++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แปดเซียน น้ำสกัดจากเศษเหลือทิ้งกำจัดกลิ่นทั้งคน-สัตว์-พิทักษ์สิ่งแวดล้อม'

, '

ไม่น่าเชื่อว่าน้ำสกัดจากสิ่งเหลือทิ้ง ในภาคการเกษตรที่นำมาหมัก
ด้วยจุลินทรีย์จะมีประโยชน์มากมาย นอกจากนำไปใช้อนุรักษ์ดิน
และน้ำในภาคการเกษตรของประเทศ ที่กำลังเลวร้ายลงทุกขณะได้แล้ว
พบว่ายังสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือน หรือในชีวิตประจำวันของมนุษย์
ได้อีกมากมาย

โดยเฉพาะการนำไปแก้ปัญหาเรื่องเหม็นๆ ได้ชะงัก!! (ยกเว้นเรื่องเหม็นโฉ่
ของนักการเมือง) ไม่ว่าจะเป็นกองขยะ ห้องส้วม ถังส้วม
น้ำทิ้งจากการชำระล้าง ซึ่งตกค้างอยู่ตามท่อระบายน้ำ
กลิ่นอับชื้นจากการเปิดแอร์ เท้าเหม็น หรือแม้กระทั่งกำจัดเห็บ หมัด
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นสาบ อาการคัน
โรคผิวหนังของเจ้าตูบ-น้องเหมียวสมาชิกตัวโปรด
ที่เจ้าของไม่ค่อยมีเวลาอาบน้ำให้

ยิ่งเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาจุลินทรีย์ ให้แข็งแรงขึ้นด้วยการเลี้ยง
ในอาหารชั้นดี ซึ่งอาหารชั้นดีในที่นี้ นายปรเมศวร์ สมานวิจิตร
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในสมาชิกชุมชน 5
พี่น้องเขตคลองสามวา ที่สร้างความแปลกใหม่ ด้วยการจับจุลินทรีย์
มาอัดก้อนช่วยบำบัดเลน ก้นบ่อเลี้ยงกุ้ง-ปลา จนได้คัดเลือกเป็นสินค้า
OTOP ระดับประเทศ อธิบายว่าจุลินทรีย์เป็น สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
ที่ต้องกินอาหารเหมือนมนุษย์ ถ้า อาหารไม่ดีจุลินทรีย์ไม่ชอบ ก็อาจทำให้
จุลินทรีย์ไม่ฟูหรือลดปริมาณลงได้

ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดค้น สกัดน้ำแปดเซียน ขึ้นมาเพื่อ
1.กำจัดเศษเหลือทิ้งจากซากพืช ซากสัตว์ เศษอาหาร ไม่ให้
เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและ 2. เพื่อเป็นอาหารอันโอชะของจุลินทรีย์
โดยน้ำแปดเซียน นี้ประกอบด้วย น้ำหมักซาวข้าว ฮอร์โมนจากพืช ยีสต์
ผลไม้รสเปรี้ยว นม น้ำหมักปลา สารสกัดสะเดา และน้ำหมักเศษอาหาร
นำมาหมักตามกระบวนการ ทำน้ำหมักชีวภาพ ทิ้งไว้ราว 1 เดือน
หลังจากนั้นเมื่อนำจุลินทรีย์ ที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพ
พบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้น้ำหมักอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้
อาจเป็นเพราะความหลากหลายที่จุลินทรีย์ชอบก็เป็นได้
ซึ่งน้ำสกัดแปดเซียนนี้ถือเป็นหัวใจ
ของการผลิตจุลินทรีย์ก้อนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในครัวเรือน
และสำหรับสัตว์เลี้ยงอีกหลายผลิตภัณฑ์

นอกจากการนำจุลินทรีย์ไปบำบัด ในครัวเรือนดังกล่าวแล้ว รศ.ดร.พรชัย
เหลืองอาพาพงค์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า
จุลินทรีย์เหล่านี้ น่าจะช่วยแก้ปัญหาชาวนา ที่ชอบเผาฝางข้าวได้
เพราะฟางข้าวยิ่งแก่ยิ่งมี C/N Ratio สูง (C/N Ratio
สูงไม่ดีทำให้จุลินทรีย์ ไปดึงไนโตรเจนในดินมาใช้)
ยิ่งเดี๋ยวนี้คนไทยทำนาปีละหลายรอบ ไม่ได้พักเลย ทำให้ดินขาดไนโตรเจน
นี่เองคือสาเหตุที่ว่าทำไมปลูกข้าวไม่งาม แต่
ถ้าใช้จุลินทรีย์เข้าไปช่วยให้กระบวนการย่อยสลายฟางข้าวเสร็จสมบูรณ์เร็วขึ้น
ฟางข้าวที่เคยเป็นปัญหาก็จะกลับมาเป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมทีเดียว
เป็นหลักการง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้

เห็นประโยชน์หลากหลายอย่างนี้แล้ว ก็อย่าเพิ่งทิ้งขว้าง
เก็บเศษซากพืชซากสัตว์ กลับมาหมักทำปุ๋ยจุลินทรีย์
พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสกันดีกว่า

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น