++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เมื่อครีเอทีฟมาเป็นอาจารย์ วิธีสอนของ "อ.นิ้น" จึงแตกต่าง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2552 10:26 น.

"....ใครไม่เข้าใจ ติดขัดอะไร มีข้อสงสัยอะไร
หรือมีคำถามที่อยากจะรู้เพิ่มเติม เชิญถามได้เลย..."

นั่นเป็นเสียงที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา
มักจะได้ยินจากอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ
ที่มักจะเอ่ยปากถามหลังการถ่ายทอดความรู้ในชั่วโมงเรียนนั้นๆ
เพิ่งจะจบลงไป

คำตอบที่ได้จากนักเรียน นิสิต นักศึกษา
ของครูผู้สอนไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาใดก็ตาม เราเชื่อว่าหลายๆ
คนรู้ว่าปฏิกิริยาตอบกลับจากพวกเขาคือความเงียบ นานๆ
ครั้งถึงจะมีผู้เรียนสักคนที่กล้าจะยกมือแสดงตัวตนเพื่อสอบถามในสิ่งที่เขา
สงสัย

บุคลิกของอาจารย์ผู้สอนอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นิสิต
นักศึกษาไม่กล้าที่จะถามเมื่อเขามีข้อสงสัย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิกที่ดูดุ
บุคลิกที่ดูจะต่างวับจนบางครั้งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอาจจะไม่ตรงกันจนทำ
ให้ความหมายของภาษาคลาดเคลื่อน ฯลฯ

นั่นคือภาพของอาจารย์ผู้สอนที่ติดหูติดตาผู้เรียนจนยากที่จะล้างภาพ
ที่ติดอยู่กับผ็ที่มีสถานะเป็นอาจารย์
และจะมีอาจารย์ผู้สอนสักกี่คนที่พยายามค้นหาวิธีการสอน
การถ่ายทอดความรู้ให้แตกต่างไปจากที่เคยเป็นมา
เพื่อมิให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อ และสนใจเรียนพร้อมๆ
กลับกล้าที่จะถามในสิ่งที่สงสัย

หากเอ่ยชื่ออาจารย์นิ้น หรืออาจารย์สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร
กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยกรุงเทพแล้ว
น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะวิธีการสอนของอาจารย์ประจำผู้สดใสคนนี้
ที่เลือกใช้วิธีการสอนแบบไม่เน้นทฤษฎีมากจนเกินไป

"นิ้นเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ชลบุรี ปริญญาตรีจบสื่อสารมวลชน (โฆษณาและประชาสัมพันธ์)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (การตลาด)
นักศึกษาทุนและเกียรตินิยมเหรียญทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพค่ะ
แล้วก็ทำงานเป็นครีเอทีฟอยู่บริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง

พอมาทำงานเป็นอาจารย์
นิ้นลองมองย้อนกลับไปตอนที่เราเป็นนักศึกษาว่า เราชอบเรียนแบบไหน
ชอบวิธีการสอนแบบอาจารย์คนไหนที่ทำให้ตอนเรียนเราเข้าใจมากที่สุด
เหตุที่นิ้นมองย้อนกลับไปตอนที่เราเรียนว่าเราชอบวิธีการสอนของอาจารย์คน
นี้ๆ

เพื่อที่เราจะได้นำวิธีการนั้นมาประยุกต์ใช้สอนให้กับลูกศิษย์ของเรา
เรียกว่าต้องคิดแบบเด็กที่เราจะสอนเลยล่ะว่าถ้าเราเป็นเขาเราจะสนใจเรียนแบบ
ไหน คล้ายกับทำโฆษณาสักชิ้นก็ต้องคิดเหมือนกันถ้าเราเป็นคนดูโฆษณา
เราชอบโฆษณาแบบไหน และเข้าใจโฆษณาชิ้นนั้นเพราะอะไร"

วิธีการสอนของอาจารย์หน้าใสคนนี้แปลกและแตกต่างไปจากการให้ลูกศิษย์
เรียนจากตำราเพียงอย่าง เดียว
เพราะอ.นิ้นเลือกที่จะใช้กิจกรรมหรือเกมมาผสมผสานกับภาคทฤษฎีให้ลูกศิษย์ได้
เรียนรู้ด้วยตัวเอง

"อย่าง เช่นวันหนึ่งเราเดินเข้าห้องเรียนพร้อมไข่ไก่สด ตะเกียบ
กระดาษ และแผ่นโฟม นักศึกษาก็งงว่าเราจะทำอะไร เรายังไม่บอกเขาหรอก
เราให้เขาแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
แล้วแจกไข่ไก่ให้กลุ่มละเท่าๆ กัน
จากนั้นก็ให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มออกมาเลือกวัสดุที่เราเตรียมมาคนละชิ้น
พอเลือกกันครบแล้วเราก็ประกาศว่าให้ทุกกลุ่มนำวัสดุที่ตัวเองเลือกมาแลกกัน
นักศึกษาก็เริ่มงงว่าเอ๊ะจะให้ทำอะไร
ตรงนี้ก็จะชี้แจงกติกาในเกมว่าวันนี้จะเป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่ม
โดยให้นำวัสดุเหล่านั้นมาประยุกต์อย่างไรก็ได้
เพื่อที่จะห่อหุ้มไข่ให้ปลอดภัยเมื่อโยนจากอากาศหรือกระแทกทางภาคพื้น

ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขัน เราก็อธิบายให้นักศึกษาฟังว่า
ไข่เปรียบเหมือนผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตขึ้น
ถ้าแตกไปแล้วจะไม่สามารถต่อกลับให้เหมือนเดิมได้
อุปกรณ์ประยุกต์เปรียบเหมือนแพ็กเกจหุ้มผลิตภัณฑ์เราต้องทำให้สวยงามและแข็ง
แรง การโยนไข่จากที่สูงหรือนำมาลอยน้ำเปรียบเหมือนการขนส่งทางบก ทางน้ำ
ที่จะต้องระวังการกระทบกระเทือนและความชื้น"

อาจารย์นิ้นยังบอกอีกด้วยว่าก่อนที่จะเริ่มต้นแบ่งกลุ่มนักศึกษานั้น
เธอจะเกริ่นเพียงแค่ว่าในวันนี้จะศึกษาเรื่องอะไร แต่จะไม่ลงรายละเอียด
เพื่อให้เด็กเรียนรู้จริงจากกิจกรรมหรือเกมที่เตรียมไว้
ซึ่งเมื่อเด็กจะสนุก
สนใจและเกิดกระบวนการจดจำเป็นภาพที่ผู้เรียนเข้าใจได้จากสิ่งที่ลงมือด้วย
ตัวเอง

"เทอมนี้ (ภาคฤดูร้อน) มีอยู่วิชาหนึ่งสอนเกี่ยวกับการค้าปลีก
แล้วม.กรุงเทพกล้วยน้ำไท อยู่ใกล้กับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง
พอถึงชั่วโมงเรียนเราก็ประกาศเลยว่า
วันนี้จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเดินทางไปสำรวจความแตกต่างระหว่างราคาสินค้า
ของทั้ง 2 แห่งนี้ ให้สำรวจและศึกษาการจัดผังร้าน
แล้วให้กลับมาสรุปผลภายในเวลาที่กำหนด"

ยุคนี้การสอนของอาจารย์ผู้สอนจะต้องมีผู้เรียนเป็นผู้ประเมินด้วยว่า
ความสามารถในการถ่ายทอดเป็นอย่างไร
นิ้นบอกว่าเท่าที่ผ่านมานักศึกษาให้ความเห็นว่าการเรียนการสอนแบบไม่เน้น
ทฤษฎีมากจนเกินไปทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรียนจากทฤษฎีเพียงอย่างเดียว

"กิจกรรม ที่เราคิดขึ้นนั้น
ส่งผลให้นักศึกษามีการพูดถึงและบอกต่อในกลุ่มเพื่อนฝูง
นั่นทำให้บางครั้งมีนักศึกษาที่ขาดเรียนในคาบหนึ่ง
ขอไปเรียนชดเชยกับเด็กกลุ่มอื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก
เพราะโดยปกติเด็กส่วนใหญ่ถ้าขาดเรียนแล้ว ก็จะขาดเรียนเลย"

สุดท้ายอาจารย์นิ้นเล่าว่า
ในช่วงแรกที่เธอมาเป็นอาจารย์ผู้สอนนั้นเธอเองยังไม่ได้ใช้วิธีการสอนแบบนี้
หากแต่ใช้วิธีการสอนจากทฤษฎีเพียงอย่างเดียว
ซึ่งเธอก็รู้สึกว่าเด็กก็ไม่ได้ให้ความสนใจเรียนนัก
ดังนั้นเธอจึงลองคิดย้อนกลับไปตอนที่เธอเป็นนักศึกษาเหมือนที่เล่าไปในช่วง
ต้น จึงนำประสบการณ์จากการทำงานเป็นครีเอทีฟมาประยุกต์ใช้
และผลที่ได้ก็ออกมาดี

"เป็นคนนิสัยเหมือนผู้ชาย ชอบลุยๆ ไม่ชอบทำอะไรอย่างเดียว
เพราะเหมือนเราดึงความสามารถของตัวเองออกมาไม่เต็มที่
โดยส่วนตัวคิดว่าขณะนี้เรามีบทบาทเป็นอาจารย์
แต่ด้วยความที่อายุยังน้อยจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเองในทุกๆ
ด้านด้วย ก็ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข่าวในรายการ Economy Hour
ทางเคเบิ้ลทีวีอีกด้วย"...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น