++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ก้าวเข้าหาผู้อื่น

ก้าวเข้าหาผู้อื่น


จาก หนึ่งสมอง สองมือ
รวมบทสนทนา "ชีวิตธุรกิจ" พ.ศ. 2530
โดย ประสาร มฤคพิทักษ์


ในหนังสือ "อิน เซิร์จ ออฟ เอกเซลเลนซ์" หรือชื่อภาษาไทยว่า
"ดั้นด้นสู่ความเป็นเลิศ" ได้พูดถึงบริษัทดีเด่นในอเมริกาไว้ว่า
เป็นบริษัทที่ผู้บริหารมักจะออกไปสัมผัสกับการปฏิบัติงานที่เป็นจริงของพนักงานอย่างใกล้ชิด
ด้วยความเชื่อที่ว่าด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงและเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้

นายฮาร์รี่ เกรย์
หัวหน้าสายงานเครื่องยนต์ของเครื่องบินของบริษัทยูไนเต็ด เทคโนโลยี
จะไปเยี่ยมเยียนที่สำนักงานลูกค้าอย่างใกล้ชิด
ในขณะที่คู่แข่งขันไม่เคยทำเช่นนั้นเลย

นายเดวิด โอกิลวี่ เคยกล่าวว่า อย่าเรียกพนักงานมาที่ห้องทำงาน
เพราะจะทำให้เขาตื่นตกใจ
จงออกไปหาพนักงานจะทำให้สามารถสัมผัสเนื้อหาที่แท้จริงของงาน
และเป็นโอกาสที่พนักงานจะได้รู้จักกับผู้บริหาร

นายเอ็ด คาร์ลสัน แห่งบริษัทยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เรียกวิธีเช่นนี้ว่า
การบริหารงานแบบมองเห็นความเป็นจริง ด้วยการเดินทางเป็นระยะ 200,000
ไมล์ต่อปี เขาจะสัมผัสมือพนักงานทุกคนที่พบ ทำให้เกิดความคุ้นเคย
พนักงานก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นจริงๆออกมาให้เขารับรู้
ข้อสำคัญต้องแสดงความจริงใจว่า นั่นไม่ใช่วิธีการจับผิด
หากแต่เป็นความปรารถนาของเขาจริงๆ ที่จะได้พบได้คุ้นเคยและได้รับรู้ปัญหา

นี่เป็นเรื่องราวของต่างประเทศโดยเฉพาะ คือ อเมริกา

ใจกลางของเรื่องนี้ก็อยู่ตรงที่ฝ่ายบริหารมีท่าทีอย่างไรต่อลูกน้อง
ถ้ามีท่าทีแบบเจ้าขุนมูลนาย ก็คือท่าทีไม่รับฟัง
ถือความเห็นตัวเองเป็นถูกต้องและเด็ดขาด ไม่รับรู้เห็นอะไร
คอยแต่ให้ลูกน้องเข้ามาพบ

ท่าทีตรงกันข้าม คือ น้อมใจเข้าหาพนักงาน
เข้าหาลูกค่าด้วยท่าทีที่ปรารถนา
จะปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องให้ดีกว่าเดิม
ไม่ว่าต่อพนักงานหรือต่อการบริการลูกค้า

ท่าทีอย่างหลังนี่เองครับ ที่ต้องการไม่ว่าที่ทำงานแห่งไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น