++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เผยผู้ใหญ่ไม่ใส่ใจเด็ก ชี้ พมจ.บางแห่งปิดกั้นกิจกรรม หวั่นเด็กท้อทำสภาเยาวชนอ่อนแอ

เผยผู้ใหญ่ไม่ใส่ใจเด็ก ชี้ พมจ.บางแห่งปิดกั้นกิจกรรม
หวั่นเด็กท้อทำสภาเยาวชนอ่อนแอ

"รศ.ดร.สมพงษ์" ระบุ ผู้ใหญ่ไม่ใส่ใจกิจกรรมเด็ก เยาวชน
สวนทางนโยบายรัฐบาล เผย พมจ.บางจังหวัดวางกรอบ ปิดกั้นกิจกรรมเยาวชน
พบขาดการประสานงานระหว่างกระทรวง ชี้ สภานักเรียนสังกัด ก.ศึกษาธิการ
ให้เด็กลาเรียนทำกิจกรรมได้ แต่สภาเด็กและเยาวชน สังกัด ก.การพัฒนาสังคมฯ
กลับไม่อนุมัติให้ลา หวั่นเด็กท้อกระทบสภาเด็ก เยาวชนอ่อนแอ

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในฐานะผู้วิจัยรูปแบบโครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
จากการเข้าร่วมคัดเลือกตัวแทนเด็กและเยาวชน
เพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8
ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีตัวแทนเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนจำนวน
114 คน จาก 72 จังหวัดเข้าร่วม ได้รับฟังแนวคิดและข้อคิดเห็นต่างๆ
ที่สะท้อนถึงการทำกิจกรรมของเยาวชนที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ซึ่งพบว่าเยาวชนแต่ละพื้นที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมที่สร้างสรรค์มากมาย
ทั้งการจัดทำพื้นที่สร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรณรงค์เรื่องประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม เอดส์
ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ การงดเหล้า การสร้างจิตอาสา สาธารณะ
การส่งเสริมรากเหง้าเข้าใจในวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่
รวมถึงการต่อสู้กับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะเด็กใน 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พยายามสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่
การสร้างความเสมอภาคในเชิงชาติพันธุ์
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของเยาวชนที่สร้างสรรค์สิ่งที่เป็น
ประโยชน์

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวด้วยว่า
แต่ปัญหาที่ตัวแทนเยาวชนสะท้อนให้เห็นน่าสนใจเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความสำคัญกับกิจกรรม แนวคิดของเด็กค่อนข้างน้อย
การส่งเสริมสนับสนุนเป็นลักษณะแกนๆ
ทั้งที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศนโยบายเรื่องการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับ
เยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติทั้งการสนับสนุนกิจกรรม โครงการ
งบประมาณของผู้ใหญ่ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด
ไม่ได้ปฏิบัติให้สัมพันธ์กับสิ่งที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ
หรือมีเพียงการส่งเสริมขับเคลื่อนเฉพาะจุดในบางพื้นที่เท่านั้น ทั้ง
ยังพบอีกว่าเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
บางจังหวัดยังวางกรอบให้เยาวชนต้องจัดทำกิจกรรมตามที่ พมจ.กำหนดเท่านั้น
ถือเป็นการปิดกั้นความคิดเยาวชน

นอก จากนี้ ในระดับกระทรวงก็ขาดการประสานงานกัน
โดยพบว่าหากเป็นสภานักเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปทำกิจกรรมให้ลาเรียน
ได้ แต่หากเป็นสภาเด็กและเยาวชนสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังและความมั่นคงของมนุษย์
(พม.) ไม่อนุมัติให้ลาเรียน ทั้งที่เด็ก 2 กลุ่มส่วนใหญ่ 80-90%
เป็นเด็กกลุ่มเดียวกัน
และยังพบด้วยว่าเมื่อเด็กได้รับการเลือกตั้งเป็นตัวแทนระดับอำเภอ
แต่ไม่มีผู้ใหญ่สนับสนุนในการทำกิจกรรม
ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าจะทำให้เยาวชนเกิดความท้อและส่งผลให้สภาเด็กและเยาวชน
เกิดความอ่อนแอ


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000077632

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น