++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

เมื่อวิศวฯ "คอมพิวเตอร์" จุฬาฯ เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์นาฏศิลป์ “โขน"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
       เมื่อเอ่ยถึง “โขน” หลายคนคงนึกถึงภาพการแสดงละครเวทีสวมหน้ากากของไทยหรือนาฏศิลป์ที่งดงามและ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย แต่เมื่อพูดถึงงานด้านวิศวกรรม หลายคนคงแปลกใจว่างานวิศวกรรมนั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับงานโขน
      
       ผศ.ดร.พิษณุ คะนองชัยยศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.2550 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้าเฝ้าถวายรางวัลจากการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลที่ได้รับมาแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยในครั้งนั้นสมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงเสด็จแทนพระองค์รับถ้วยรางวัลไว้ และทรงดำรัสถาม ศ.ดร.ดิเรก ลาวัลย์ศิริ คณบดีคณะวิศวะฯ ถึงแนวคิดที่จะใช้วิทยาการทางวิศวกรรมศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการสร้างชุดโขน ของทางกรมศิลปากรและด้วยความร่วมมือกับทางกรมศิลปากร
      
       ซึ่งในคณะนั้นมี ท่านอารักษ์ สังหิตกุล เป็นอธิบดี ได้มอบหมายทางภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดทำ "โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องมือ สำหรับช่วยงานในขั้นตอนการสร้างชุดโขน
      
       “แรก เริ่มโครงการ ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้น ประกอบด้วย คณาจารย์ของคณะ และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา หรือข้อจำกัดต่างๆ ในการสร้างชุดโขน โดยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ขั้นตอนการผลิตเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขนนั้น มีความประณีต ละเอียดอ่อน มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และต้องการความเชี่ยวชาญของช่าง แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ ศิราภรณ์ หรือเครื่องหัวถนิมพิมพาภรณ์ หรือเครื่องประดับ และพัสตราภรณ์หรือเครื่องนุ่งห่ม”
      
       “ขั้น ตอนการสร้างเริ่มต้นจากการออกแบบโดยบรมครู หรือศิลปินแห่งชาติ เป็นภาพร่าง หรือภาพสีน้ำ จากนั้นจึงทำการถอดแบบโดยช่างผู้ชำนาญการให้เป็นลวดลายลงบนกระดาษแบบ และทำการตรวจสอบโดยผู้ออกแบบอีกครั้ง จึงทำการลอกลายบนผ้า และกำหนดวัสดุที่จะให้ปักเย็บต่อไป เมื่อทำการปักเย็บครบทุกชิ้น จึงทำการสวมใส่ และตรวจสอบขึ้นสุดท้ายโดยนักแสดงจริงแสดงกับเวที แสงไฟจริง เพื่อให้แน่ใจว่าได้เครื่องแต่งกานที่ตรงกับภาพที่ออกแบบไว้” ผศ.ดร.พิษณุ กล่าว
      
       สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตนั้น ผศ.ดร.พิษณุ ชี้แจงว่า แต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียด ซึ่งแต่ละขั้นตอนอาจจะผิดเพี้ยนไป ไม่ต้องกับแบบที่ต้องการ จึงต้องปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้สมบูรณ์แบบที่สุด
      
       “เวลา ที่ต้องการปรับเปลี่ยน ลายปักของผ้าแต่ละชิ้น เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ปัก เปลี่ยนสีหรือเนื้อผ้าที่ใช้ รวมถึงเมื่อประกอบเข้ากันเป็นชุดแต่งกายยืนเครื่องแล้วทดลองร่ายรำ อาจจะต้องการปรับรายละเอียดของส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของชิ้นงาน ซึ่งการปรับเปลี่ยนที่กล่าวว่า ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการผลิตที่สูงขึ้น”
      
       โดยปกติเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขนนั้นมีต้นทุนสูงถึงหลักล้านบาท และมีระยะเวลาในการสร้างเป็นเวลานับปีต่อหนึ่งชุด ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬา และคณะผู้จัดทำจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากทางครูช่างจึงกำหนดความ ต้องการของโครงงานไว้สองประการ คือ ประการแรกควรมีเครื่องมือ หรือขั้นตอนวิธีในการสร้างภาพนามธรรม หรือภาพนิมิตของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน เพื่อให้ผู้ออกแบบช่างผลิตชิ้นงานสามารถดูผลล่วงหน้าได้ ก่อนลงมือสร้าง เพื่อลดโอกาสในการสร้างชิ้นงานที่ไม่ตรงกับความต้องการและร่นระยะเวลาในการ ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงาน
      
       ส่วนประการที่สอง คือควรมีการเก็บองค์ความรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขนที่เป็นระบบสามารถค้นคืนนำมา ใช้อ้างอิงในการพัฒนาและสร้างชิ้นงานอื่นๆ ได้ลดการสูญหายจากการถ่ายองค์ความรู้ที่เดิมมักใช้การเรียนรู้แบบครูศิษย์ หรือใช้การสังเกตเรียนรู้จากครู หรือผู้ชำนาญการ
      
       ผศ.ดร.พิษณุ อธิบายถึงขั้นตอนการใช้เทคนิคมาตรฐานในการออกแบบเครื่องแต่งกายยืนเครื่อง โขน ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่จ้องใช้ทั้งระบบซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์เป็นส่วนประกอบ
      
       “โครงการ สร้างชิ้นงานนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วน เริ่มจาก 1.ส่วนจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขนแบบดิจิทัล 2. ส่วนเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบภัณฑ์รักษ์ของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน 3. ระบบเครื่องมือแคดช่วยออกแบบเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน 4.ระบบจัดเก็บท่าทางการร่ายรำโขเป็นข้อมูลดิจิทัล และ 5.ระบบนำเข้าข้อมูล 3 มิติของศิราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้าเข้ามาร่วมกำหนดข้อระบุความต้องการรวมถึงทำการออกแบบระบบ ส่วนต่างๆ”
      
       ทั้งนี้ สถานภาพของโครงการในปัจจุบันนั้น ได้ทำการทดลองสร้างระบบต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้ และทำการทดสอบย่อยในแต่ละส่วนของโครงการ โดยมีโครงการนำร่องคือ โครงการพัฒนาเครื่องมือแคด สำหรับออกแบบเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน
       “ปัจจุบัน สามารถทำการสังเคราะห์ภาพจำลองสามมิติของชุดโขนจากลวดลายที่นำเข้าเป็นดิจิ ทัล สามารถเรียกดูได้หลายมุมมองและยังสร้างสร้างภาพโดยกำหนดแสงไฟ ประกอบกับท่าร่ายรำที่ได้รับความอนุเคราะห์จากนักแสดงกรมศิลปากร โดยระบบนี้จะนำไปเชื่อมโยงเข้ากับ ระบบอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้
      
       ผลลัพธ์ที่ได้คาดหวังว่าจะเป็นระบบจัดการองค์ความรู้โขนแบบถาวรที่ สมบูรณ์และใช้งานได้จริงกับกระบวนการผลิตชุดเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน ของกรมศิลปากรต่อไป พร้อมนำถวายรายงานความคืบหน้าแด่สมเด็จพระเทพฯ และท่านทรงได้พระราชทานพระกระแสกับทางคณะผุ้จัดทำโครงการฯ อันนำมาซึ่งความปลาบปลื้มของคณาจารย์และนิสิตในโครงการทุกคน” ผศ.ดร.พิษณุ กล่าวทิ้งท้ายถึงประสบการณ์และความสำเร็จที่ได้รับจากโครงการฯ

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000022453   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น