู่ชุดบรรจุก๊าซชีวภาพ 2.
ต่อท่อเพื่อปล่อยก๊าซชีวภาพจากชุดบรรจุก๊าซสู่ถังก๊าซหุงต้ม 3.เปิด
สวิชต์ชุดบรรจุก๊าซชีวภาพ กระบอกสูบจะทำหน้าที่ดูดก๊าซ เมื่อความดันถึง
180 Psi เครื่องจะหยุดทำงานอัตโนมัติ โดยมีสวิชต์ความดันควบคุม
ขั้นตอนสุดท้ายถอดสายต่อท่อต่างๆ ทั้งท่อต่อและท่อปล่อย
แล้วนำก๊าซชีวภาพที่อยู่ในถังก๊าซหุงต้มไปใช้งาน

" จากผลการทดสอบดังกล่าว พบว่าด้วยกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 HP
ใช้เวลาในการบรรจุก๊าซชีวภาพความดันที่ 180 psi ในเวลา 11.24 นาที
เปิดใช้งานได้ 40.96 นาที ค่าสิ้นเปลืองไฟฟ้าคิดเป็นจำนวน 0.56
บาทต่อการบรรจุหนึ่งครั้ง ด้วยต้นทุนของเครื่องอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท
นอกจากสามารถหุงต้ม ทำอาหารได้เหมือนก๊าซทั่วไปแล้ว
น้ำหนักยังเบากว่าอีกด้วย
เป็นอีกวิธีที่ทำให้สิ่งไร้ค่าและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
กลับก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากมายมหาศาล" โจ
ตัวแทนกลุ่มสรุปผลงานวิจัย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000077855

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น