++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ใครบอกเด็กยุคใหม่ไม่เหมือนรุ่นเก่าในเรื่องการเมือง

ท่ามกลางภาวการณ์บริหารบ้านเมืองของเหล่าผู้ทรงเกียรติในสภาผู้แทนราษฎร
สวนทางกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเห็นได้ชัด พร้อมๆ
กับเสียงเรียกร้องให้เหล่านิสิต นักศึกษา
ได้ออกมาแสดงพลังเฉกเช่นเหล่านิสิต นักศึกษาในยุค 14 ตุลาคม 2516 และ 6
ตุลาคม 2519

เพราะดูเหมือนนิสิต
นักศึกษายุคเจนเนอเรชั่นวายจะไม่สนใจในเรื่องการเมืองเหมือนดั่งเช่นนิสิต
นักศึกษาในยุคนั้นที่ออกมาแสดงพลังบริสุทธิ์กันอย่างคับคั่ง
เราไปฟังความคิดเห็นจากอดีตนักศึกษาในยุคตุลาฯ
วิปโยคที่มีต่อพลังนักศึกษายุคนี้กัน...

"บรรยากาศก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ผมว่าไม่ต่างจากวันนี้"
ดร.นพ.ประยงค์ เต็มชวาลา อดีตนักศึกษาแพทย์
และเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในยุค 6 ตุลาฯ
กล่าวพร้อมทั้งบอกต่อไปว่า ในช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ตุลาฯ
วิปโยคนั้นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในเวลานั้นส่วนหนึ่งไม่ได้ใส่ใจต่อ
เหตุการณ์บ้านเมืองที่กำลังร้อนแรง
ยังคงทำตัวเป็นหนอนหนังสือเพียงอย่างเดียว

ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งให้ความสนใจกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักศึกษาแพทย์ส่วนหนึ่งเริ่มไม่พอใจที่นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร
มีสิทธิเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลปีละ 20 คน
จึงเกิดการหยุดเรียนประท้วงขึ้นเป็นครั้งแรก
หลังจากนั้นนักศึกษาที่ไม่เคยสนใจเรื่องการเมืองจึงเริ่มที่จะหันมาใส่ใจกับ
การบริหารบ้านเมืองของบรรดาผู้แทนราษฎร์

อาจารย์อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเวลาตุลาฯ วิปโยคกล่าวว่า
เหตุที่ตัวเขาสนใจในเรื่องการเมือง
เพราะในวันที่สอบเอนทรานส์เข้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้
ในยุคนั้นมีนายกรัฐมนตรีชื่อถนอม กิตติขจร
ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอธิการบดีชื่อนายสัญญา ธรรมศักดิ์

"พอสอบเข้าได้ก็จะมีสอบสัมภาษณ์
เชื่อไหมว่าคำถามที่เขาถามก็คือจอมพลถนอมชอบผมสั้นหรือผมยาว
หรือแม้แต่ในช่วงที่มีการสอบยังมีการเดินตรวจผมนักศึกษาอีกด้วย
นี่คือสาระว่ายุคหนึ่งเสรีภาพถูกข่มเหง
บังคับกันมากจนก่อให้เกิดความสนใจทางด้านการเมืองกับนักศึกษา"

อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคตุลาฯ วิปโยค
กล่าวว่าสำหรับเขาแล้วเขาเห็นว่ายุคนี้พลังนักศึกษายังมีอยู่
เหมือนที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสแสดงธรรมไว้ว่าธรรมใดเกิดแต่เหตุ
คือจะเกิดธรรมได้ต้องมีเหตุก่อน ธรรมจะดับได้ต้องมีเหตุเช่นกัน

"พลังนักศึกษายังมีอยู่
แต่มันจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีตัวกระตุ้นก่อน
และไม่สามารถเกิดได้บ่อยครั้ง"

* เรียบเรียงจากการอภิปรายทางวิชาการ
"นักศึกษากับการพัฒนาสังคมการเมืองไทย" จัดโดยภาควิชาสังคมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

/////////////////

ดร.นพ.ประยงค์ เต็มชวาลา
ปัจจุบันเป็นผอ.หลักสูตรปริญญาเอกสาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ
และการเมืองวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
อาจารย์อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์
ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์
ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาและการท่องเที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น