++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดรักษาโรคมือชา ผลงานล่าสุดจาก ม.อ.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ยกย่องสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
"อุปกรณ์ช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายในสำหรับช่วยผ่าตัด"
เพื่อรักษาโรคมือชา (PSU Carpal Tunnel Retractor) ช่วยลดเวลาผ่าตัด
แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก การรักษามีประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องดมยาสลบ
ซึ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เป็นผลงานของแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบ ด้วย ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รศ.นพ.บุญสิน
ตั้งตระกูลวนิช ผศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี นพ.ปรเมศวร์ สุวรรณโณ นพ.วราห์
ยืนยงวิวัฒน์ และนายเอกรินทร์ วงษ์ศิริ รับรางวัลระดับดีเด่น
ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2552

ปัจจุบัน โรคพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชาที่มือ บริเวณนิ้วและปลายนิ้วมือ
ช่วงเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ คนที่มีอาการมากและรุนแรง
จะมีอาการชาตลอดเวลา หากอ่อนแรงที่มือมากขึ้น
แสดงว่าเส้นประสาทถูกกดทับมากและอาจสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทอย่างถาวร
เพศหญิงจะพบได้บ่อยกว่าเพศชาย ประมาณ 2-4 เท่า อายุที่พบบ่อยคือประมาณ 40
ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะในสตรีขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดบุตร
รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน
โรคข้ออักเสบโรคไทรอยด์เป็นพิษ

ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หัวหน้าทีมผู้ประดิษฐ์เปิดเผยถึงอาการและวิธีการรักษาของโรคพังผืดรัดเส้น
ประสาทข้อมือ

"ในระยะเริ่ม ต้นหากมีอาการชา รักษาได้ด้วยยา การบริหารข้อมือ
แช่ในน้ำอุ่น ใส่เครื่องช่วยผยุงมือในเวลากลางคืน
หากไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเลาะพังผืดที่รัดแน่นออก
ทั้งนี้วิธีการผ่าตัดในปัจจุบัน จะมีแผลยาว 3-5 เซนติเมตร
ใช้เวลาผ่าตัดนาน 30-60 นาที ใช้วิธีดมยาสลบ
หลังผ่าตัดผู้ป่วยพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 1-2 วัน จะเจ็บแผลนาน 1-2
สัปดาห์ จึงต้องงดทำงานและหยุดพัก 1-2 สัปดาห์ ส่วนการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
จะมีขนาดแผลเล็ก 1-2 เซนติเมตร ใช้เวลาผ่าตัด 30-60 นาที
ใช้วิธีการดมยาสลบ ผ่าตัดเสร็จแล้วควรนอนโรงพยาบาล 1-2 วัน
และค่าใช้จ่ายมีราคาแพง"

ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ กล่าวต่อว่า
เหตุผลของการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายใน
เพื่อให้การผ่าตัดง่ายขึ้นและการรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยตั้งผชื่อผลงานนี้ว่า PSU Carpal Tunnel Retractor

"ภาค วิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ได้ทำการผ่าตัดรักษาเลาะพังผืดรัดข้อมือด้วยอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้น
โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 - มกราคม 2552 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยจำนวน 14
ราย มีพังผืดรัดเส้นประสาทมือ 2 ข้าง จำนวน 5 ราย เป็นเฉพาะมือขวา 5 ราย
เป็นเฉพาะมือซ้าย 4 ราย
และได้ผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายในสำหรับช่วยผ่า
ตัดที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อรักษาโรคมือชา ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 8-15
นาทีต่อราย เนื่องจากสามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่จะผ่าตัดได้ชัดเจน
เพียงฉีดยาชาไม่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ ผลการผ่าตัดแผลขนาดเล็ก เพียง 1.5-1.8
เซนติเมตร ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการชาดีขึ้นใน 1-2 วัน
ผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 1
สัปดาห์"

ทั้ง นี้
คณะหัวหน้าทีมผู้ประดิษฐ์ชี้แจงถึงวิธีการผ่าตัดโดยการใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่
เป็นวิธีที่ทดแทนการผ่าตัดแบบเก่า แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่าย และรวดเร็ว
ลดการใช้ทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ต้องใช้ทีมผู้ช่วยในการผ่าตัด
ไม่ต้องใช้ทีมวิสัญญีแพทย์ในการดมยาสลบ
ลดเวลาและขั้นตอนในการเตรียมอุปกรณ์ผ่าตัดและดมยาสลบ
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยมากกว่าวิธีผ่าตัดแบบเดิม
และวิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง ช่วยลดงบประมาณแผ่นดิน
และลดการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศ

"สำหรับ ค่าใช้จ่ายการรักษาอาการชาตามมือ เท้าในระดับโลก
เฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจำนวนมาก
ประมาณสองแสนรายต่อปี ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อปีในการผ่าตัดรักษา ส่วนอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถผลิตได้ง่าย
เนื่องจากเป็นวัสดุที่ทนทาน ทำด้วยสแตนเลส ต้นทุนต่ำราคาประมาณ 3,000
บาทต่อชิ้น สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
โดยได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว"

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร 0-7445-5000 หรือhttp://medinfo.psu.ac.th


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000053182

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น