++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550

ผู้คิดค้นวิธีผลิตมะม่วงแบบชีวภาพ... ช่วยอนุรักษ์แมงมุมควบคุมสมดุลธรรมชาติ : นายวิเชียร มงคล

แต่เดิมการปลูกมะม่วงในพื้นที่ราบลุ่มของจังหวัดฉะเชิงเทรา เกษตรมักจะยกร่องทำเป็นคันดินเพื่อเป็นการระบายน้ำและเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง บนร่องสวนก็จะทำการถางหญ้าไม่ให้มีเศษวัชพืชขึ้นแม้แต่น้อยซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิมที่ทำกันอยู่ทั่วไปเพื่อให้สวนดูสะอาดสวยงาม

แต่ในปี 2543 นายวิเชียร มงคล ได้ค้นพบวิธีการผลิตมะม่วงแบบชีวภาพ โดยความบังเอิญจากการปลูกพริก กล่าวคือ แต่เดิมได้ปลูกพริกเป็นพืชแซมควบคู่ไปกับการทำสวนมะม่วงเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริม โดยจะทำการสูบน้ำเข้ามาในร่องสวนให้เต็มช่วงเดือนมกราคม หลังจากนั้นจะใช้น้ำที่สูบไว้เต็มร่องสวน รดพริกและฉีดพ่นยาเคมีทุกๆ 4 วัน น้ำในร่องสวนจะถูกใช้และแห้งภายใน 1 เดือน ซึ่งปกติภายหลังจากเก็บพริกแล้วหากไม่รดน้ำ ใบพริกจะร่วง ในระหว่างที่น้ำแห้งนั้นได้ฉีดพ่นสารชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกินไปซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดในเรืองอัตราส่วนที่ใช้ผสมกับน้ำ แต่กลับพบว่าได้ผลดี คือ เมื่อไม่ได้รดน้ำ ใบพริกก็ไม่ร่วงและมีดอกออกมาก จึงมีความเชื่อว่าวิธีชีวภาพเป็นเรื่องมหัศจรรย์สามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้

หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาอย่างจริงจังและนำมาใช้กับสวนมะม่วง และได้คิดค้นสารสกัดชีวภาพกำจัดเชื้อราสูตรว่านน้ำที่ประกอบด้วย ว่านน้ำ กระเทียม เหล้าขาว ดอง 10 วัน แล้วกรองนำน้ำมาใช้เป็นยาฉีดป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราแอนแทรคโนสในมะม่วงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สารสกัดนี้ยังใช้แช่ผลมะม่วงน้ำดอกไม้สุกที่ผลิตนอกฤดูก่อนนำไปบ่ม โดยใช้ในอัตราส่วน 60 ซีซี ต่อน้ำ 12 ลิตร แช่มะม่วงเป็นระยะเวลานาน 1 ชั่วโมง พบว่า การบ่มมะม่วงจะไม่เสียหายเลยและแผลของผลมะม่วงสุกที่เกิดจากจุดเน่าดำของโรคแอนแทรคโนสก็จะไม่ลุกลามอีกด้วย

ความจริงการใช้สารชีวภาพในส่วนมะม่วงและพริกผลพลอยได้คือเป็นการรักษาชีวิตของแมงมุม ซึ่งเป็นตัวห้ำชนิดหนึ่งในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ การที่เราใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟจะทำให้กำจัดแมงมุมซึ่งเป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ไปด้วย ทำให้การควบคุมสมดุลของธรรมชาติต้องถูกทำลายไป เกษตรกรยิ่งต้องใช้สารเคมีมากขึ้น การฉีดพ่นด้วยวิธีชีวภาพจะทำให้ควบคุมเพลี้ยไฟของมะม่วงได้ ทำให้มะม่วงมีผลที่สวยงาม ผิวสวย ไม่ขรุขระ ซึ่งมะม่วงจากสวนจะขายได้ราคาดี รสชาติอร่อย

สำหรับการบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เกษตรกรได้รณรงค์ให้สมาชิกลุ่มนำน้ำสกัดชีวภาพจากสารเร่ง พด.2 ไปผสมน้ำราดบริเวณทรงพุ่มมะม่วง จะช่วยปรับสภาพดินให้เป็นกลางและเป็นการช่วยย่อยอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เคยใส่และลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก


นายวิเชียร มงคล
หมอดินอาสาดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
93 /1 หมู่ที่ 3 ต.คลองเขื่อน กิ่ง อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา

จากหนังสือ “ภูมิปัญญาเกษตรอินทรีย์ตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง”
จัดทำโดย กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กันยายน 2549

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550

บทบาทบรรณาธิการข่าวในการทำงานเพื่อสังคม ภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

NEWS EDITOR’S ROLE CONCERNING PUBLIC INTEREST UNDER TAKSIN GOVERNMENT

โสภิต หวังวิวัฒนา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ว ัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบรรณาธิการข่าว 3 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารฝ่ายข่าวจากองค์กรสื่อ 3 แห่ง ในการทำงานเพื่อสังคม ได้แก่ คุณเทพชัย หย่อง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและคุณวีระ ประทีปชัยกูร อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ภายใต้บริบทของรัฐบาท พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตรว่า มีรูปแบบอย่างไร มีจุดยืนในทางวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างไร และการมุ่งมั่นทำงานตามวิชาชีพส่งผลกระทบอย่างไรต่อบรรณาธิการทั้ง 3 คนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก

ผลการวิจัย พบว่า บรรณาธิการทั้ง 3 คน มีจุดยืนเหมือนกันในด้านอุดมการณ์ทางวิชาชีพ คือ การทำหน้าที่ผู้บริหารฝ่ายข่าวหรือบรรณาธิการข่าว โดยมุ่งเน้นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้ปัญหาในสังคมหลายเรื่องถูกตีแผ่ เปิดเผยให้สังคมรับรู้และนำไปสู่การแก้ไขจนลุล่วงในที่สุด ทั้ง 3 คน ยังแสดงบทบาทสื่อมวลชนที่วิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเชื่อมั่นในเรื่องเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นและการทำหน้าที่สื่อ มวลชนที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะซึ่งมีบทบัญญัติตามมาตร า 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 รองรับเสรีภาพในการทำงานไว้ แต่ภายใต้โครงสร้างของระบอบทุนนิยม ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำรัฐบาลที่มีทั้งอำนาจทางการเมืองและอำนาจทุน นอกจากผู้บริหารสื่อจำต้องกำกับทิศทางให้สื่อของตนทำงานรับใช้สาธารณะซึ่งเป ็นบทบาทที่สังคมคาดหวังแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความอยู่รอดขององค์กรด้วย แรงกดดันจากกระแสภายนอกส่งผลให้ผู้บริหารสื่อต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน องค์กร และเกิดผลกระทบต่อบรรณาธิการข่าวทั้ง 3 คนต้องถูกโยกย้ายตำแหน่งงาน แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เขาเปลี่ยนจุดยืนหรือความเชื่อมั่นในการทำงานตามวิชาชีพด้วยควา มรับผิดชอบต่อสังคมแต่อย่างใด

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการให้สื่อมวลชนได้แสดงบทบาทแลทำหน้าที่ทางอุดมการณ์ทางวิชาชีพได้อย ่างเต็มที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยรวมสิ่งสำคัญคือ ต้องให้กองบรรณาธิการมีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง ต้องแยกโครงสร้างผู้เป็นเจ้าของสื่อกับกองบรรณาธิการออกจากกันเพื่อป้องกันก ารถูกแทรกแซง ในขณะเดียวกันองค์กรวิชาชีพและภาคประชาชนจะต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อช่วยเ หลือสนับสนุนเมื่อสื่อมวลชนประสบปัญหาจากการทำงานตามวิชาชีพ เพราะพลังผลักดันจากภายนอกมีส่วนช่วยให้สื่อมวลชนสามารถสร้างการต่อรองกับผู ้บริหาร ทำให้สื่อมวลชนทำงานรับใช้สังคมได้อย่างเต็มที่


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ศาสตร์แห่งชีวิต กินเพื่อชีวิต

สำหรับศาสตร์อายุรเวทแล้ว การกินอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ อาหารถือเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญระดับที่ถือว่าเป็นเสาหลักแห่งชีวิต (ตรีสดมภ์) ซึ่งมีด้วยกัน 3 อย่าง คือ อาหาร (ahara) การนอนหลับพักผ่อน (nidra : นิทรา) และการมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม (brahmacarya : พรหมจริยา)
ชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ได้ถ้าขาดซึ่งอาหาร พูดง่ายๆ ว่าอาหารมีความสำคัญประมาณนั้น

ส่วน ที่ว่าเป็นโทษมหันต์นั้นก็เนื่องจากว่า ถ้ากินอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาหารที่กินเข้าไปแทนที่จะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ จากนั้นก็ถูกดูดซึมไปบำรุงเลี้ยงร่างกายหรือถูกแปรสภาพให้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของร่างกาย จะกลับกลายเป็นของเสียก็ไม่ใช่จะเป็นของดีก็ไม่เชิง คล้ายๆ กับเป็นของกึ่งดิบกึ่งดี หรือกึ่งดิบกึ่งสุกที่ร่างกายกำลังจำแนกแยกแยะว่าจะจัดการอย่างไรกับมันดี
อายุรเวทเรียก อาหารที่ถูกย่อยไม่สมบูรณ์ว่า "อามะ" (ama) ซึ่งมีผู้ให้ความหมายว่าคือสิ่งที่ยังไม่กลายเป็นหนึ่งเดียวกับเรา ที่สำคัญก็คือว่านอกจากจะไม่กลายเป็นหนึ่งเดียวกับเราแล้ว ถ้ามีอามะสะสมอยู่ในร่างกายก็จะทำให้เกิดการเจ็บไข้ไม่สบายตามมา

เริ่ม ตั้งแต่อาการพื้นๆ อย่างท้องอืดท้องเฟ้อหรือแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกหนักเนื้อหนักตัวไม่ค่อยอยากทำอะไรหรือเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนเพราะ อิ่มเต็มกำลัง ไปจนถึงอาการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเช่น ท้องเสียเรื้อรังแบบเข้าปุ๊บออกปั๊บ คือกินอาหารเสร็จก็ปวดท้องต้องเข้าห้องน้ำแล้ว แม้แต่อาการปวดตามข้อ ข้อบวม เป็นหวัดเรื้อรัง ภูมิแพ้ โรคผิวหนัง โรคประดามีเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากการมีอามะสะสมในร่างกายเช่น เดียวกัน

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าสาเหตุหลักๆ ของการเกิดอามะก็มาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง ทำให้ระบบย่อยอาหารเสียสมดุลทำงานแย่ลง นานๆ เข้าก็ทำให้สุขภาพไม่ดี
ศาสตร์แห่งชีวิตจึงให้ความสำคัญกับการกินอาหารอย่างเหมาะสมด้วยประการฉะนี้
โดยให้หลักว่ามีสิ่งที่ต้องระมัดระวังหรือคำนึงถึงอยู่ 3 อย่าง คือเวลาในการกิน ประเภทหรือลักษณะของอาหาร และปริมาณอาหารที่ควรกิน

สำหรับ เวลาในการกินนั้นมีหลักว่า ให้กินอาหารต่อเมื่ออาหารมื้อที่ก่อนหน้านั้นถูกย่อยหมดดีแล้ว วิธีสังเกตก็ให้ดูว่าเราหิวแล้วหรือยัง เมื่อไรที่หิว แสดงว่าร่างกายต้องการอาหารแล้ว เพราะอาหารที่กินเข้าไปก่อนหน้านั้นถูกย่อยไปเรียบร้อยแล้ว

ฉะนั้นเวลา ที่เหมาะสมในการกินอาหารในมุมมองของอายุรเวทจึงดูที่ปฏิกิริยาหรือสภาวะของ ร่างกายมากกว่าดูจากนาฬิกาว่าได้เวลาอาหารหรือยัง หรือกินเพราะใจมันอยาก
ลอง สังเกตดูก็ได้ในวิถีชีวิตทุกวันนี้บ่อยครั้งที่เรากินกลางวันเพราะถึงเวลา พักเที่ยงแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่หิวเลย โดยเฉพาะวันไหนที่คุณกินข้าวเช้าสายหน่อย หรือคืนไหนที่มีงานเลี้ยงรุ่นงานเลี้ยงฉลองแต่งงาน มื้อค่ำวันนั้นคุณอาจกินจนต้องเดินเอนไปด้านหลังเพราะท้องกาง สังเกตว่าวันรุ่งขึ้นจะรู้สึกอึดอัดหนักเนื้อหนักตัว ไม่รู้สึกหิวข้าว แสดง ว่าอาหารมื้อก่อนยังย่อยไม่หมดดี ยังไม่ถึงเวลาที่จะกินมื้อใหม่ ขืนกินเข้าไปมื้อใหม่มื้อเก่าปนกันมั่วหมด กระเพาะลำไส้ต้องทำงานหนักขึ้น ทางที่ดีปล่อยให้กระเพาะค่อยๆ ย่อยอาหารมื้อก่อนให้สมบูรณ์ดีก่อนแล้วค่อยเติมของใหม่เข้าไป

บางคนกินก็เพราะอยากมากกว่าหิว อย่างนี้ก็ถือว่าไม่ใช่เวลาที่ควรกิน ควรจะกินเพราะหิวมากกว่า
ส่วน ประเภทหรือลักษณะของอาหารนั้น มีหลักกว้างๆ ว่า ให้กินอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรกินอาหารที่เก็บค้างคืน กินอาหารที่ย่อยง่าย ในขณะเดียวกันก็ควรเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ขนบขบเคี้ยวประเภทกรอบแห้งทั้งหลายไม่ควรกินเพราะไม่ค่อยบำรุงร่างกายเท่าไร อย่างดีก็ทำให้หายอยาก ไม่ควรกินอาหารที่เราไม่คุ้นเคยหรืออาหารที่ร่างกายเราไม่ยอมรับ เช่น ใครที่แพ้อาหารทะเลหรือแพ้อาหารง่ายก็ต้องระวังเป็นพิเศษ

ส่วนปริมาณ อาหารที่ควรกินนั้น เขาไม่ได้มีหลักตายตัวว่าควรต้องกินข้าวกี่จาน กินโปรตีนหรือเนื้อสัตว์กี่กรัมกี่ก้อน แต่มีหลักว่าขึ้นอยู่กับลักษณะของอาหารที่กินด้วย ถ้าเป็นอาหารที่ย่อยง่ายก็สามารถกินได้มากขึ้น แต่ถ้าเป็นอาหารที่ย่อยยากก็ควรลดปริมาณลงให้สมน้ำสมเนื้อกับกระเพาะอาหาร ของเราแต่ละคน
ข้อแนะนำโดยทั่วไปก็คือให้กินอาหารที่เป็นของแข็งสัก ครึ่งหนึ่งของกระเพาะ เป็นของเหลวสักหนึ่งในสี่ ที่เหลืออีกหนึ่งในสี่ของกระเพาะเอาไว้ให้เป็นที่ว่างเพื่อให้กระเพาะคลุก เคล้าอาหารได้สะดวกในขณะที่กำลังย่อยอาหาร

นอกจากนี้ยังมีวัตรปฏิบัติ อื่นๆ อีกที่จะช่วยให้คุณกินอาหารได้เอร็ดอร่อยและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ ด้วย ได้แก่ควรกินอาหารในที่ที่มีบรรยากาศดีน่ารื่นรมย์ สำรวมจิตใจในการกินไม่ควรกินอาหารในที่ที่มีบรรยากาศดีน่ารื่นรมย์ สำรวมจิตใจในการกินไม่ควรกินด้วยความเร่งรีบ อย่าเดินกินและหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรออกกำลังกาย และควรกินอาหารโดยตระหนักและคำนึงถึงสรรพชีวิตอื่นๆ ด้วย
ทำได้ดังนี้ถือเป็นการกินดีเพื่อชีวีมีสุขทั้งเราและสรรพชีวิตทั้งมวล

ข้อมูลโดย :
มูลนิธิสุขภาพไทย

ข้อคิดเพื่อผู้นำ

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
วางรากฐานด้วยลักษณะชีวิต ลักษณะชีวิตสร้างผู้นำ ผู้นำสร้างคน คนสร้างชาติ

ลักษณะชีวิตที่ดีจะเป็นรากฐานความสำเร็จที่มั่นคงได้
การศึกษาและฐานะเป็นเพียงส่วนประกอบเสริม
ฉะนั้นผู้นำที่ดีจึงควรมีลักษณะชีวิตที่ดีเป็นประการแรก

อัตราส่วนของเกลืเพียงน้อยนิด
มีอิทธิพลต่อเนื้อที่หมักไว้มิให้เน่าเสียฉันใด
ก็เปรียบได้กับผู้นำที่มีลักษณะชีวิตดีเลิศจำนวนน้อย
แต่สามารถมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคนจำนวนมากได้

อย่ามองหาแบบอย่างจากคนที่มีตำแหน่งสูง
การศึกษาสูง หรือ ความสามารถสูง
แต่จงมองหาคนที่มีลักษณะชีวิตที่ดี
เพราะในการเป็น "ผู้นำ" นั้น
ลักษณะชีวิตสำคัญที่สุด

ผู้นำที่ตั้งใจรักษามาตรฐานชีวิต และไม่ปล่อยให้เสื่อมลง
ในระยะยาว จะเห็นผลแห่งความตั้งใจ
ปรากฏเป็นชีวิตคนจำนวนมาก
ที่ได้เลียนแบบอย่างชีวิตของเขา

สังคมไทยต้องการผู้นำในทุกระดับชั้น
ตั้งแต่สูงสุดจนถึงหน่วยย่อยที่สุดของสังคม
ที่ได้รับการสั่งสมและปลูกฝังมาตรฐาน
คุณธรรมและจริยธรรมที่สูงส่ง

ผู้นำต้องมีคุณลักษณะมุ่งมั่นยืนหยัด
พร้อมมีใจเปิดกว้าง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
และขณะเดียวกันก็ต้องก้มลงสำรวจตัวเองอยู่เสมอ

ผู้นำที่ดีมิใช่ผู้ที่ยืนอยู่บนหอคอยงาช้าง
แต่จะมีลักษณะของความถ่อมใจ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลภายใต้
และนำไปปรับปรุงเสมอ

ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้จักตนเอง
สามารถพัฒนาจุดแข็งให้กลายเป็นจุดเด่น
และยอมรับจุดอ่อนในชีวิตพร้อมกับพยายามปรับปรุงแก้ไข

ผู้นำที่บรรลุภาวะทางอารมณ์
จะเป็นผู้ที่ประพฤติและวางตนได้อย่างเหมาะสม
จนได้รับการยอมรับและวางใจจากผู้ตามว่า
สามารถนำทิศทางพวกเขา
ยามเผชิญวิกฤตการณ์ต่างๆได้

ผู้นำที่รักการอ่าน
มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ
คือ คุณสมบัติของผู้นำที่มีความคิดกว้างไกล

ผู้นำที่เป็นคนช่างสังเกต
และเห็นคุณค่าของผู้ร่วมงานรอบข้าง
จะมองเห็นจุดดีของทุกคนทะลุผ่านความผิด
และข้อบกพร่องของเขาเหล่านั้นได้เสมอ

ความเพียรพยายามของผู้นำ
ถือเป็นต้นกำเนิดที่นำมาซึ่งความสำเร็จ
เขาจะสามารถฝ่าฟันขวากหนามแห่งอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ทั้งจากภายนอกและภายในด้วยหัวใจที่ไม่มีคำว่า
"ยอมแพ้" หรือ "หวั่นไหว"
แม้จะต้องแบกรับความผิดหวังสักปานใด

"วินัย" สร้างชีวิตคนธรรมดาให้เป็นผู้นำ
ผู้นำที่ขาดวินัย แสดงว่าผู้นั้นได้รับการเลือก
บนพื้นฐานความมืดบอดแห่งจิตใจของใครบางคน

ผู้นำคือผู้ที่สวมวิญญาณแห่งความ "ดีเลิศ"
เริ่มต้นตั้งแต่ ความคิดดีเลิศ เป้าหมายดีเลิศ
การตัดสินใจดีเลิศ ทีมงานดีเลิศ การทำงานดีเลิศ
และสุดท้าย"ผลลัพธ์ดีเลิศ"

ความเก่งกาจสามารถของผูนำ
ไม่สามารถช่วยนำไปถึงซึ่งความสำเร็จได้เลย จนกว่า
ลักษณะชีวิตของผู้นำนั้นจะได้รับการปรับเปลี่ยน
ให้อยู่ภายใต้การบังคับใจของตนเอง
ได้รับการกุมบังเหียนให้อยู่ในร่องในรอย

การบังคับตนเองเป็นคุณสมบัติหลักของผู้ที่จะปกครองคน
หากขาดซึ่งสิ่งนี้ ผู้นำคนนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับนับถือ
และอาจเป็นที่เกลียดชังของคนภายใต้

ความมุ่งมั่นของผู้นำ
ต้องไม่ถูกทำให้ถดถอยด้วยสิ่งต่างๆ ง่ายนัก
แต่ต้องตระหนักเสมอว่า
สิ่งที่พยายามตั้งใจไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
เป็นสิ่งที่มีคุณค่าตลอดชีวิตของเขา

ผู้นำต้องผสมผสานความเด็ดขาด
และความเมตตาให้กลมกลืนอย่างมีสติปัญญา
จึงจะสามารถปกครองคนได้

ผู้นำต้องควบคุมคำพูดให้เป็นที่หนุนใจ
เป็นคำพูดที่สร้างสรรค์เสมอ
โดยควบคุมปากของตนเองไม่ให้เป็นเครื่องมือของอารมณ์
ไม่ให้เป็นเครื่องมือของความไร้เหตุผล
เพราะคำพูดอาจนำมาซึ่ง
คุณเอนกอนันต์หรือโทษมหันต์ก็ได้

ความไม่ซื่อสัตย์ ทำให้คงความเป็นผู้นำไว้ได้ไม่นาน
เพราะเขาขุดหลุมพรางไว้เป็น "กับดัก" สำหรับตนเอง

* * * * * * สู่พฤติกรรมที่แตกต่าง * * * * * * * ความสามารถของผู้นำที่ชาญฉลาด
มิใช่ความเก่งกาจหรือความเลิศเลอเฉพาะตัว
แต่เป็นความสามารถในการมองการณ์ไกล
มีวิสัยทัศน์ในการถ่ายทอดอำนาจและความรอบรู้สู่ผู้อื่น
และมีวิญญาณในการบุกเบิกกระทำสิ่งใหม่ๆ
ไม่มีใครริเริ่มคิดจะทำ

ผู้นำที่มีอุดมคติ และมีความคาดหวังสูงเท่านั้น
จึงกล้าและสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันจะต้องมีหัวใจ "โต"
เพียงพอที่จะสามารถรองรับ
สภาพการโถมทับของความผิดหวัง
ที่อาจตกลงมาเมื่อใดก็ได้

หากระบบภายในองค์กรดี
แต่ผู้นำขาดความสามารถในการบริหาร องค์กรก็ล้มเหลว
แต่ถึงแม้ระบบไม่ดี
หากมีผู้นำที่มีความสามารถในการบริหาร
ความสำเร็จขององค์กรก็จะเกิดขึ้นในที่สุด

ผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะรับอิทธิพลจากภายนอกอย่างมีสติปัญญา
ใช้วิจารณญาณแยกแยะถูกผิด
ยึดมั่นในความซื่อตรงและเที่ยงธรรม
เพื่อจะสามารถมีอิทธิพลแก่ผู้อื่น
ในวิถีทางที่ก่อประโยชน์อย่างแท้จริง

ความสามารถในการประยุกต์หลักการ
เข้ากับบริบทท้องถิ่นอย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์
คือ "สติปัญญา" ที่ผู้นำทุกระดับพึงมี

ผู้นำที่ขาดการพัฒนาความรู้ในสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ก็เป็นเรื่องยากที่องค์กรหรือหน่วยงานของเขา
จะก้าวหน้าและทันโลก

ผู้นำที่เปิดใจกว้างยอมรับการเรียนรู้ใหม่ๆ
จากคนทุกประเภท ทุกระดับชั้น
ย่อมก้าวหน้าไปไกลกว่าผู้นำที่ยึดติดกับความรอบรู้เดิมๆ
ของตนและตีค่าความรู้ของผู้อื่นต่ำต้อย

ความสามารถในการควบคุมดูแลงานให้สำเร็จ
ต้องอาศัยการทุ่มเทชีวิต ลงทุน ลงแรง อดทน พากเพียร
เสียสละ และเหนื่อยยาก แต่เมื่อเห็นผลงานที่เกิดขึ้น
ก็สามารถพูดได้อย่างเต็มคำว่า "คุ้มค่า"

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสร้างสรรค์ทุกสิ่งที่เขาปรารถนา
ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะทำลายสารพัดสิ่ง
ที่เป็นอุปสรรคต่อความปรารถนานั้น

ผู้นำต้องจัดวางกำลังคนไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ตามความสามารถและขอบเขตที่เขาสามารถรับผิดชอบได้
ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งคนตามความพอใจส่วนตัว
เพราะจะเหมือนกับนำม้าไปไถนา
และเอาวัวไปส่บังเหียนวิ่งแข่ง

ผู้นำที่ดีต้องรู้จักแยกแยะระหว่างความถูกต้อง
และความสัมพันธ์ส่วนตัว มีการตัดสินด้วยความยุติธรรม
หากคนที่เราสนิทสนมทำสิ่งไม่ถูกต้อง
ก็ไม่ควรเป็นเหตุมห้เราต้องลดน้ำหนักของความยุติธรรม
ให้ด้อยลงไป

ผู้นำควรตระหนักว่า การตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียว
อาจส่งผลร้ายตลอดชีวิตที่ไม่สามารถเรียกคืนได้
แต่การตัดสินใจอย่าง "รอบคอบ" ในทุกๆเรื่อง ทุกๆวัน
แม้ดูเหมือนจะเสียเวลาบ้าง
แต่สิ่งนั้นคือ การดำรงไว้ซึ่งความถูกต้อง
และวิถีแห่งความสำเร็จในชีวิตเสมอ

ผู้นำไม่ควรตัดสินปัญหาต่างๆ โดยปราศจากข้อมูล
เหมือนการรบที่ไม่รู้จักกำลังของศัตรู
โอกาสพลาดพลั้งพ่ายแพ้ก็มีมาก

* * * * การวางแผนอย่างมีวิสัยทัศน์ * * * * แววแห่งความล้มเหลวยังคงส่องแสงอยู่เนืองๆ
ท่ามกลางชุมชนหรือองค์กรที่ผู้นำขาดการวางแผนระยะยาว

น้อยคนนักที่เมื่อเผชิญสิ่งที่เลวร้ายแล้ว
ไม่หวั่นไหว หวาดกลัว
แต่ลักษณะพิเศษของผู้นำประการหนึ่ง คือ
มองข้ามความกลัวเล็งไปยังเป้าหมายแห่งความสำเร็จ
และวางแผนด้วยสติปัญญา ด้วยความมั่นคงแห่งจิตใจ

หากผู้นำเป็นผู้ที่ไม่มีสายตาคมชัดในการมองเป้าหมาย
เขาจะสามารถนำคนได้อย่างไร
นานวันก็จะยิ่งทำให้คนภายใต้สับสน
เหมือนสุภาษิตหนึ่งกล่าวว่า
"คนตาบอดจะนำคนตาบอดได้อย่างไร"

ผู้นำคือผู้ที่เจนจัดในการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
โดยบรรจุสิ่งที่สำคัญที่สุดไว้ คือ "ความรอบคอบ"
เพราะเขารู้ว่า "ความประมาท"
คือเชื้อพันธุ์แห่งความล่มสลาย

ผู้นำที่ไม่มีวิสัยทัศน์ คือ ผู้แพ้สำหรับวันนี้
และเป็นผู้ที่ตายแล้ว สำหรับวันพรุ่งนี้และวันต่อๆไป
ผู้นำควรตระหนักว่า ความล้มเหลวโดยมิได้ตั้งใจ
คือ นิสัยผูขาดวิสัยทัศน์

ผู้นำขาดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
คือ ผู้นำที่ตั้งเป้าหมายเฉพาะหน้า
วางแผนเฉพาะหน้า แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
แต่สร้างปัญหาระยะยาว

ผู้นำที่มีความสามารถ
ต้องเรียนรู้จักวางแผนการใช้เวลาอย่างดีเลิศ
เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของบุคคลผู้มี "ปัญญา"

* * * * "นำทิศทาง" และ "สร้าง" คนรุ่นต่อไป * * * * * ผู้นำไม่ได้เป็นบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคอยออกคำสั่ง
หรือชี้นิ้วเพียงอย่างเดียว
แต่ถูกตั้งมาเพื่อนำทิศทาง คอยแนะนำฝึกคน
ให้เป็นคนที่มีคุณภาพ

ผู้นำ คือ บุคคลที่เรียนรู้การฝึกคน 10 คนให้ทำงาน
ดีกว่าทำงานของคนทั้ง 10 คน ด้วยตนเอง

ไม่มีผู้นำคนใดสามารถทำงานใหญ่ได้
ถ้าไม่รู้จักมอบหมายให้คนอื่นช่วยรับผิดชอบบ้าง

ผู้นำควรละงานที่ทีมงานสามารถรับผิดชอบได้
เพื่อมุ่งมั่นตั้งใจบุกเบิกงานที่ไม่มีใครสามารถทำได้
แล้วถ่ายทอดสู่ทีมงานให้รับผิดชอบต่อไป
เพื่อตลอดชีวิตนี้จะปรากฏว่า
เราได้ร่วมกันทำสิ่งที่ดีมากมายมอบให้แก่โลก

การสร้างคนให้เป็นผู้นำมีค่ายิ่ง
เพราะสิ่งที่เพาะเมล็ดพันธุ์ลงไปในชีวิตเขานั้น
จะไม่หายไปไหน แต่จะเจริญงอกงามอยู่ภายใน
และออกผลมากมายเพื่อผู้อื่น

ผู้นำคือผู้ที่มีความสามารถในการสร้างคนรุ่นต่อไป
ประดุจผู้เพาะเมล็ดพันธุ์พืช
คอยพรวนดินรดน้ำด้วยคำสั่งสอน ใส่ปุ๋ยแห่งการศึกษา
หล่อเลี้ยงรากแก้วด้วยสติปัญญา
เพียรพินิจดูลำต้นที่กำลังเจริญเติบโต
และตบแต่งให้งดงามด้วยแบบอย่างแห่งชีวิต

ผู้นำที่ดี คือ ผู้ที่ไม่เพียงแต่ยื่นปลาให้คน "กิน" เพียงอย่างเดียว
แต่ต้องสอนเขาให้ "จับ" ปลากินเองด้วย

ความสามารถในการถ่ายทอด "ภาระใจ"
และการ "เห็นคุณค่า" ในงานที่ทำ
คือ ความสามารถสร้างทีมงานให้มีอุดมการณ์เดียวกัน
ให้ทุกคนมีความฝันอันงดงาม ที่น่าบากบั่นไปให้ถึง
ต่างจากผู้นำที่ชอบถ่ายทอด "ภาระหนัก"
อันทำให้ทีมงานมีแต่ภาพวาดอันมืดมิด
ยิ่งทำไปก็ยิ่งเหน็ดเหนื่อยและสิ้นหวัง

การถ่ายทอดสิ่งที่ดีในตัวเราต่อคนภายใต้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้นำจะต้องมีความคมชัดในความคิด ชัดเจนในเป้าหมาย
เข้าใจในแผนการ และลงมือปฏิบัติ
จนกลายเป็นสภาวะควบคู่กันในชีวิตของเราก่อน

อุดมการณ์และเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิตของผู้นำ
จะสามารถส่งผ่านอิทธิพลสืบทอดสู่ผู้อื่น
และนำพาไปถึงซึ่งความสำเร็จได้

ผู้นำที่มีประสิทธิภาพในการสร้างคน
จะมีผลทำให้ได้คนที่มีประสิทธิภาพตาม
เหมือนคันธนูที่ดีจะต้องมีแรงส่งลูกธนูไปได้ไกลถึงเป้าหมาย

แบบอย่างจากชีวิตของผู้นำ คือ
บทเรียนฝึกหัดคนที่ดีที่สุด
แต่ปฏิบัติจริงได้ยากที่สุด
เพราะต้องระมัดระวังลักษณะชีวิตที่ไม่ควรถ่ายทอด
เป็นแบบอย่างที่อาจผสมผสานออกไปด้วย

แม่พิมพ์ คือ ตัวต้นแบบหล่อผลิตภัณฑ์
ที่มีลักษณะเหมือนๆกัน
หากต้นแบบดี ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาก็จะสมบูรณ์
เฉกเช่นเดียวกัน ถ้าผู้นำดีมีความสามารถ
ก็เปรียบประดุจต้นแบบที่เป็นตัวสะท้อนว่า
คนภายใต้จะมีลักษณะที่ดีมีความสามารถ
ตามแบบผู้นำนั้น

** * * * สร้างกำลังใจให้ทีมงาน * * * * * ผู้นำ คือ ผู้ที่ปลุกเร้าความคิด
และคำพูดแง่บวกให้เกิดขึ้นในทีมงาน
เพื่อให้การกระทำที่แสดงออก
จะตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อมั่นว่า " เป็นไปได้"

ผู้นำย่อมไม่สร้างความหวั่นไหว
ให้แก่ทีมงาน เมื่อเจอปัญหา
ถึงแม้จะมองไม่เห็นทางออกเบื้องหน้า
แต่เพราะเขารู้ว่าการให้กำลังใจ
คือวิธีที่จะนำมาซึ่งชัยชนะ

ความเข้มแข็งของผู้นำ จะปลุกพลังฮึดสู้ของผู้ตาม
แต่ถ้าความอ่อนแอปรากฏเมื่อใด
คนภายใต้ก็กระจัดกระจาย

ผู้นำที่มีแรงจูงใจสูงผิดปกติกว่าคนธรรมดา
จะสามารถนำคนที่มีแรงจูงใจธรรมดาได้

การสื่อสารเป็นทักษะจำเป็นสำหรับผู้นำ
ในการท้าทายบุคคลผู้อยู่ภายใต้
การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผลจะวัดจากการตอบสนองที่ดี
หากการสื่อสารล้มเหลวอาจเกิดการต่อต้าน
กลายเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จทั้งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น

ผู้นำต้องเป็นผู้ประสานความแตกร้าว
และยุติความแตกแยกภายใน
ต้องพงึระลึกอยู่เสมอว่า
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนั้น
สามารถเอาชนะอุปสรรคที่รุมเร้าจากภายนอกได้

บทบาทที่จำเป็นของผู้นำ
นอกจากการวางแผนนำทิศทางสู่เป้าหมายแล้ว
ต้องเรียนรู้การนำด้วยความเข้าใจ
และเรียนรู้จักสภาพของผู้ตามด้วย

ผู้นำต้องสวมความกล้าหาญ
ในการตักเตือนคนด้วยใจปรารถนาดี
ด้วยใจแห่งความมุ่งมั่นและความพากเพียรไม่ลดละ
ผลลัพธ์ก็จะได้ "คนที่มีคุณภาพ"

ผู้นำต้องเรียนรู้การสร้างใจตนเองให้เข้มแข็ง
ต้องคอยปั้มกำลังใจให้กับตนเอง เพื่อเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ
จึงจะสามารถเป็นกำลังใจให้ผู้อื่นได้

ผู้นำเป็นคนธรรมดาที่อาจทำผิดพลาดได้
แต่แตกต่างตรงที่ เขามี "ใจสู้"
และสร้าง "กำลังใจ" ให้แก่ทีมงาน
เพื่อทำสิ่งที่เกินธรรมดา
หยิบยื่นให้กับองค์กร

การท้าทายที่มีพลังจะต้องท้าทายด้วย "ชีวิต"
ให้เห็นภาพคมชัดเต็มตาว่า "สำเร็จแน่!"
แต่การท้าทายจะหมดพลังหากเพียงแต่ท้าทายด้วย
"คำพูด" ซึ่งขัดแย้งกับการกระทำ

* * * "สานสัมพันธ์" สู่ความสำเร็จ * * * คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้นำ คือ
ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
หากปราศจากสิ่งนี้เขาก็ไม่มีสิทธิ์เป็นผู้นำ

ผู้นำต้องเห็นคุณค่าคนทุกประเภท
โดยสะท้อนออกมาทางการประพฤติ
เปิดทางให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์
ไม่มองคนเป็นเพียงเครื่องมือ
เพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
หรือแสดงออกในลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยาม
อันเป็นเหตุให้เราทำลายตัวเอง
ทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

ผู้นำที่ชาญฉลาดย่อมเป็นผู้ที่มี "มนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ"
เพราะเขารู้ว่ามนุษยสัมพันธ์นั้น
เปรียบเสมือนมีคนที่คอยเปิดประตูแห่งความสำเร็จ
ซึ่งง่ายกว่าการดั้นด้นหาทางด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว

ผู้นำควรไวต่อความรู้สึกผู้อื่น โดยตระหนักเสมอว่า
ก่อนปฏิบัติต่อบุคคลอื่นต้องคำนึงว่า
เขา "คิดอย่างไร" "ปรารถนาเช่นไร"
"เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น" "เป้าหมายของเขาคืออะไร"
"เราจะมีส่วนสนับสนุนความสำเร็จของเขาได้เพียงไหน"
มากกว่าคำนึงถึงแต่เพียงว่า
เขาสามารถทำอะไรให้กับเราได้บ้าง

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนแม้มีความถนัด
และความเชี่ยวชาญสักเพียงใด
ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้
หากไร้ซึ่งการพึ่งพาผู้อื่น
มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นเหตุให้เราได้รับการเรียนรู้
การยอมรับและถ่อมใจที่จะยินดีรับการช่วยเหลือ
และสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่เรา
ปฏิสัมพันธ์ด้วย

ผู้นำที่ปรารถนาจะบรรลุถึงความสำเร็จได้นั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ได้ยากเสียทีเดียว
หากทุกสิ่งที่ลงทุนลงแรงและทุมเทสติปัญญาลงไปนั้น
ได้กระทำควบคู่ไปพร้อมกับการเห็นคุณค่า
ของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วย

ช่องว่างในความไม่เข้าใจที่ต่างระดับกันในความคิด
มักทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์
ผู้นำต้องเป็นผู้ริเริ่มประสานให้สนิท
โดยการเปิดเผยชีวิตที่โปร่งใส
มีความเข้าใจในสภาพความคิดของอีกฝ่าย
พร้อมจะขอโทษและยินดีให้อภัยเสมอ
เมื่อเกิดความเข้าใจผิด

Creative Thinking เครื่องมือการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ตำราเล่มนี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้บริหารและผู้อ่านทั้งหลาย เพราะต้นตอสาเหตุหลักที่เราปวดหัวกันตอนนี้คือ การแก้ปัญหาหลายครั้งที่ “แก้ไม่ออก” มันตันไปหมด” หรือ แก้ไม่ถูก แก้ผิดจุดและบ่อยครั้ง “ไม่มีใครแก้”

ตำราเล่มนี้ มีคำสามคำที่สำคัญปนกัน คือ

    1. เครื่องมือ
    2. การแก้ปัญหา และ
    3. อย่างสร้างสรรค์

เรามาพิจารณาคำแรก คือ เครื่องมือ (Tools) ซึ่งย่อมต้องขึ้นกับผู้ใช้ เราจะเลือกใช้เครื่องมืออย่างไรให้เหมาะสม หรือจะใช้ผสมกันอย่างไรก็ได้ คำว่า 100 นั้น ถ้านับดูจะไม่ครบ 100 เป็นเพียงคำพูดที่แฝงอุบาย คือ 100 หมายถึง การร้อยเข้าหากัน ร้อยให้ติดกัน เป็นพวงเลยก็ได้ นั่นคือ อย่าใช้เครื่องมือเดียว

อย่างไรก็ตาม เก่งเรื่องเครื่องมืออย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีความรู้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมียบางท่านอาจจะใช้ไขควงเก่ง (เป็นเครื่องมือ เช่น ไล่แทงขว้าง ฯลฯ) แต่ไม่สามารถซ่อมรถได้ เพราะไม่รู้เรื่องที่จะซ่อม วิศวกรก็เหมือนกัน รู้วิธีใช้สูตรต่างๆมากมาย แต่ไม่เข้าใจเครื่องจักรที่แก้ เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนมา ดังนั้นก็แก้ไม่ได้ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ตำรา TQM หรือ Total Quality Management มักกล่าวถึง (แต่ไม่ได้เน้น) คือพนักงาน ต้องมี ”ความรู้ พื้นฐาน” (Basic knowledge) ในงานที่ตนทำอยู่เสียก่อน จึงจะทำ TQM ได้

องค์กรที่ทำคิวซีซี (Quality Control Circles) แล้ว ผลที่ออกมาไม่ได้เรื่องได้ราว ก็เพราะคนในองค์กรไม่มีความรู้พื้นฐาน รอแต่จะลอกเขา เอาของเขามาทำย้อนหลัง ฯลฯ ดังนั้น การที่เจ้านายไปสั่งให้เขาทำ คิวซีซี ก็เปรียบเสมือนรีดเลือดกับปูอัด นั่นเอง พนักงานไม่มีอะไรในสมอง

การที่เราเชิญวิทยากรเรื่องคิวซีซี ที่ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนก็ตาม มาสอนองค์กรของเราก็ได้แค่เก่งสอนเครื่องมือ แก้สิ่งที่จะแก้ไม่ได้ เพราะวิทยากรไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เราทำมาหากินกันอยู่

อย่างไรก็ตามประโยชน์ของการใช้เครื่องมือต่างๆคือ เป็นการลดการกระแทกกันทางอารมณ์ของผู้เข้าร่วมทีม เพราะในองค์กรมีคนประเภทที่มี EQ ( ความฉลาดในการใช้อารมณ์ หรือ Emotional Quotient ) ต่ำอยู่มาก

คำที่สอง คือ การแก้ปัญหา คำนี้เราก็ต้องตีความก่อนว่า ปัญหา คืออะไร ปัญหาคือ การมีหรือการได้พบหรือการได้ “สิ่งที่ไม่ได้ดังคาดหวัง” (เช่น ของเสีย ของตกสเปค ไม่พอใจ ไม่ถูกใจ พนักงานไม่สามัคคีกัน ฯลฯ) “สิ่งที่อยากจะได้ดังคาดหวังแต่ยังไม่ได้” ( เช่น การออกแบบสิ่งใหม่ๆ การทำให้สมหวัง การทำให้ได้ตามนโยบาย ฯลฯ)

แต่ที่แย่อยู่ตอนนี้ คือ พวกเราหลายคนไม่รู้ว่า “ปัญหาเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่านี่คือปัญหา”กำลังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่แต่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นแล้ว ” หรือ “ไม่รู้ว่ากำลังจะเกิดปัญหาอยู่” จึงไม่คิดจะแก้

ส่วนคำว่า “แก้” ก็ตรงกับ คำว่า Action ในวงจร “Plan-Do-Check-Action” ของ ดร.เดมมิ่ง (Deming) นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เรื่องการ Action นั้น นอกจากหมายถึงการแก้ไขแล้ว ยังรวมไปถึงการป้องกันด้วย

คำที่สาม คือ อย่างสร้างสรรค์ ตีความได้ เช่น ไม่ทำลาย ไม่ทำบาป เกิดประโยชน์ ได้คุณค่า ไม่น่าเบื่อ แปลกใหม่ ฯลฯ ซึ่งต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ของผู้แก้ปัญหาอย่างมากมาย

หัวใจของตำราเล่มนี้ อยู่ตรงคำที่สามนี้เอง เพราะเรื่องของ “ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) “ เป็นเรื่องยาก สำหรับคนที่ไม่ได้ฝึกหัดมา (ฝึกการใช้สมองด้านขวา) คนเรียนเก่งหลายคน จึงถูกต่อว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เนื่องจากทักษะด้านสร้างสรรค์ อารมณ์ จินตนาการ ความมุ่งมั่น ฯลฯ โดนทำลายหมด เพื่อมุ่งสอบเข้า (Entrance) สถานศึกษาต่างๆ

โชคร้ายที่ระบบการศึกษาของไทย ทำลายเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของเรา ของเจ้านายและของลูกน้องคนรอบข้างเรามาตั้งแต่เด็กๆ จู่ๆจะมาสร้างให้สมองด้านขวาทำงานภายในเวลาอันสั้นนั้นยากมาก แต่ค่อยๆใช้เครื่องมือที่จะนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง

เครื่องมือดีๆ เทคนิคดีๆ ในการบริหาร เช่น คิวซีซี รีเอนจิเนียริ่ง (Re-engineering) และ TQM นั้นเกิดอเมริกา โตญี่ปุ่น ตายที่ไทย ก็เพราะพวกเราไม่ค่อยจะมีความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง

ถ้าอ่านหนังสือ ”กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” เราจะพบว่า พวกเราชาวไทย เลี้ยงลูกผิดมาตั้งแต่ต้น (บางท่านอาจจะบอกว่า เลือกคู่ครองผิดมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เลี้ยงลูกผิดเท่านั้น) และเมื่ออ่านแล้วท่านจะเข้าใจว่า ทำไมองค์กรแบบไทยๆทำไมมันยุ่งแบบนี้

ผมจะขอย่อๆให้อ่าน และขอเสริมลงไปด้วยดังนี้

เซลล์สมองที่เกี่ยวกับการย่อยกระตุ้นสิ่งต่างๆ จะก่อรูปใน 3 ปีแรกของชีวิต (น้ำหนักสมองจะมีขนาด 80% ของผู้ใหญ่ เมื่อตอน 3 ขวบ) โดยก่อสร้างเซลล์ ที่เปรียบได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นค่อยสร้างเซลล์แบบ Software คือ อารมณ์ ความมุ่งมั่น และความคิดสร้างสรรค์ เซลล์แบบนี้เวลาสร้าง หมอท่านว่า อย่าไปบังคับ ต้องปล่อยๆแบบเสรี

ดังนั้น ถ้า Hardware ไม่ดีตั้งแต่ต้นก็ยากหน่อยที่จะใช้ Software ดีๆได้

ถ้าเปรียบสมองเป็นรถยนต์ ถ้าในช่วง 3 ปีแรกนี้เลี้ยงดูไม่ดี สมองเด็กไทยอาจจะออกมาเป็นแค่รถยนต์ 1300 ซีซี ซึ่งสมองเด็กฝรั่งอาจจะเป็น 3000 ซีซี และถ้าในอนาคต เมื่อต้องปีนเขาสูงชัน รถคันไหนจะข้ามไปได้ก่อนกัน

ในหนังสือ “ กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” นี้ มีแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก 0-3 ขวบ มากมาย ซึ่งถ้าเราเลี้ยงเด็กผิดพลาด จะส่งผลให้แก้ไขยาก เช่น

    1. เด็กกินนมวัวที่ไม่มีการถ่ายทอดความรู้สึกที่ดีของมนุษย์ลงไป ฯลฯ
    2. แม่ที่ไม่ค่อยกอดลูก เป็นเรื่องผิดธรรมชาติของคนที่ต้องการความอบอุ่น ความไว้ใจ
    3. การอุ้มติดมือ (ลิงมันอุ้มลูกทั้งวัน) หรือนอนกับพ่อแม่ก็เป็นสิ่งดี โตขึ้นเด็กอาจจะโหดเหี้ยม อ้างว้าง ต้องการ โหยหาความอบอุ่นตลอดเวลา เจ้าชู้ ขี้หึง ขาดพรหมวิหาร 4 ฯลฯ

    4. ทุกครั้งที่ลูกร้อง ต้องขานตอบอย่าเงียบ เพราะสัตว์ในธรรมชาติเป็นแบบนั้น (ผมไม่ได้บอกคนเป็นสัตว์ แต่นี่คือธรรมชาติ)
    5. ที่บ้านใดที่คุยกันเสียงดัง โทรทัศน์ก็ดัง ฯลฯ มีผลการวิจัยพบว่า เด็กจะใช้ภาษาไม่เก่ง ไม่ค่อยฟังใครแบบตั้งใจ ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด เป็นต้น
    6. พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำให้เด็กก้าวร้าว คุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ สำนวนหยาบๆของพ่อแม่นั้น เด็กจะจำแบบฝังลงไปเลย เด็กแรกเกิดสามารถรู้ได้ว่า พ่อแม่ทะเลาะกัน
    7. อย่าพูดเสียงแบบเด็กๆกับเด็กๆ ขอให้พูดแบบผู้ใหญ่ เพราะเด็กไม่โง่ขนาดนั้น อย่าทำให้เด็กงง และเข้าใจภาษาผิดๆ พูดแบบผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กก็จะเป็นผู้ใหญ่
    8. ให้เด็กอยู่กับของใช้ที่เป็นธรรมชาติ เพราะเด็กที่เลี้ยงมากับธรรมชาติ เช่น การใช้ถ้วยชาม แก้ว เซรามิก ไม้ บ้านที่ใช้แสงธรรมชาติ สีธรรมชาติ เสียงธรรมชาติ ฯลฯ เมื่อโตขึ้นจะมีนิสัยที่ละเอียดอ่อน รอบคอบ มีสมาธิ และไม่กระโดกกระเดก ซุ่มซ่าม เหมือนเด็กที่มีแต่ของใช้ พลาสติก เมลามีน แสงจากไฟฟ้า เสียงจากทีวี ฯลฯ เพราะธรรมชาตินั้นมีความสุภาพและละเอียดอ่อน จึงเป็นการสร้างจิตวิญญาณที่ดีให้เด็ก ซึ่งพ่อแม่ไทยโบราณเลี้ยงลูกได้เข้าท่ากว่าพ่อแม่สมัยนี้ เพราะการเลี้ยงลูกสมัยใหม่เป็นแค่เลี้ยงให้ตัวโต ไม่ได้เลี้ยงจิตใจ
    9. เด็กที่เล่นของเล่นสำเร็จรูป เช่น เครื่องบิน รถ เรือ หุ่นยนต์ ฯลฯ โตขึ้นเด็กจะกลายเป็นคนเบื่อง่าย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ขาดจินตนาการ อย่าลืมว่า ของเล่นยิ่งเล่นง่ายเท่าไร Hardware สำหรับสมองด้านขวาที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ก็จะเล็กเท่านั้น สมองไม่ได้พัฒนาอย่างเสรี ดังนั้น ของเล่นที่ดีจะต้องเน้น “จินตนาการ” อาจจะเป็นก้อนหิน ผ้าหนึ่งผืน ใบไม้ ฝาหอย ดินปั้นที่ทำจากแป้ง และให้เด็กสมมติโน่นนี่ นอกจากนี้การเลี้ยงเด็กในห้องที่ว่างเปล่าไม่ดี เพราะเด็กจะไม่เก่ง เนื่องจากในธรรมชาติจริงๆหรือในป่านั้น มีเสียงมากมาย มีสิ่งของอะไรๆมากมาย นี่แหละคือ โลก ไม่ใช่ห้องในคอนโด ห้องแถว ฯลฯ การเลี้ยงลูกแบบนี้จะประหยัดเงินค่าของเล่นมาก ๆ แต่ควรพาเด็กเห็นของจริง ช้างจริง ม้าจริง ฯลฯ ด้วย เพราะเด็กจะเกิดความคิดเสรี กลับมาจินตนาการได้ อุปมาดังพวกข้าราชการหลายคนที่ไปดูงานต่างประเทศ ไปเห็นของจริงเมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว จำอะไรไม่ได้ ดูไม่เห็นอะไร มัวแต่ซื้อของ ถ่ายรูป ฯลฯ ก็เพราะข้าราชการพวกนี้ถูกเลี้ยงมาผิดๆ เช่นเดียวกับคนงานไทยหลายคนไปฝึกงานต่างประเทศ ซึ่งบางคนฝึกมาเป็นปี พอกลับมาไม่ได้ความคิด ไม่ได้จินตนาการกลับมาเลย หรือสงสารครูไทยสมัยใหม่ หลายคนที่พยายามสอนให้เด็กคิดเป็น ไม่เน้นให้เด็กจดหรือท่องจำมากมาย เพราะต้องการให้คิดเป็น แต่เด็กไปฟ้องพ่อแม่ว่า ครูขี้เกียจสอน แสดงให้เห็นว่า ทั้งเด็กและพ่อแม่ถูกเลี้ยงมาผิดๆนั่นเอง
    10. ในช่วง 0-3 ขวบ แม่ไทยควรจะอ่อนโยนต่อลูก ให้เข้าใกล้ธรรมชาติมากที่สุด และจะสอนอะไรก็สอน เด็กรับได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น การวาดสีน้ำแบบฟรีสไตล์ เด็กจะได้นิสัยความละเอียดอ่อน รอบคอบ (พ่อแม่ก็จะละเอียดอ่อน รอบคอบตามไปด้วย) การกิน การพูดเบาๆ เล่านิทาน เล่นละคร การรักสัตว์ การแบ่งปัน ว่ายน้ำ ฟังเพลงง่ายๆ หู พาไปดูของจริง การทำซ้ำๆ คือ กระตุ้นให้สนใจ เชื่อหรือไม่ว่าเด็กเล็ก เก่งพีชคณิตมากกว่าเลขคณิต รู้จักศัพท์สูงมากกว่าศัพท์ยากและสามารถที่จะสอนวินัย ความดี ความเลวได้ตังแต่ตัวน้อยๆ (สำคัญที่สุด การที่ยาย ย่า มาแทรกแซงการเลี้ยงแบบตามใจ เด็กไทยจะพังเพราะไม่มีวินัย ยายและย่าอาจทำลายชาติโดยไม่ตั้งใจ ด้วยประการนี้เอง ฯลฯ) ตอนก่อนเข้าอนุบาลควรตั้งใจถ่ายทอดเรื่องวินัยจากพ่อแม่สู่เด็กและปล่อยให้ เสรีตอนเข้าอนุบาลแล้ว (อยากเรียนอะไรก็ได้ เรียนตามอัธยาศัย ไม่เร่งเรียน เด็กเป็นศูนย์กลาง ฯลฯ) แต่พ่อแม่ไทยบ้าเลือดหลายคนดันปล่อยปะละเลยตอนต้น 0-3 ขวบ (เด็กนิสัยเสียไปแล้ว และ Hardware เล็กด้วยช้าด้วย โดยเฉพาะถ้ายายหรือย่ามาถือหางเด็ก หรือตามใจเด็กด้วยแล้ว ก็มีแต่พังกับพัง) แต่มายุ่งมาเข้มงวดกับเด็กตอนหลัง 7 ขวบไปแล้ว เพราะทำให้เด็กงง สับสน และไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ และก็มีแม่บางคน บ้าเลือดกว่า คือ เข้มงวด (ในสิ่งที่ไม่ควรเข้มงวด เช่น เขียนหนังสือ ท่องศัพท์ กวดวิชาเข้าอนุบาล ตั้งแต่เกิดไปตลอด จนลูกแต่งงานไปแล้ว ยังตามไปเข้มงวดก็มี แต่ที่ทั้งบ้าแกมโง่ที่สุด คือ ให้คนใช้หรือพี่เลี้ยงเลี้ยง
    11. พี่น้อง ยิ่งมากยิ่งดี มี ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ดี (ถ้าไม่ตามใจจนเกินเหตุ หรือถ้าไม่ทำให้ข้ออื่นที่กล่าวมาเสียหาย) เด็กๆได้เล่นกันเองมากๆ จะทะเลาะกันเอง ระหว่างเด็กไม่เป็นไร (ลูกลิง ลูกเสือ ลูกสิงโต กัดกันทั้งวันเลือดไม่ไหล)
    12. อื่นๆ เช่น การดูข่าว (ทีวีบางช่อง) เป็นการเสริมสร้างภาษาที่ถูก เรียนไวโอลิน สร้างสมาธิ ท่องกลอน ช่วยสร้างความจำ ถ้าเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะมั่นใจมาก และจะเก่งเรื่องอื่นๆตามมา ต้องหมั่นชม อย่าด่า อย่าห้าม ใช้วิธีหลอกไปทำอย่างอื่นแทน ของเล่นมากไปจะจับจด การออกกำลังกายทำให้พัฒนาสมอง ให้เดินมากๆ แม่ต้องเก่งวิชาการ ฯลฯ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้บริหารคงจะปิ๊งทันทีว่า ทำไม คนในองค์กรจึงมีอะไรประหลาดๆ ไม่ซ้ำแบบกัน จะสอน จะขอความร่วมมืออะไร มันยากแสนยาก จะให้คิดอะไรที ซื่อบื้อไปหมด แกล้งโง่ก็มี ฯลฯ นี่แค่อ่านพบว่า ตอนก่อนเข้าอนุบาล สมองเด็กไทยถูกทำลายอย่างไร พอท่านได้อ่านเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกหลังอนุบาลแล้ว จะพบว่าเด็กไทยโดนทำลายสมองอีกแบบหนึ่ง เศร้าใจจริงๆ ประเทศไทย สรุปแล้ว หาหนังสือ “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” มาอ่านเองนะครับ

การสร้างปัญหา หรือ หาปัญหา

ประเด็นหลักของเครื่องมือต่างๆ ในบทนี้ คือหาปัญหาให้พบ ถ้าไม่พบก็สร้างปัญหาขึ้นมาเอง เพราะ “ที่ใดมีปัญหา ที่นั่นจะต้องมีคนหาเงินกับปัญหานั้นได้” สินค้าและบริการหลายอย่างเกิดจากมีปัญหา หรือมีคนรำคาญ อะไรสักอย่าง ถ้าท่านอยากรวย ก็ต้องรีบหาปัญหา สินค้า บริการต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพราะปัญหา เมื่อมีปัญหาก็มีทุกข์ เมื่อมีทุกข์ก็ต้องหาทางดับทุกข์นั้นๆ สินค้าบริการต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดับ ”กิเลส” ของคนซื้อ ส่วนการที่จะดับได้ถาวรไหม มันเป็นเรื่องของคุณภาพในการดับ เช่น การที่มีเครื่องปรับอากาศก็เพราะมีคนบ่นว่าร้อน แต่จะดับร้อนได้สนิทไหม ขึ้นอยู่กับวิธีการดับ เป็นต้น

องค์กรที่น่ากลัวที่สุด คือ องค์กรที่บอกว่าตัวเองไม่มีปัญหา เช่น มหาวิทยาลัยดังๆ โรงเรียนดังๆ รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ฯลฯ ไม่ค่อยจะยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา เพราะหลงตนเองว่าเป็นเลิศ พวกนี้พัฒนายาก

คนไทยเราหลายคน เคยถูกครู พ่อแม่ ตี ตวาด มาแต่เล็กๆ ดังนั้น การกลัวปัญหา เป็นเรื่องที่ติดแน่นในอารมณ์ (Fixation) เช่น ลูกน้องไทยๆ ไม่ยอมบอกหัวหน้าว่ามีปัญหา ส่วนหัวหน้าหรือเจ้านายที่ EQ ต่ำ ก็ด่าก่อน สอนทีหลัง เรื่องมันก็เลยแย่กันใหญ่ ตอนหลังพนักงานจะหมกเม็ดเก่ง เข้าทำนอง “ข้าไม่บอกเอ็ง เพราะเอ็งชอบตวาดข้า โรงงานของเอ็ง ไม่ใช่ของข้า”

ในประเทศญี่ปุ่น บางบริษัทจะให้ลูกน้องหาปัญหามาวันละ 10 เรื่อง เขาต้องการแก้ปัญหา

ทุกวัน ช่วงแรกๆจะเจอปัญหาใหญ่ ตอนหลังๆจะเจอปัญหาเล็กลงเรื่อยๆ แต่วันไหนไม่มีปัญหา พนักงานจะโดนเรียกมาสอบถาม เพราะแสดงว่าพนักงานขาดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และความรู้เชิงวิชาการหมดแล้ว จึงหาปัญหาไม่พบ เป็นหน้าที่ของเจ้านายที่ต้องต่อเติมปัญญาให้พนักงานอีก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ไม่รีบแก้ ต่อมาจะเป็นความเคยชิน และกลายเป็น “ไม่เป็นไร” ประเทศไทยถึงได้ย่ำแย่อย่างนี้

คนที่หาปัญหาไม่เก่ง คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหา ดังนั้น ถ้าอยากมีปัญหา ต้องสร้างบรรยากาศ หรือ แสวงหา ”ปัญหา”ให้เป็น คำพูดที่ทำลายชาติ คือ “โนพรอมแพรม” ถ้าไม่เชื่อลองถามพนักงานดูว่า วันนี้มีปัญหาไหม พนักงานจะตอบว่า “โนพรอมแพรม” ท่านก็กุมขมับได้ พนักงานที่มีชีวิตอยู่ไปวันๆ มักจะไม่ทะเยอทะยาน เช่น แทนที่จะเปรียบเทียบเพื่อนร่วมงานเพื่อพัฒนา กลับเปรียบเทียบเพื่ออิจฉา และพูดมาก แทนที่จะวิเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานแก้ไขตัวเองและครอบครัวให้ดีขึ้น

พนักงานที่ทั้งวันอยู่แต่ในบริษัท หรือ ครูในโรงเรียน ที่พอตกเย็นๆก็อ่านแต่หนังสือพิมพ์แบบไม่คิด ดูแต่หนังน้ำเน่าไร้สาระ กินเหล้า เที่ยวเตร่ เล่นกีฬามากเกินไป คุยไปเรื่อยๆ คบแต่คนไร้สาระ มีคู่ครองที่ไม่ทะเยอทะยาน ฯลฯ คนพวกนี้จะไม่รู้ว่า “ปัญหา” คืออะไร เมื่อพวกเขาไม่รู้ว่ามีปัญหาก็ไม่มีการสร้างสรรค์ ผลงานที่ดีๆ ออกมา ทั้งต่อบริษัทและต่อชุมชนของเขาเอง

ฝรั่งเรียกคนพวกนี้ว่า พวก อิ๊ก นอแร้นท์ (Ignorant) หรือพวกคนหลังเขา คนหลังดอยเป็นต้น

เด็กฝรั่งถูกฝึกเรื่องการหาปัญหามากกว่าไทย เด็กฝรั่งจะมีการบ้านประเภท สร้างโจทย์เอง วิจัยเอง ค้นคว้ามากมาย ซึ่งเด็กไทยมีแต่ครูไทยป้อน วิทยากรที่มาสอนที่บริษัทก็มีจำนวนมาก ที่ไม่สนใจว่าผู้ฟังเป็นอะไร ต้องการอะไร ตะลุยโม้ไปเรื่อยจนหมดแผ่นใส การสอนแบบนี้เรียกกันว่า ตามใจผู้สอน (Teacher center) เป็นการสอนที่ผิดหลักคุณภาพ เพราะการสอนที่ดี ต้องเป็นแบบตามใจผู้ฟัง (Child center) ให้ผู้ฟังคิดเป็น

เครื่องมือที่ 1 เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น

การทำ Benchmark และการเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งที่ดีที่สุด

การเปรียบเทียบนั้นจะทำให้เรารู้ว่า เรามีจุดอ่อน (รู้ว่ามีปัญหานั่นเอง) ตรงไหน จะได้ปรับปรุงต่อไป อุปมาเช่น การที่ผัวมีเมียน้อย ทำให้เมียหลวงรู้จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง เช่น เลิกปากร้าย และเลิกเป็นปลาร้า ฯลฯ อุปมาเช่น การตีกอล์ฟ ออกรอบกับมืออาชีพ ทำให้รู้ว่าต้องแก้ไขอะไร

เครื่องมือที่ 2 จ้างที่ปรึกษา

การจ้างที่ปรึกษาเก่งๆ หรือนักวิชาการที่ทำนายเหตุการณ์เข้ามาเดินเล่น และมาสัมผัสกับบรรยากาศการทำงานของพวกเรา ที่ปรึกษาจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆได้ เพราะเป็นคนนอกที่สายตาไม่ลำเอียง และเห็นอะไรมาเยอะ (อาจจะเห็นของคู่แข่ง หรือต่างประเทศมาแล้ว) ให้ที่ปรึกษา กำหนดปัญหา เราจะได้นำไปแก้ไขเป็นต้น ป้องกัน และปรับปรุงต่อไป

เครื่องมือที่ 3 หาสัญญาณบอกเหตุร้าย

การอ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือ รับฟังข่าวสารจากสื่อต่างๆ ดูแนวโน้มต่างๆ คุยกับเพื่อน ผู้ใหญ่ นักวิชาการ ไปร่วมสัมมนา ฯลฯ เครื่องมือนี้ไม่ได้ห้าม ให้หาหมอดู ซินแส หรือนั่งทางใน แต่ระวังโดนหลอกนะครับ

เครื่องมือที่ 4 หาอะไรแปลกๆ จากแหล่งแปลกๆ

การอ่านหนังสือประเภทเพ้อฝัน อาจจะนำมาซึ่งแนวคิด ไอเดียดีๆได้เสมอ หรือดูรายการทาง Cable TV เช่น Discovery ดูโฆษณาต่างประเทศ อ่านอินเตอร์เนต ฯลฯ

ไปเปิดหูเปิดตา ไปดูงานต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ดีกว่าหรือแย่กว่า ประเทศที่ดีกว่าเราจะเห็นอนาคต เห็นแนวโน้ม ไปประเทศที่แย่กว่าเราจะเห็นสิ่งที่ต้องระวัง อย่าไปแย่อย่างนั้น หรือถ้ากำลังจะแย่อย่างไหน ตอนนี้ เราต้องทำอะไร

คนที่ปิดตัวเองมากๆ ไม่เสพข้อมูล ก็คือ กบในกะลาครอบ นั่นเอง

การตระหนักว่า นี่คือปัญหา

ในบทแรก ช่วยให้เราทราบว่าจะสร้าง หรือ ค้นหาปัญหาได้อย่างไร แต่ถ้าไม่ย้ำกันจริงๆแล้ว นี่มันปัญหา นี่มันสำคัญนะ พวกเราก็อาจจะปล่อยให้ปัญหานั้นผ่านไป

ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงงานอาหารกระป๋อง 2 แห่ง มีเจ้าของเป็นคนๆเดียวกัน โรงงานแรก อาเฮียบริหารเอง จ้างคนไทย จบปริญญาโท ดูแล โรงงานที่สอง อาเฮียเข้าหุ้นกับญี่ปุ่น ผมไปชมโรงงานแรกก่อน เพราะจะทำ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ให้ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ต่างชาติบังคับ ไม่เช่นนั้นเขาไม่ไว้ใจว่า สินค้าของเราสะอาด และปลอดภัยพอ

โรงงานที่คนไทยดูแล มีนักคิวซี 12 คน คนงาน 200 คน แต่ปัญหาของเสียมากมาย พอผมเจอหน้าผู้จัดการปริญญาโท (วิทยาศาสตร์ทางอาหาร อายุ 50 ปี) ถามว่าโรงงานเป็นอย่างไร แกมองหน้าอาเฮียแล้วบอกว่า “ไม่มีปัญหา โรงงานเรียบร้อยดี” แต่พอผมเดินดู ผมชี้ว่า ตรงนี้น้ำท่วมขังนะ เรียกว่า ไปตรงไหนมีปัญหา

ตอนบ่ายผมไปโรงงานที่สองของอาเฮีย พบหน้ามือเป็นหลังเท้า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นแค่ 2 คน คิวซีชาวไทย 6 คน พนักงาน 200 คน เท่ากัน สินค้าก็คล้ายกัน ผู้จัดการชาวญี่ปุ่นเจอหน้าผม บอกเลยว่า “โรงงานเรายังไม่ดี มีปัญหามากมาย อาจารย์เจออะไร บอกมาจะแก้เลย” พอเดินตรวจ ผมหาข้อบกพร่องได้น้อยมาก แต่ก็มี เช่น ไฟม่วงจับแมลงวันอยู่เหนือที่บรรจุหนึ่งที่เศษอาหาร พนักงานทำหล่นลงท่อ ฯลฯ ญี่ปุ่นจดกันใหญ่ และก็แก้ไขทันที

เรื่องที่เล่ามานี้ เป็นทั้งตัวอย่างของเครื่องมือที่ 2 และเพื่อจะทำให้เห็นความแตกต่างว่า ปัญหามันอยู่ที่ “ทัศนคติของคน” ชาวญี่ปุ่นคนนี้อยู่เมืองไทย เป็นปีที่สาม พูดไทยได้ จบเทคนิคไม่ได้จบปริญญาตรีด้วยซ้ำ แกไล่แก้ปัญหาทั้งโรงงานทั้งวัน รับสมัครคนงานเอง อาเฮียเจ้าของคนเดียวกันก่อนหน้านี้ ผู้บริหารญี่ปุ่น ห่วย ๆก็มี เฮียไล่กลับไปแล้ว เช่น ดูดบุหรี่ นอนดึก บ้ากอล์ฟ ฯลฯ แต่น่าสงสัยจริงๆ ทำไมอาเฮียไม่ไล่ ผู้จัดการไทยออก

สรรค์สร้างคุณค่าแห่งตน

คุณจะทำยังไงเมื่อรู้สึกว่าไม่ประ สบผลสำเร็จในการทำงาน ถูกปฏิ เสธ รู้สึกล้มเหลวกับตัวเองอย่าง สิ้นเชิง ขั้นแรกอาจรู้สึกเหมือนฝัน ร้ายและคงเศร้าพิลึกล่ะ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเจอกับปัญหา ดูเหมือน ว่าความยอมรับนับถือตัวเอง ความภูมิใจ ในตัวเองมันดิ่งวูบลงไปแทบ ติดดิน แต่ ทราบหรือไม่คะว่า ความภูมิใจในตัวเอง เป็นสิ่งที่มีบทบาท อย่าง สำคัญในการพา ตัวเอง ไปสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ หากมีความภูมิใจในตัวเองสูง สิ่งที่จะตามมาก็คือความ มั่นใจ ความสามารถในการทำงาน และเต็มใจที่จะมีความรับผิดชอบ

อยากมีความมั่นใจในตัวเองแล้วสิคะ เรื่องอย่างนี้ "สร้าง" กันได้ค่ะ การจะสร้างความภูมิใจใน ตัวเองก็ต้องเริ่มจาก "ลดการคิดในแง่ลบไปสู่การคิดเชิงบวก" พยายามบอกตัวเองว่า ฉันเป็นคน ดี แทนที่จะพูดแต่ว่า "ฉันมันเลว" อยู่ร่ำไป "ต้องเป็นคนที่เข้มแข็ง" ปฏิเสธที่จะปล่อย ให้ความล้มเหลวมาฉุดรั้ง เราให้ตกต่ำลง ไปอีก ต้องเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งทั้งร่างกาย และ จิตใจ ต้องทำให้ตัวเองดูดีและรู้สึกดี กับตัวเองด้วย "รู้จักแสดงความยินดี" เรียนรู้ ศิลปะแห่ง การแสดงความยินดีอย่างจริงใจ รู้จักให้ รู้จักรับ ใครให้ ของขวัญของกำนัลก็อย่า ลืมกล่าวขอบคุณ เสียบ้าง "มีความรับผิดชอบ" ทำอะไรลงไปก็ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น อย่าไปโทษ คนอื่นหรือสิ่งรอบตัว เหมือนอย่างเด็กนักเรียนชอบกล่าวโทษครูและระบบการศึกษาว่าทำให้ พวกเขาล้มเหลว ลองย้ำกับตัวเองแล้วทำซ้ำๆดูค่ะ ของแบบนี้มันสร้างกันได้ และผลที่ตามมา ก็คือชีวิตที่มีความสุขนั่นเอง.

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ทำได้ไม่จน : นายมานพ ภาระเปลื้อง

เดิมการปลูกข้าวในพื้นที่ราบลุ่มต่ำบริเวณรอบๆสวนไม้ผลและพริกไทยของเกษตรกรในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่เดิมเป็นดินทรายขาดอินทรีย์วัตถุ ดินมีความเป็นกรด pH 4.0 เกษตรกรปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำประมาณ 30-40 ถัง ต่อไหร่ ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นายมานพ ภาระเปลื้อง เกษตรกรในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่ทำกินอยู่ 14 ไร่ จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการปรับปรุงแปลงนา ทำการเกษตรตมแนวทางทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการแบ่งที่ดินตามการใช้ประโยชน์ กรมพัฒนาทิดินได้เข้าไปช่วยเหลือดำเนินการขุดสระน้ำเนื้อที่ 4 ไร่ เพื่อให้มีแหล่งน้ำไว้ใช้อย่างพอเพียงสำหรับพื้นที่การเกษตร และได้ยกร่องปลูกพืชผักหลายชนิดแบบผสมผสานพร้อมกับการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดปอเทือง ปลูกหญ้าแฝกรอบคันดินและปลูกพืชอายุสั้นเช่นฟักทองเป็นรายได้เสริมกับการปลูกแก้วมังกรและพริกไทยเป็นพืชหลัก เกษตรกรได้สมัครเข้ารับการอบรมวิชาความรู้การปรับปรุงบำรุงดินด้วยการเป็นหมอดินอาสาประจำอำเภอของกรมพัฒนาที่ดิน

พื้นที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่แบ่งเป็นพื้นที่ทำนาข้าว สระน้ำ 4 ไร่ พริกไทย 1 ไร่ แก้วมังกร 8 ไร่ บ่อเลี้ยงกบ และที่อยู่อาศัย 1 ไร่ บริเวณร่องสวนที่ยกร่องขึ้น ดินขาดอินทรียวัตถุและดินมีความเป็นกรดสูง จึงได้ใส่ปูนมาร์ลในอัตรา 1 ตันต่อไร่ ปลูกถั่วพร้า ทำปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด.1 ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากผลไม้ต่างๆจากสารเร่ง พด.2 และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชจากการหมักสมุนไพร ตะไค้รหอมด้วยสารเร่ง พด.7 เพื่อใช้สำหรับไล่แมลง ปลูกหญ้าแฝกและนำใบหญ้าปกคลุมร่องสวน ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชแต่จะใช้วิธีการตัดใบ และนำใบวัชพืชคลุมร่องสวน รดพืชที่ปลูกด้วยน้ำที่ผสมสารชีวภาพที่หมักเอง ดำเนินการตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอย่างเคร่งครัด และได้รับความเชื่อถือให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ

โดยทั่วไปแล้ว แก้วมังกรมีข้อดีคือ เป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ดีแม้ในดินเลว เช่น ดินเปรี้ยว เวลาผ่านไปประมาณ 8 เดือน ดินที่ปลูกหญ้าแฝก ใส่ปุ๋ยชีวภาพและฉีดน้ำหมักชีวภาพเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน มีหญ้าขึ้นเต็มผิวหน้าดินและเริ่มปลูกพืชอย่างอื่นได้ ให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แก้วมังกรขนาด 8 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 1,500 ค้าง ให้ผลผลิตประมาณ 4-5 ตันต่อปี มีต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ย 50 บาท ต่อค้างต่อปี ค่าวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและอื่นๆประมาณ 1,000 บาทต่อพื้นที่ 8 ไร่ต่อปี คิดเป็นต้นทุนการผลิตประมาณไร่ละ 9,500-10,000 บาทต่อปี มีรายได้จากการขายแก้วมังกรเฉลี่ยปีละ 80,000 – 110,000 บาทต่อปี ยังไม่นับรวมพืชผสมผสาน เช่น พริกไทย พืชอายุสั้น เช่น ฟักทอง และยอดผักอื่นๆปีละ 150,000 บาท




นายมานพ ภาระเปลื้อง
หมอดินอาสาประจำตำบลรำพัน
19/1 หมู่ 7 ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

จากหนังสือ “ภูมิปัญญาเกษตรอินทรีย์ตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง”
จัดทำโดย กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กันยายน 2549

พื้นฐานการใช้สถิติในงานวิจัย

ดย ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

พื้นฐานการใช้สถิติในงานวิจัย

(The Fundamentals of Statistical Application i Researc)
ความนำ

สถิติเป็นเครื่องมือทางวิชาการที่นักสถิติและนักวิชาการในสาขาต่างๆพัฒนา ขึ้นมา เพื่อใช้แสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในปรากฏการณ์ที่ต้อง การศึกษาด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันและใช้ร่วมกันอย่างกว้างขวางในโลก วิชาการ ไม่ว่าจะเป้นสังคมศาสร์ มนุษย์ศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามในากรนำสถิติมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ไม่ว่าจเพื่อการใด กล่าวคือ เพื่อการพรรณาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา / วิเคราะห์ (Unit of study or analysis) หรือพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา หรือ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร นอกจากผู้วิจัยจะต้องรู้ว่าตัวเองต้องการนำวิธีการทางสถิติมาใช้เพื่อการใด และประเภทของสถิติแล้ว ผู้วิจัยยังต้อง (1) รู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด (Levelof measurement) (2) สามารถกำหนดสถานภาพของตัวแปรที่จะศึกษาว่าปเนตัวแปรอิสระ (Independent variable) หรือเป็นตัวแปรตาม (Dependent variable) (3) รู้หลักการเบื้องต้นองการใช้สถิติ และ (4) รู้การนำเสนอ การอ่าน และการตีความหมายผล ความรู้ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญของการนำสถิติมาใช้ในการวิจัยมากกว่าการรู้จัก สูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าสถิติทดสอบหรือวัดความแตกต่างและความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร

อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสูตรที่แสดงการได้มาซึ่งสถิติทดสอบและวัด ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่พอจะใช้เป็นแนวทางในการทำความ เข้าใจเพิ่มเติม สามารถศึกษาจากตำราสถิติต่างประเทศทั่วไป

หลักการเบื้องต้นของการใช้สถิติ

ในการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องเก็บข้อมูลมาจำนวนหนึ่ง เพื่อศึกษาหาข้อสรุปในเรื่องหรือปรากฏการณ์ที่ศึกษาว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร (What is it?) และในหลายกรณีต้องการจะศึกษาเลยไปถึงการหาคำอธิบายว่า เรื่องหรือปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรืออะไรเป็นปัจจัยสาเหตุ สถิติเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจะสรุปผลจากข้อมูลที่มีจำนวนมาก ผู้วิจัยเพียงแต่ต้องรู้จักการใช้สถิติให้ถูกต้องเท่านั้น เมื่อนำสถิติมาใช้อย่างถูกต้องแล้ว ผู้วิจัยสามารถกล่าวได้หรือสรุปได้ว่า จากข้อมูลที่ได้สำรวจเก็บรวบรวมาโดยทั่วไปหรือโดยเฉลี่ยแล้วเรื่องหรือ ปรากฏการณ์ที่ศึกษามีคุณสมบัติอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยสาเหตุ ตามสภาพของข้อมูล และตามประเด็นวัตถุประสงค์ของการศึกษา

ในการที่จะได้ข้อสรุปดังกล่าว ได้มีนักวิชาการพัฒนาวิธีการทางสถิติที่นักวิจัยทุกสาขาวิชาการและวิชาชีพ สามารถนำมาใช้ได้ หากรู้นักสาระสำคัญในด้านวัตถุประงสงค์ของวิธีการและความต้องการด้านข้อมูล ตลอดจนวิธีการนำเสนอ วิธีการอ่าน และการตีความหมายผลที่ได้จากการนำวิธีการทางสถิตินั้นๆมาใช้

หลักการเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดของการใช้สถิติก็คือ ต้องใช้ให้ถูกต้องได้มาตรฐานสากล ซึ่งภายใต้หลักการดังกล่าวนี้ วิธีการใชเที่ถูกต้องได้มาตรฐานสากล จะต้อง (ก) หลีกเลี่ยงการเสนอที่ซ้ำซากโดยเสนอให้น้อยที่สุด แต่สิ่งที่เสนอต้องสื่อความให้ได้มากที่สุดหรือครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวของมัน เอง (ข) ทำการเสนอที่ได้รูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการที่นักวิชาการระดับสากลใช้กัน ในวงการวิจัย (ค) ทำการอ่านผลค่าสถิติต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และ (ง) ทำการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ในเบื้องต้นจะครอบคลุมเฉพาะ 2 ประเด็นแรก

การเสนอที่ไม่ซ้ำซาก โดยเสนอให้น้อยที่สุด แต่ต้องสื่อความให้ได้มากที่สุดหรือครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวของมันเอง นักวิจัยมือใหม่หรือนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สถิติสำหรับการวิจัยที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่มีการนำไมโครคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น SPSS , SAS หรือ STATPACK หรือ BMDP และให้ผลการวิเคราะห์ที่มีค่าสถิติต่างๆมากมาย ซึ่งหลายๆส่วนแสดงถึงขั้นตอนสำคัญหรือข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการคำนวณเพื่อให้ ได้มาซึ่งค่าสถิติต่างๆที่จำเป็น แต่ผู้วิจัยมือใหม่หรือนักศึกษาที่ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการใช้สถิติ กลับนำผลดังกล่าวทั้งหมดมาเสนอในรายงานวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพาะสถิติหลายตัวที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่จำเป็นและซ้ำซาก โดยนักศึกษาหรือผู้วิจัยมือใหม่ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าไม่จำเป็นและซ้ำซาก

ในยุคสมัยก่อนไมโครคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยจะต้องคำนวณค่าต่างๆด้วยมือ และเมื่อได้ค่าสถิติมาแล้ว ผู้วิจัยจะรู้ด้วยตัวเองว่าสถิติที่ได้มานั้นเป็นสถิติขั้นตอนใด และสถิติใดควรนำเสนอเมื่อได้ นำเสนอค่าสถิติตัวใดไปแล้ว ผู้วิจัยจะจำได้ว่าเสนออะไรไปบ้าง และเสนอไว้ในที่ใด ในปัจจุบันการหาค่าสถิติต่างๆ เมื่อไม่ได้คำนวณด้วยมือและใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ความรู้ความเข้าใจและความทรงจำต่างๆดังกล่าวอาจจะไม่มี ก่อให้เกิดการเสนอที่ไม่ถูกต้องและซ้ำซากได้

(1) การเสนอข้อมูล / ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ซ้ำซาก (ซึ่งทางภาษาอังกฤษเรียกว่า Redundancy) มีความหมายอยู่ 2 ระดับ คือ (1) ซ้ำซากอย่างชัดเจน และ (2) ซ้ำซากอย่างไม่ชัดเจน

การเสนอซ้ำซากอย่างชัดเจน คือ การเสนอข้อมูลตัวเดียวกันมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป เช่น ได้นำเสนอขั้นตอนของการพรรณาระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ว่าได้เก็บตัวอย่างมาเท่าใด และกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะอย่างใดมาแล้ว เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริม หรือ กลุ่มอายุ กลุ่มระดับการศึกษาของเกษตรกรว่าในแต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่าใด คิดเป็นร้อยละเท่าใดมาแล้ว ผู้วิจัยกลับนำเสนออีก ในขั้นตอนการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเช่น เสนอในตารางไขว้ (Cross-tabulation table) หรือในการวิเคราะห์ความผันแปร (Analysis of VAriance, Anova) ว่าแต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการเสนอซ้ำซาก เพราะได้เสนอไว้ส่วนที่ว่าด้วยระเบียบวิธีการวิจัยมาแล้ว ยังกลับนำมาเสนออีกในขั้นวิเคราะห์

อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจะต้องมีการนำเสนอใหม่ แต่ต้องมีเหตุผลที่ดี เช่น ในการวิเคราะห์ความผันแปร (Analysis of Variance, ANOVA) อาจจะต้องมีการเสนอจำนวนยอดรวมของแต่ะกลุ่มที่ต้องการเปรียบเทียบ (แม้ว่าจะได้นำเสนอมาแล้วในการพรรณนาระเบียบวิธีวิจัยว่าแต่ละกลุ่มที่ต้อง กรเปรียบเทียบมีจำนวนเท่าใด) ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละกลุ่มที่ต้องการเปรียบเทียบมีจำนวนมาก เพียงพอ ปัญหาก็คือ อย่างไรจึงจะถือว่ามีจำนวนมากเพียงพอ

การมีจำนวนมากเพียงพอ ขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันของประชากรเป้าหมาย ถ้าประชากรเป้าหมายมีความคล้ายคลึงกันมาก จำนวนตัวอย่างไม่จำเป็นต้องมีมาก เช่น 20-30 รายก็อาจจะเพียงพอ แต่ถ้าประชาชนมีความแตกต่างมาก จำนวนตัวอย่างที่จะเป็นตัวแทนของประชากรในแต่ละกลุ่มย่อยจะต้องมากกว่าใน กรณีที่ประชากรเป้าหมายมีความคล้ายคลึงกันมากกว่า

ความซ้ำซากที่ไม่ชัดเจน คือ ผู้วิจัยที่ขาดประสบการณ์ หรือขาดความประณีตหรือความระมัดระวัง หรือขาดความรู้ความเข้าใจว่า ความซ้ำซากที่ไม่ชัดเจนนั้นคืออะไร นำเสนอสถิติที่ได้จากการวิเคราะห์ที่ไม่จำเป็น เพราะเสนอบางส่วนก็เพียงพอแล้ว ส่วนอื่นๆไม่ต้องนำมาเสนอ ซึ่งตรงกับหลักการที่ว่าเสนอให้น้อยที่สุด แต่สิ่งที่เสนอจะต้องสื่อความให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ดังที่จะได้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างในส่วนต่อไป

การเสนอให้น้อยที่สุดแต่ต้องสื่อความให้ได้มากที่สุด เป็นหลักการที่สำคัญที่อาจครอบคลุมหรือแก้ปัญหาการเสนอซ้ำซากได้ ปัญหาคือ การเสนออย่างไรถึงเรียกว่าการเสนอที่น้อยที่สุด ๆ คือการเสนอสิ่งที่จำเป็น ต้องนำเสนอโดยไม่มีอะไรที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นของแต่ละวิธีการทางสถิติจะแตกต่างกัน ตัวอย่างที่นำเสนอในขั้นต้นนี้เป็นสถิติพรรณนาที่นำมาสรุปคุณสมบัติของ ประชากรเป้าหมาย เช่น เพศ และการศึกษา ในตาราง 1.1 ซึ่งน้อยกว่าสิ่งที่ได้จากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหลายเท่าตัว

ตาราง 1.1 เพศและการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง

เพศ / การศึกษา

จำนวน

อัตราส่วนร้อยละ

เพศ
ชาย

80

44.4
หญิง
100

55.6
รวม
180

100.0
ระดับการศึกษา
ประถมและต่ำกว่า
126

70.0
มัธยมศึกษา
27

15.0
อาชีวะศึกษา
23

12.8
ปริญญาตรีและสูงกว่า
4

2.2
รวม
180

100.0


ถึงกระนั้นจะเห็นได้ว่าตาราง 1.1 เสนอว่าตัวอย่างที่เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษาทั้งหมด 180 ราย ซ้ำถึง 2 ครั้ง ซึ่งมากเกินไป ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องเสนอ (1) จำนวนรวมของแต่ละตัวแปรอีกว่าเป็น 180 ราย และ (2) จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อย เช่น เพศ และแต่ละระดับการศึกษา ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยได้เสนอไว้ในส่วนที่ว่าด้วยระเบียบวิธีว่าได้สุ่มตัว อย่างมาทั้งหมดกี่รายและได้แสดงจำนวนในแต่ละกลุ่มย่อยว่าในส่วนที่ว่าด้วย ระเบียบวิธีวิจัยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมาแสดงอีก

นอกจากนั้น เมื่อได้มีการเสนออัตราส่วนร้อยละของแต่ละกลุ่มย่อยและทราบยอดรวมของตัว อย่างแล้ว หากต้องการทราบว่าจำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยว่าเป็นเท่าใด ก็สามารถหาได้โดยการเอาจำนวนรวมทั้งหมดคูณกับอัตราส่วนร้อยละของแต่ละกลุ่ม ย่อย จะได้จำนวนของแต่ละกลุ่มย่อย จากตาราง 1.1 อัตราส่วนร้อยของตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงคือ 44.4 และเพศชาย คือ 55.6 เมื่อตัวอย่างทั้งหมดเท่ากับ 180 เพราะฉะนั้นจำนวนตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง คือ 44.4 x 180 ดังนั้น หากยึดหลักการเสนอให้น้อย ก็ต้องไม่เสนอคอลัมภ์แสดงจำนวน

สำหรับตัวแปรที่มีแค่ 2 กลุ่มย่อย ดังเช่น เพศ หรือการตัดสินใจจะซื้อหรือไม่ซื้อ การสนใจหรือไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ การเสนออัตราส่วนร้อยละวาแต่ละกลุ่มย่อยมีเท่าใด ทั้ง 2 กลุ่มก็ยังไม่ตรงกับหลักการที่ว่าเสนอให้น้อยที่สุดและสื่อความให้มากที่สุด หากจะเสนอให้น้อยทีสุดและยังสื่อความได้มากที่สุด จะต้องเสนอเพียงอัตราส่วนร้อยที่เป็นเพศหญิงอย่างเดียวหรือเพศชายอย่าง เดียวเท่านั้น เพราะเป็นที่แน่นอนว่า เมื่อทราบว่า เพศหญิงมีร้อยละ 44.4 ของประชากรที่ศึกษา ที่เหลือ 55.6 ก็ต้องเป็นเพศชาย แต่หากข้อมูลเป็นหลายกลุ่มตัวอย่าง เช่น ระดับการศึกษา การเสนอเพียงกลุ่มย่อยเพียงกลุ่มเดียวไม่เพียงพอ ต้องเสนอทุกกลุ่มย่อย จึงจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

เมื่อปฏิบัติตามหลักการทั้ง 2 ข้อดังกล่าว จะได้ตารางแสดงคุณสมบัติของตัวอย่าง ในด้านเพศและการศึกษาดังตาราง 1.2

จะเห็นได้ว่า ตาราง 1.2 มีข้อมูลน้อยกว่า ตาราง 1.1 มาก แต่ให้สารสำคัญที่สมบูรณ์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ส่วนจำนวนตัวอย่างเป็นตัวเลขที่ไม่สื่อความหมายอะไรมากมาย เพราะหากเราสุ่มตัวอย่างมามาก จำนวนในแต่ละกลุ่มย่อยก็จะมากตามไปด้วย ที่สำคัญกว่าคือ อัตราส่วน ว่าผู้ที่เป็นตัวอย่างของการศึกษา เป็นเพศใดมากกว่ากัน จบการศึกษาระดับใดในสัดส่วนเท่าใด

ตาราง 1.2 เพศและการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง (180 ราย)

เพศและการศึกษา อัตราส่วนร้อย
เพศ : หญิง 44.4
ระดับการศึกษา
ประถมและต่ำกว่า 70.0
มัธยมศึกษา 15.0
อาชีวะศึกษา 12.8
ปริญญาตรีและสูงกว่า 2.2


ในด้านรายละเอียดจะเห็นว่า มีการระบุจำนวนรวมของตัวอย่าง (180 ราย) ไว้ท้ายชื่อตาราง และไม่มีการระบุยอดรวมของอัตราส่วนร้อยละว่าเท่ากับ 100.0 (ทั้งนี้เพราะหากรวมอัตราส่วนร้อยละของทุกกลุ่มย่อยระดับการศึกษาแล้ว จะเท่ากับ 100.0 พอดี) เพราะเป็นการเสนอซ้ำซาก อย่างไรก็ตามยังมีนักวิชาการจำนวนมากที่ยังคงแสดงยอดรวม (100.0) ของอัตราส่วนร้อยละไว้ในรายงานผลการวิเคราะห์ ซึ่งก็ไม่ถือว่าซ้ำซากมากจนเกินเหตุ เพราะต้องการยืนยันว่ายอดรวมของอัตราส่วนร้อยของแต่ละกลุ่มย่อยเท่ากับ 100.0 และเป็นเรื่องของรสนิยมและความไม่มั่นใจในตนเองของผู้วิจัยว่า ผู้อื่นจะเข้าใจในสิ่งที่ตนเองเสนอหรือไม่ หรือยังอาจติดอยู่กับวิธีการดั้งเดิมที่ทำกันมา

เนื่องจากสถิติสำหรับการวิจัยนั้นใช้สำหรับการสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากโดยไม่ให้เกิดการซ้ำซากและให้น้อยที่สุด แต่ต้องสื่อความให้ได้มากที่สุด ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ รูปแบการเสนอผลต้องได้มาตรฐานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับกันในวงการวิชาการ ปัญหาคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า มาตรฐานทางวิชาการเป็นสากลนั้นเป็นอย่างไร

มาตรฐานทางวิชาการ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยจะขาดเสียมิได้ ดังนั้น เมื่อผู้ทำการวิจัยจะนำวิธีการทางสถิติใดมาใช้ ต้องศึกษาให้รอบคอบว่า นักวิชาการระดับระหว่างประเทศใช้กันอย่างไร โดยต้องพิจารณาตั้งแต่การเริ่มต้นของวิธีนำเสนอระเบียบวิธีของเทคนิคการ วิเคราะห์นั้นๆ ไปจนถึงขั้นการเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ การอ่านผล และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์

สิ่งต่างๆเหล่านี้ ผู้วิจัยสามารถศึกษา ตรวจสอบ และเรียนรู้ได้ จากบทความวิจัยที่เสนอในวารสารทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งารสารทางวิชาการที่จำหน่ายข้ามประเทศ เนื่องจาวารสารไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานสากล เพราะไม่มีกองบรรณาธิการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ทรงคุณวุติอยู่ ในกองบรรณาธิการ ส่วนมากเป็นแต่เพียงในนาม ไม่มีการปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบ ในบางครั้งบรรณาธิการของวารสารบางมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นระบบการหมุนเวียนมากกว่าระบบแสวงหาผู้ที่ทรงความรู้อย่างแท้จริงมาเป็น บรรณาธิการ ผู้เขียนผ่านการรับราชการในหลานมหาวิทยาลัยของรัฐ ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบวารสารและบรรณาธิการของวารวารในมหาวิทยาลัย ไทยเป็นอย่างดีด้วยประสบการณ์ของตนเอง อีกทั้งเป็นผู้ทำงานวิจัยอยู่ตลอดเวลาและได้รับการติดต่อขอบทความไปลงใน วารสารต่างๆที่ต้องการให้มีบทความจากนักวิชาการที่เชื่อถือได้ปะปนอยู่บ้าง

ในการหามาตรฐานทางวิชาการ จากวารสารต่างประเทศ ผู้ที่จะนำเทคนิคทางสถิติเทคนิคหนึ่งใดมาใช้ จะต้องศึกษาจากหลายๆบทความที่ใช่เทคนิคนั้น ๆ เพื่อจะได้ดูว่ามีสิ่งใดที่นักวิชาการทุกคนใช้ร่วมกันเมื่อใช้เทคนิคนั้น และสิ่งที่นำเสนอแตกต่างกัน การศึกษาในลักษณะดังกล่าวจะทำให้เราทราบว่า เมื่อจะนำเทคนิคทางสถิตินั้นๆาใช้ (1) สิ่งใดที่ต้องนำเสนอ และ (2) สิ่งใดที่อาจจะเสนอเพิ่มเติมได้

สำหรับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ของแต่ละวิธีที่ได้นำเสนอในบทนี้ เป็ฯสิ่งที่ผู้เขียนได้ศึกษาตืดตามบทความวิจัยที่ใช้เทคนิคแต่ละวิธีมาเป็น ระยะเวลานาน จากวารสารในวงการวิชาการต่างๆ จนเห็นชัดเจนว่าการนำเสนอที่เป็นมาตรฐานว่าจะต้องนำเสนออะไรบ้าง และสิ่งที่อาจจะเสนอเพิ่มเติมนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งผู้เขียนไม่สามารถนำมาแสดงให้ดูเป็นรายๆบทความได้ เพราะมีมากมายเกินกว่าจะนำมาเสนอให้เห็นความแตกต่างในรายละเอียดได้ใน เอกสารนี้ได้ และหากนำเสนอมากมายหลายตัวอย่าง อาจมีการนำไปตีความเป็นอย่างอื่นได้

ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ก่อนที่ผู้จัยจะนำวิธีการทางสถิติใดมาใช้ ผู้วิจัยจะต้องทราบถึงประเภทของข้อมูลหรือตัวแปรที่จะนำมาใช้กับวิธีการทาง สถิตินั้นๆ เสียก่อน หากขาดความรู้ความเข้าข้าใจในประเภทของตัวแปร ผู้วิจัยอาจจะใช้วิธีการทางสถิติที่ผิดๆมาใช้โดยไม่รู้ว่าตัวเองนั้นใช้ สถิติไม่เป็น

ประเภทของข้อมูลหรือตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ (1) ประเภทของตัวแปรตามระดับการวัด และ (2) ประเภทของตัวแปนตามบทบาทของตัวแปร

ตัวแปรตามระดับของการวัด

ในวงการวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ ตัวแปรที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ (Units of Analysis) หรือหน่วยศึกษา (Units of study) หากหน่วยวิเคราะห์เป็นระดับบุคคล คุณสมบัติของบุคคลก็จะเป็นตัวแปรต่อเมื่อมีการผันแปร หากหน่วยวิเคราะห์เป็นกลุ่ม คุณสมบัติของกลุ่มก็จะเป็นตัวแปร หากหน่วยวิเคราะห์เป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือประเทศ คุณสมบัติของหมู่บ้านต่างๆ ตำบลต่างๆ อำเภิอต่างๆ จังหวัดต่างๆ หรือประเทศต่างๆ จะเป็นตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ศึกษาได้

อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องมั่นใจหรือพอจะคาดคเนได้ว่า คุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์หรือหน่วยศึกษา (ไม่ว่าจะเป็นบุคคล กลุ่ม หรือพื้นที่ หรืออื่นๆ) นั้น จะต้องมีการผันแปร เช่น เพศ ซึ่งปเนคุณสมบัติของบุคคล ผู้วิจัยจะต้องแน่ใจว่าหากจะนำเพศมาเป็นตัวแปรในการวิจัย บุคคลต่างๆที่เป็นหน่วยศึกษาจะต้องมีเพศแตกต่างกันไม่ใช่มีเฉพาะเพศหญิง หรือเพศชาย เพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น หรือการศึกษาซึ่งเป็นคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นหน่วยศึกษามาเป็นตัวแปร ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่าในกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายของการศึกษาหรือกลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการศึกษาต้องมีการศึกษาแตกต่างกัน จึงจะเป็นตัวแปรได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวคงที่ (Constant)

ในด้านระดับการวัด ลักษณะ คุณสมบัติของหน่ววิเคราะห์อาจแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ตามลักษณะของรายละเอียดการวัดคุณสมบัติและตามลักษณะของคุณสมบัติของหน่วย วิเคราะห์เอง

ตัวแปรกลุ่ม : คุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์บางคุณสมบัติ เช่น เพศของบุคคล ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เราแบ่งบุคคลออกเป็นเพศหญิงและเพศชาย ตามลักษณะโดยกำเนิด เราไม่มีเพศอื่นอีกโดยธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการแจกแจงนับบุคคลที่แปลงเพศให้เป็นเพศที่สาม หรือเขตที่อยู่อาศัย (ในกรุง้ทพมหานคร นอกกรุงเทพมหานคร) เมื่อนำหน่วยวิเคราะห์มาจำแนกตามเพศ หรือตามเขตที่อยู่อาศัย เราจะได้เป็น (กลุ่ม) บุคคลที่เป็นเพศชาย / เพศหญิง หรือ (กลุ่ม) บุคคลที่อาศัยอยู่ในและที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร คุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นในวงการวิจัย เรียกว่า ข้อมูล/ ตัวแปรกลุ่ม หรือตัวแปรที่มีระดับการวัดในวงวิชาการวัด เรียกว่า นามมาตร ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Nominal data ซึ่งถือเป้นระดับการวัดที่ต่ำที่สุด เพราะทราบแต่เเพียงว่าแตกต่างกันในด้านคุณสมบัติ เช่น เพศและเขตที่อยู่อาศัย แต่ไม่ทราบว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ในวงการวิจัย ตัวแปร/ข้อมูลที่มีคุรสมบัติทางด้านการวัดในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ตัวแปร/ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) เพราะไม่สามารถวัดปริมาณความแตกต่างได้

ตัวแปรอันดับ : ตัวแปร /ข้อมูลที่มีระดับการวัดสูงขึ้นมา คือ ตัวแปรที่สามรถวัดความแตกต่างได้ระดับหนึ่ง แม้จะไม่ทราบปริมาณความแตกต่างที่แน่นอนได้ เช่น กลุ่มอายุ อาจแบ่ง อายุมาก อายุน้อย แต่ไม่ทราบว่าคนในกลุ่มอายุมากมีอายุมากกว่าคนในกลุ่มอายุน้อยเท่าใด หรือเรื่องรายได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น รายได้สูง รายได้ปานกลาง รายได้น้อย เราไม่ทราบว่าคนในกลุ่มรายได้สูงมีรายได้เท่าใด มากกว่าคนในกลุ่มรายได้ปานกลางเท่าใด หรือคนในกลุ่มรายได้ปานกลาง มีรายได้มากกว่าคนในกลุ่มรายได้น้อยเท่าใด ตัวแปร/ข้อมูลที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ เรียกว่า ตัวแปร/ ข้อมูลอันดับ (Ordinal data)

จะเห็นได้ว่า แม้ว่าเราจะสามารถจัดอันดับว่าะไรมาก่อนมาหลังได้ แต่เราก็ยังไม่สามารถทราบปริมาณ หรือความห่าง (Interval) ว่า แต่ละหน่วยวิเคราะห์ห่างกันหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดในคุณสมบัติที่นำ มาศึกษา ตัวแปรที่มีการวัดเชิงอันดับ จึงจัดอยู่ในประเภทของกลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

สิ่งที่พึงสังเกตคือ เมื่อนำข้อมูล/ ตัวแปรมาใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ จะต้องอาศัยตัวเลขเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะไม่สามรถเอาวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์ตัวอักษรได้ ยกเว้นแต่จะแปลงตัวอักษรให้เป็นตัวเลขเสียก่อน ดังนั้น ก่อนจะนำมาวิเคราะห์จึงมีการให้ตัวเลขหรือรหัส (Code) กำกับตัวแปรกลุ่มหรือตัวแปรอันดับเสียก่อน

ในกรณีของข้อมูลกลุ่ม เช่น เพศ อาจมีการให้รหัสดังนี้ เพศหญิง = 1 เพศชาย = 2 หรืออาจเป็น เพศหญิง = 1 และเพศชาย = 0 หรือในกรณีของข้อมูลอันดับเช่น มาตรวัดความพึงพอใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 อันดับ คือ พอใจมาก พอใจ เฉยๆ ไม่พอใจ ไม่พอใจเลย อาจมีการให้รหัสดังนี้ พอใจมาก = 5 พอใจ = 4 เฉยๆ = 3 ไม่พอใจ = 2 และไม่พอใจเลย = 1 แต่เราอาจจะให้รหัสอื่นก็ได้ เช่น พอใจมาก = 8 พอใจ = 6 เฉยๆ = 4 ไม่พอใจ = 3 และไม่พอใจเลย = 2 จะเห็นได้ว่าตัวเลขเหล่านี้ปเนเพียงสิ่งที่นำมาแทนลักษณะของตัวแปรเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเลขที่จะนำมาบวกลบ คูณ หาร เชิงเลขคณิตได้ เพราะค่าที่ได้ออกมาไม่มีความหมายแน่นอนเชิงคณิตศาสตร์ และขึ้นอยู่กับรหัสตัวเลขที่ผู้วิจัยใช้กำหนดแทนลักษณะนั้นๆ ของตัวแปร ซึ่งมิใช่ค่าที่แท้จริงของคุณสมบัติ ซึ่งไม่สามารถกำหนดเชิงปริมาณได้จากลักษณะของการวัดที่นำมาใช้กับตัวแปร นั้นๆ

ตัวแปรช่วง : สำหรับตัวแปรที่มีระดับการวัดสูงขึ้นมา ที่ใช้กันในวงการวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ สามารถวัดปริมาณความแตกต่างได้ เช่น คะแนนผลการศึกษา (ที่มีคะแนเต็ม 100 หรือ 10) คะแนนความพึงพอใจ (ที่มีการให้คะแนนเต็ม 100 หรือ 10) คะแนนความขยัน อุณหภูมิที่วัดเป็นเซลเซียสหรือฟาเรนต์ไฮต์ ซึ่งเราสามรถนำคะแนนที่แตกต่างกันมาลบกันได้ ทำให้ทราบถึงปริมาณหรือความห่าง (Interval) ของความแตกต่างได้ ตัวแปรที่มีลักษณะดังกล่าวนี้เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variables) ซึ่งตัวแปรที่มีการวัดในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นตัวแปรช่วง (Interval variables) ตัวเลขที่เป็นรหัสของตัวแปรที่มีการวัดระดับนี้สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร เชิงเลขคณิตได้

สิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้วาตัวเลขที่เป็นคะแนนเหล่านี้ จะบอกปริมาณความแตกต่างที่ได้จากการวัดได้ แต่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนขึ้นอยู่กับเครื่องวัดหรือผู้ที่ทำการวัดปเนสำคัญ เช่น ครู 3 คน อาจให้คะแนนคำตอบของนักศึกษาคนเดียวแตกต่างกัน แม้ว่าจะมีคะแนนเต็มที่ให้เท่ากัน ครูบางคนอาจให้ 5บางคนอาจให้ 8 บางคนอาจให้ 6 ทั้งที่เป็นคำตอบของนักศึกษาคนเดียวกัน แสดงว่าครูซึ่งเป็นมาตรวัดความรู้ของนักศึกษาใช้หรือมีมาตรฐานในการให้ คะแนนแตกต่างกัน

ตัวแปรอัตราส่วน : ตัวแปรหรือข้อมูลที่มีคุณสมบัติสูงกว่านั้นคือ ตัวแปรที่ให้ผลการวัดที่มีมาตรฐานสากลเชิงเปรียบเทียบ เช่น น้ำหนัก ความยาว ส่วนสูง มีมาตรฐานสากลเปรียบเทียบใช้ได้ทุกแห่งหน ถ้าเครื่องมือวัดเมื่อเปรียบเทียบแล้วได้สัดส่วนกับมาตรฐานสากล ค่าที่ได้ออกมาจะเท่ากันหมด มาตรวัดเหล่านี้จะมีจุดเริ่มต้นเท่ากัน คือ เริ่มจาก 0 เมื่อเป็นตัวเลขอัตราส่วน ถ้าตัวตั้งมีค่าเป็น 0 เมื่อหารด้วยตัวหารใด ก็จะมีค่าเป็นศูนย์ เสมอ

ในวงการวัด เรียกมาตรวัดดังกล่าวว่า มาตรวัดอัตราส่วน (Ratio scale) เนื่องจากผลที่ได้จากการวัดสามารถระบุปริมาณความแตกต่างได้แน่นอน เช่น น้ำหนัก 52 กิโลกรัมมากกว่าน้ำหนัก 48 กิโลกรัม 4 กิโลกรัมแน่นอน ตัวแปรที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variables)

ตัวแปรตามบทบาท

ในการนำสถิติมาใช้ในการวิจัย นอกจากจะต้องคำนึงถึงระดับการวัดของตัวแปรแล้ว จะต้องคำนึงถึงบทบาทของตัวแปรด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการวิเคราะห์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป

บทบาทของตัวแปรในการวิจัย สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 บทบาท คือ การเป็นตัวแปรอิสระ (Independent variables) การเป็นตัวแปรตาม (Dependent variables) และการเป็นตัวแปรควบคุม (Control variables) ในที่นี้จะขอกล่าวถึงตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเท่านั้น

คุณสมบัติที่สำคัญของการที่ตัวแปรตัวหนึ่งจะเป้นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม จะต้อเปรียบเทียบกับอีกตัวแปรหนึ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ศึกษาร่วมกันโดย อาศัยหลักการคิดง่ายๆ เกี่ยวกับความเป็นเหตุ และความเป็นผล กล่าวคือ สิ่งที่เป็นสาเหตุจะต้องเกิดขึ้นก่อนสิ่งที่เป็นผลเสมอ การส่งเสริมให้เกษตรกรทำไร่นาสวนผสมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปลูกพืช หลากหลายในไร่นาของเกษตรกร การส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสมจึงเป็นตัวแปรอิสระ เพราะเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปลูกพืชหลากหลายในไร่ นาของเกษตรกร แต่หากการปลูกพืชหลากหลายในไร่ของเกษตรกร เกิดขึ้นก่อนการรณรงค์ส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม การส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสมก็ไม่ใช่ตัวแปรอิสระ เพราะไม่ใช่สาเหตุของการที่เกษตรกรปลูกพืชหลากหลายในไร่นาของตน

นอกจากมิติในด้านเวลาแล้ว ในวงการวิจัยสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ในบางครั้งไม่อาจกำหนดได้แน่นอน ว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเก็บข้อมูลมาศึกษานั้น เก็บข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ในวงการประชากรศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัวกับการมีบุตร ที่ถามคู่สมรสเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการมีบุตร จะเป็นการยากที่จะกำหนดว่าอะไรเป็นตัวแปรอิสระและอะไรเป็นตัวแปรตาม แม้ว่าในเชิงทฤษฎีและแนวคิด จะบ่งชี้ไปในทางที่ว่า การวางแผนครอบครัวทำให้คนมีลูกมากลูกน้อยได้ตามที่ต้องการ การวางแผนครอบครัว จึงน่าจะเป็นตัวแปรสาเหตุหรือตัวแปรอิสระ และการมีลูกมากลูกน้อยน่าจะเป็นตัวแปรผลหรือตัวแปรตาม แต่ในเชิงพฤติกรรมอาจเป็นไปได้ว่า การมีลูกเป็นตัวแปรสาเหตุของการวางแผนครอบครัว คนจะไม่วางแผนครอบครัวจนกว่าจะมีลูกมากหรือได้จำนวนครบตามที่ต้องการแล้ว หากผู้วิจัยสามารถกำหนดเวลาว่าตัวแปรใดเกิดขึ้นก่อนตัวแปรใด แลล้วก็จะสามารถระบุได้ว่าอะไรควรเป็นตัวแปรอิสระและอะไรควรเป็นตัวแปรตาม

สิ่งที่พอจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ว่าอะไรควรจะเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงเชิงเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร สิ่งที่เปลี่ยนยากกว่าควรเป็นตัวแปรอิสระ และสิ่งที่เปลี่ยนง่ายกว่าควรเป็นตัวแปรตาม เช่น เพศกับทัศนคติ เพศเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าทัศนคติ เพศจึงควรเป็นตัวแปรอิสระมากกว่าเป็นตัวแปรตาม

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีผู้วิจัยอาจจะกำหนดไม่ได้ชัดเจนว่า อะไรเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าอะไร เช่น ทัศนคติและพฤติกรรมซึ่งตัวแปรทั้งสองนี้เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แม้ว่าความรู้ในเชิงทฤษฎีจะยกประโยชน์ให้กัยทัศนติเป็นตัวแปรอิสระหรือตัว แปรสาเหตุของพฤติกรรมได้ แต่ชีวิตจริงพฤติกรรมอาจเป็นตัวแปรสาเหตุของทัศนคติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมที่เป็นบรรทัดฐานอันเกิดจากวัฒนธรรมของกลุ่มทำ ให้บุคคลมีทัศนคติไปในลักษณะที่ยืนยันความมีเหตุมีผลของพฤติกรรมของตน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจจะขอยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง ประกอบคำอธิบาย ตัวอย่างแรก เป็นตัวอย่างในวงการตำรวจในประเทศด้อยพัฒนา ตำรวจใหม่เมื่ออยู่ในกลุ่มตำรวจเก่าที่ชอบรีดไถผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือรถบรรทุกอย่างปเนปกติวิสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีสาเหตุที่สามารถจะรีดไถได้เพราะเห็นว่าเป็นการ สมควรที่จะทำเช่นนั้น พฤติกรรมนำไปสู่แนวความคิด/ ทัศนคติ ตัวอย่างที่สองเป็นตัวอย่างนักการเมืองในประเทศด้อยพัฒนาอีกเช่นกัน ในกลุ่มนัการเมืองที่ตองทุ่มเทเงินเป็นจำนวนมากให้กับหัวคะแนนเมื่อได้รับ เลือกตั้งมา (ตัวแปรอิสระ) และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน จะมีการเรียกร้องผลประโยชน์ (ตัวแปรตาม) จากการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ จนกลายปเนวัฒนธรรมและเป็นบรรทัดฐานเชิงพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้มีทัศนคติที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่พึงได้และสมควรที่พึงกระทำ โดยไม่คำนึงถึงการซ้ำเติมระบบสังคมให้อยู่ในวัฏจักรของความโสมมของวงการการ เมือง ซึ่งมีผลเสียต่อการพัฒนาจิตใจของบุคคลในชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศไทยในที่สุด พฤติกรรมการเรียกร้องค่าดำเนินงาน นำไปสู่ทัศนคติเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและการรีดไถที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว

จากตัวอย่างทั้งสอง ผู้ที่ทำการวิจัยจะต้องทำการตัดสินใจด้วยการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาว่าตัวแปรใดควรเป็นตัวแปร สาเหตุและตัวแปรใดควรเป็นตัวแปรผล หรือมีตัวแปรอื่นที่เป็นตัวแปรสาเหตุหนึ่งของตัวแปรที่จะเป็นสาเหตุต่อไป ของอีกตัวแปรหนึ่งหรือไม่

ความเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตามและระดับการวัดของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นสิ่งสำคัญของการนำวิธีการทางสถิติมาใช้ตั้งแต่ขั้นการนำเสนอตัวแบบที่ จะใช้ในการวิเคราะห์ หลักการและเหตุผลที่ถูกต้องว่าอะไรควรเป็นตัวแปรอิสระและอะไรควรเป็นตัวแปร ตาม ไปจนถึงขั้นการนำผลที่ได้จากการใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติมาเสนอ หากเสนอสถิติไม่ถูกต้องตามรูปแบบมาตรฐานตามลักษณะของตัวแปรตามและตัวแปร อิสระแล้ว จะเกิดปัญหาในการอ่านและตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ อีกทั้งเป็นการบ่งชี้ว่าผู้วิจัยใช้สถิติเพื่อการวิจัยในเรื่องนั้นๆไม่ เป็นหรือไม่ถูกต้อง...

กินเพื่อสุขภาพ : อย่ากินซ้ำซาก

ประโยชน์ของการกินอาหารหลากหลายไม่ใช่แค่กันเบื่อ แต่เพราะว่าร่าง
กายเราต้องการสารอาหารหลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถหาได้ในอาหารประเภท
ใดประเภทหนึ่ง

เลิกได้แล้วประเภทเมนูสิ้นคิดกินซ้ำไปซ้ำมา ทุกวัน หรือเลือกกินแต่
เฉพาะของที่ตัวเองชอบ
เริ่มขั้นแรกด้วยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เผื่อใครลืม จะทวนให้
หน่อยก็ได้ หมู่ 1 คือเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ถั่ว นมและงา เป็นอาหารให้โปรตีน
หมู่2 คืออาหารให้พลังงานพวก แป้ง ข้าว น้ำตาล เผือก มัน หมู่ 3 ได้
แก่ผัก ให้เกลือแร่ มาคู่กับหมู่ 4 ผลไม้ ซึ่งให้วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ สุด
ท้ายหมู่ 5 ไขมัน ให้พลังงานและความอบอุ่น อาหารทั้ง 5หมู่ต้องทานให้ครบ และทานให้ได้สัดส่วนเหมาะสมด้วย
อาหารหมู่ 2 ต้องทานมากที่สุดเพื่อให้ได้พลังงาน ตามด้วยผักผลไม้ และ
โปรตีนเพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ ไขมันไม่
ต้องทานมาก เพราะเราได้รับไขมันที่แฝงมากับอาหารหมู่อื่นบ้างแล้ว แต่ก็ไม่
ควรงดเพราะมีความ สำคัญต่อร่างกายเช่นกัน
ส่วนผู้สูงอายุ งดอาหารแป้ง ไขมัน หันไปเน้นโปรตีน และผักผลไม้
เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
แค่ทานอาหารให้ครบ 5 ประเภทยังไม่พอ เราต้องกินอาหารในแต่ละ
หมู่ให้หลากหลายด้วย อาหารแต่ละอย่างจะเป็นแหล่งสารอาหารอย่างมากก็
สองสามอย่างเท่านั้น บางตัวมีสารอาหาร แต่ในปริมาณน้อย
ไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ดังนั้นเราควรกินอาหารสลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อให้ร่างกาย
ได้สารอาหารครบตามที่ต้องการ ลองคิดดูสิว่า มื้อต่อไปคุณจะกินอะไรดี

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2550

ผู้ชอบทานปลาหมึก (โปรดอ่าน )

คนญี่ปุ่นนิยมกินปลาหมึกกันมาก
ตรงกันข้ามกับคนไทยที่ชอบกินแต่ก็ไม่กล้ากิน
กลัวคลอเลสเตอรอลที่มีอยู่ ในปลาหมึก ถ้าจะกินบ้างก็กินแบบกลัว ๆ
คนไทยกลัวจะเป็นโรคความดันโรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ สั่งมากิน
แล้วทั้ง ๆ ที่ อยากจะกินก็กินไม่ลง
เจ้าคลอเรสเตอรอลนี้แหละ มันช่างเป็นมารคอหอยเสียนี่กระไร
ครั้งนี้ผมจะบอกข่าวดี สำหรับคนที่ชอบ
กินปลาหมึกแล้วไม่แพ้ปลาหมึก
ดร.สุพิศ ทองรอด นักวิชาการด้านอาหารของกรมประมง ได้ชี้แจง
ให้คณะกรรมมาธิการรัฐสภา ทราบว่า
ในปลาหมึกมีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 มีอยู่จำนวนมาก
ซึ่งจะช่วยในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลได้ดี
ถึงแม้ว่าปลาหมึกจะมีโคเลสเตอรอล อยู่ด้วย แต่โดยทั่วไป
เมื่อเจอกับ โอเมก้า 3
ซึ่งจะถูกสังเคราะห์ได้ดีกว่าและเป็นตัวต่อต้านคลอเลสเตอรอลไม่ให้สูง
หรือไม่ให้เพิ่มขึ้นนอกจากนั้นจะเห็นได้ว่า คนญี่ปุ่นจะกินอาหารทะเลทุกชนิด
รวมทั้งปลาหมึก และไม่พบว่าเกิดโรคหัวใจ
เมื่อเทียบกับคนในประเทศทางด้านยุโรปทั้งนี้เนื่องจากปริมาณโอเมก้า 3
นั่นเอง และคนญี่ปุ่นยังมี สุภาษิตที่ว่า
“Eat Squid Stay Young” โอเมก้า 3 จะยังลดคลอเลสเตอรอล
ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นและปริมาณโคเลสเตอรอลที่ได้รับจากปลาหมึก
จะบำรุงผิวหนัง ทำให้ใบหน้าเต่งตึง ไม่เ++่ยวย่น
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบปลาหมึกกับเนื้อหมู จะตรงกันข้าม เพราะหมูไม่มี
โอเมก้า 3 เห็นไหมครับ ฟังดร. สุพิศ ทองรอด

แล้วรู้สึกปลาหมึกจะน่ารับประทานขึ้นอีกมาก
เรามากินปลาหมึกกันเถอะ ใครที่รู้สึกว่าที่ตึงเฉพาะหู ก็มากินปลาหมึก
จะได้มีใบหน้าเต่งตึงได้และมาเคี้ยวปลาหมึกล้างความแค้นเก่า ๆ
ที่อุตส่าห์อดมานาน แต่จะอย่างไรก็ตามอย่ากินอะไรให้มันมากเกินไป
แม้แต่ข้าว หากกินมากไปก็เป็น โทษ จะทำอะไรก็บันยะ บันยังไว้บ้าง ให้พอดี พอดี
โดยยึดหลักทางสายกลาง ดังคำที่พระพุทธเจ้าสอนไว้

เสี้ยวหนึ่งของอารมณ์รัก


บทความของ ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน

"อยากบอกกับเธอว่า อย่าดีกับฉันจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉันคิดถึงเธอ
อยากบอกเธออีกว่า อย่าเอาใจใส่ฉันจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉันชอบเธอ
อยากวอนเธออีกเหมือนกันว่า อย่าหวานกับฉันมากเกินไป"

เพราะฉันอาจจะเผลอใจรักเธอ..เพราะมันจะสร้างความทุกข์แก่ฉันมากมาย ถ้าฉันเกิดรักเธอโดยที่ฉันรู้อยู่แก่ใจว่า เธอไม่ได้รักฉันเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะคนที่ทำให้ฉันรักเขา โดยปกติแล้วมักจะเป็นคนที่รักฉันมากกว่าที่ฉันรักเขา

ถ้าใครคนหนึ่งผ่านเข้ามาในชีวิตและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตแต่ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ที่ทำให้เขาไม่สามารถอยู่กับคุณได้... อย่าได้เสียน้ำตา

แต่จงดีใจที่เราได้พบกัน และเขาทำ ให้เรามีความสุข แม้ว่ามันจะเป็นช่วงเวลาอันสั้นมากก็ตาม เพราะ .. เวลาจะเป็นเครื่องชี้บ่ง .. ถ้าเขาเป็นของคุณจริง ๆ เขาจะต้องกลับมา

คุณจะรู้ตัวว่าคิดถึงใครคนหนึ่งมาก ๆ ก็ตอนที่คุณคิดถึงเขาแล้วหัวใจคุณเต้นรัวถี่ขึ้น เพียงแค่เขาเอ่ยวจีทักทายคุณด้วยความอบอุ่นในน้ำเสียง ก็จะทำให้ประสาทของคุณซาบซ่านผ่อนคลายลงอย่างมีความสุขถึง กระนั้นก็ตาม บางทีคุณก็ยังไม่รู้สึกตัวและยังชอบปฏิเสธว่า คุณไม่ได้ชอบเขา และคุณไม่ได้รักเขา

ปรอทที่จะวัดความรักในหัวใจของคุณได้ เมื่อคุณคิดถึงใครคนหนึ่งแทบทุกขณะจิตและเมื่อคิดถึงแล้ว ทำให้คุณมีความสุขอย่างประหลาดอยากสละความสุขส่วนตัวให้แก่คน ๆ นั้น

แม้ว่าคุณจะเจ็บปวดก็จะทนขอเพียงแต่ว่าอยากให้เขาคนนั้นมีใจรักคุณสักนิด

อย่าหันหลังให้กับความรัก ในขณะที่ความรักยืนจังก้าอยู่ต่อหน้าคุณอย่าได้ไล่มันออกไปจากคุณ เพราะถ้าคุณทำอย่างนั้นสักวันหนึ่งคุณจะหวนคิดขึ้นมาได้ว่า สิ่งที่คุณไล่เปิดไปนั้นแท้จริงแล้วครั้งหนึ่งเคยอยู่ใกล้ชิดตัวคุณนี้เอง ..

จงให้คุณค่าแก่คนที่รักคุณมันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่ายเลยในการที่จะได้พบคนที่ รักคุณจริง ๆ เพราะหัวใจที่จริงจังซื่อตรงหาไม่ได้ง่ายนัก และมีคุณค่าสูงเหลือเกิน

บางครั้งสิ่งที่ทำให้เราเสียใจมากที่สุดในชีวิตไม่ใช่สิ่งที่เราสูญเสียหรือผิดหวัง แต่กลายเป็นความเสี่ยงที่เราไม่กล้าเสี่ยง ถ้าคุณคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้คุณมีความสุขมาก จงมุ่งไปหามันเพราะในจังหวะของ ชีวิตคนเรา เรามักจะไม่ผ่านมาบนถนนสายเดิมนี้ซ้ำอีก

เวลาไม่เฝ้าคอยใคร ถ้าคุณคิดว่าคุณได้พบกับสิ่งที่ถูกต้องและถูกใจจงถนอมมันไว้อย่างมีคุณค่า อย่าปล่อยให้เขาหลุดลอยไปอย่าปล่อยให้ความกลัวเข้าครอบงำและดึงเหนี่ยวคุณไว้ไม่มีใคร นอกจากคุณเท่านั้นที่จะรู้ว่าอะไรจะทำให้คุณมีความสุขอย่างแท้จริง

น้ำตาสองหยดร่วงลงไปในแม่น้ำ และลอยไปตามกระแสน้ำ น้ำตาหยดแรกเอ่ยขึ้นมาว่า"ฉันคือหยดน้ำตาของหญิงที่รักผู้ชายคนหนึ่ง แล้วกลับต้องสูญเสียเขาไป" น้ำตาหยดที่สองตอบกลับอย่างสวนควันว่า "คุณเป็นใคร? ฉันคือหยดน้ำตาแห่งความเสียใจของผู้ชาย ที่ปล่อยให้ผู้หญิงที่เขารักหลุดลอยไปจากเขา.."

เมื่อถึงเวลานั้นไม่มีใครจะมาเห็นใจคนที่ปล่อยโอกาสให้หลุดผ่านไปอย่างไม่แยแส คนเรามักจะไม่เห็นคุณค่า ความสำคัญของคนที่เรารักและใกล้ชิดกับเรา จนกระทั่งพวกเขาได้จากเราไป แล้วถึงมารู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวภายหลังเมื่อรำลึกถึงสิ่งที่เราเคยมี


"ความรักเหมือนกับการเล่นเปียโน คุณต้องขึ้นต้นด้วยการเรียนรู้กฏ หลังจากนั้นคุณต้องลืมกฏเหล่านั้น เล่นดีดดิ้นกรีดกรายจากเสียงเร่าร้องของหัวใจคุณเอง"


จงมีความกล้าหาญที่จะรัก

แม้ว่าคุณรู้อยู่เต็มอกว่าจะต้องสูญมันไปในที่สุดก็ตามดีกว่าที่คุณจะไม่พบความรัก เพราะคุณขี้ขลาดเกินกว่าที่จะกล้าเผชิญกับมัน

สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดในชีวิตคนเราคือ การเสาะหาใครสักคนหนึ่งที่รู้จักความบกพร่อง ด่างพร้อยของเรา ความไม่ดีของเรา ความแตกต่างของเรา แต่เขาก็ยังรักเราอยู่อย่างสุดจิต สุดใจ...ถ้าคุณพบคนอย่างนี้ จงรักเขาให้หมดหัวใจคุณ เพราะคุณจะหาคนอย่างนี้ได้ไม่ง่ายนัก หรือ อาจจะไม่พบอีกเลยในชีวิตของคุณ

วิ ธี มั ด ใ จ พ่ อ ทู น หั ว ใ ห้ อ ยู่ ห มั ด ( ลองทำดู)

ให้เกียรติ
ทั้งในเรื่อง หน้าที่การงาน และเรื่องส่วนตัว ฝ่ายหญิงควรให้เกียรติเค้าบ้าง อย่าพยายามนำจุดด้อยของแฟนมาพูดต่อหน้าเพื่อนๆ ให้เค้าได้อับอาย จำไว้ว่าอย่าข่มขู่เค้าเป็นอันขาดแม้ว่าตอนเป็นแฟนคุณจะเถียงยังไงเค้าต้องยอมแพ้แน่นอน แต่หากแต่งงานกันแล้ว ก็ควรหาเหตุผลปรับความเข้าใจกันดีกว่า อย่ากล่าวหาเค้าโดยไม่มีหลักฐาน และอย่าพยายามหาเรื่องทะเลาะก่อน... เพราะไม่มีผู้ชายคนไหนที่จะทนผู้หญิงปากร้ายได้(นานหรอกนะ)


เจ้าชู้อย่างมีขอบเขต
การที่สาวๆ เองก็มีแฟนเป็นตัวเป็นตนแล้ว ส่วนใหญ่เวลาที่ไปเที่ยวกับเพื่อนๆในก๊วนเดียวกันมักจะนำเนอว่าตัวเองน่ะโสด เพราะไม่อยากให้คำว่าแฟนมาแบ่งเขตแดนของความสนุก เต็มที่ก็อาจจะแค่เหล่มองหนุ่มได้ ขอเบอร์กัน คุยกันเป็นเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น หรืออาจจะเพื่อประโยชน์ในหน้าที่การงาน แต่ถ้าหากคุณคิดนอกลู่นอกทางเมื่อไหร่ เป็นเรื่องแน่นอน ที่สำคัญอย่าปล่อยใจ ปล่อยอารมณ์ไปกับความสนุกเพียงชั่วคืน และอย่าเมาต่อหน้าหนุ่มแปลกหน้าเด็ดขาด...ม่ายง้านตื่นมาอาจได้ทั้งแฟนใหม่แถมโรคมาอีกตะหาก


อย่าพูดมาก
การที่คุณเป็นคนช่างพูดนั้นชวนฟังเพลินดีอยู่หรอก แต่หากพูดมากเกินไป อาจทำให้พ่อเจ้าประคุณเค้ารำคาญเอา อีตอนแรกก็หนุกหนานดีอยู่หรอกสมัยที่เป็นแฟนกันน่ะ แต่หากแต่งงานกันแล้ว อยู่บ้านเอาแต่เป็นยายแก่จู้จี้ ขี้บ่น พูดมาก แถมยังเรื่องมากอีกเอ้า ! อย่างนี้หนุ่มๆ เค้าคงรีบเอาสำลีมาอุดหูอย่างแน่นอน หรือถ้าคุณเป็นแม่สาวที่หยุดปากไม่ได้จริงๆ ก็ควรจะหาเรื่องพูดที่ให้เค้าได้มีส่วนร่วมบ้างก็ได้นะ เพราะการสนทนาร่วมกันอาจมันส์กว่าที่คุณจะนั่งจ้อคนเดียวนะ...จาบอกให้


เซอร์ไพรส์บ้าง...
อย่ามัวแต่รอให้ฝ่ายชายมอบอะไรต่อมิอะไร ไม่ว่าจะเป็นความรัก สิ่งของ หรือความประทับใจต่างๆ อยู่ฝ่ายเดียว คุณผู้หญิงเองก็น่าจะมีเซอร์ไพรส์ให้กับพ่อทูนหัวของคุณบ้าง แม้ว่าสิ่งของอาจไม่จำเป็นสำหรับเขา แต่การแสดงความรักอย่างสม่ำเสมอ หรือทำอะไรในวันพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดหรือวันครบรอบแต่งงาน ซึ่งหากสาวๆเป็นฝ่ายเริ่มก่อน หรืออาจจะทำกิจกรรมร่วมกัน แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่คุณไม่มองข้ามมันซะ เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่สานสัมพันธ์รักของคุณให้แน่นแฟ้นขึ้นชัวร์ ! ...


อย่าเป็นจอมเผด็จการ
ไม่ใช่ฮิตเลอร์มาเกิดนะ อะไรๆ ก็จะทำตามใจตัวเองซะหมด โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวและเรื่องในบ้านที่คุณผู้หญิงชอบแจกแจงว่า คุณผู้ชายจะต้องให้เงินเดือนเท่าไหร่ จะต้องรดน้ำต้นไม้เวลาไหน ไปไหนต้องรายงาน หรือกลับบ้านให้ตรงเวลา อืมม์ ! ดูเหมือนมันจะหมดสมัยไปแล้ว แต่เชื่อเหอะว่ายังไง้ ..ยังไงร้อยทั้งร้อยก็ต้องมีผู้หญิงประเภทนี้อยู่วันยังค่ำ แม่สาวเผด็จการที่ตอนเวลาคบก็ยังพอกล้อมแกล้ม แต่ที่ไหนได้ อีตอนแต่งนึกว่าจะหาย ไหงกลับเป็นหนักกว่าเดิมซะอีก...เฮ้อ..นี่ล่ะน้าที่หนุ่มๆ ครองตัวเป็นโสด และมักจะพูดว่า...นรกมีจริง...


ซุปเปอร์วูเม่น
จริงอยู่แม้ว่าคุณจะเก่ง สวย รวย มีเสน่ห์ ขนาดไหน แต่อย่าลืมว่าหากคุณอยู่กับสุภาพบุรุษแล้ว ก็ควรจะทำตัวอ่อนลงบ้าง อย่าพยายามทำตัวเก่งเกินขอบเขต อย่าลืมว่าผู้ชายเค้าชอบเป็นผู้นำ จะเห็นว่าสาวๆ ที่ชอบเป็นผู้นำมักจะครองตัวเป็นโสด เพราะคิดว่ายังไงชั้นก็เก่งกว่าผู้ชาย มีอะไรที่ผู้หญิงทำไม่ได้บ้าง...โอเค ! เชื่อว่าสาวๆ สมัยนี้น่ะเก่งไม่แพ้ผู้ชายทีเดียว แถมยังไม่ยอมเป็นช้างเท้าหลังอีกต่างหาก แต่คุณก็ควรจะเก่งแบบดูเวลาบ้าง เพราะไหนๆ ก็ตกลงเป็นแฟนกันแล้ว อย่างน้อยการให้เกียรติเขาในการตัดสินใจก่อน ถือเป็นสิ่งที่ผู้ชายเค้าภูมิใจ แต่หากมีสิ่งที่เค้าไม่รู้จริงๆ คุณผู้หญิงก็ควรจะหาวิธีอธิบายด้วยวิธีที่อ่อนนุ่มมากกว่าการอวดเก่งนะ...ถ้าไม่อยากจองคานทอง...ขอเตือน...


เสียสละ
เมื่อคุณผู้ชายเดือดร้อนหรือมีปัญหา คุณควรจะยื่นมือเข้าไปช่วย โดยเฉพาะในยามคับขันเรื่องเงินๆ ทองๆ ชักหน้าไม่ถึงหลัง คงจะเคยได้ยินว่ามีการขนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านไปจำนำ ตั้งแต่ของมีค่าจนถึงครกตำน้ำพริกนั่นล่ะ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่เมื่อมีปัญหาที่จะต้องใช้เงินเพื่อยืดอายุในการอยู่รอดแล้วล่ะก็ สาวๆที่ชอบซ่อนเครื่องประดับไว้ ก็ควรจะนำมันออกมาให้เขาได้แก้ขัดไปก่อน เสียสละเพื่อคนที่คุณรักและตัวคุณเอง ตรงนี้ล่ะที่จะทำให้เค้าได้เห็นน้ำใจหรือธาตุแท้ของคุณนั่นเอง...แต่เรื่องที่จะเสียสละสามีให้กับสาวอื่น...อย่างนี้ยอมไม่ด้ายยยยย


ห่วงหาอาทร
ไม่ว่าจะทำอะไรคุณมักจะนึกถึงครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง ประมาณว่า ถ้าชั้นสุขทุกคนในบ้านก็ต้องสุข มีเวลาให้แฟนหรือคนในบ้านบ้าง อย่าหักโหมงานจนเกินไป หรืออย่าเที่ยวจนลืมนึกถึงคนที่บ้านซะล่ะ อย่าลืมว่าหากคุณกลับดึกหรือไปไหนไกลๆ โดยที่ไม่มีเค้าแล้ว นอกจากเค้าจะหวงแล้ว เค้ายังห่วงความปลอดภัยของคุณอีกด้วย การห่วงหาอาทรเป็นสิ่งที่คู่รักน่าจะมีให้กันมากเป็นอันดับสองรองจากความรักนะ ถือได้ว่าเป็นเชื้อเพลิงที่จะทำให้ไฟรักของคุณไม่มีวันมอด...


เอาใจใส่
การเอาใจใส่ดูแลเป็นหน้าที่ของสาวๆ มากกว่านะ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิน นอน ,เสื้อผ้า, เครื่องแต่งกาย หรือการพูดให้กำลังใจเค้า เป็นสิ่งที่แสดงถึงความรักและการดูแลชายหนุ่มอย่างห่วงใย แต่ทำอย่างพอดีนะ เพราะหากมากเกินไปจะกลายเป็นว่าคุณเป็นเจ้าชีวิตเค้า ต้องคอยสังเกตบ้างว่าสิ่งที่คุณเตรียมให้นั้นเค้ามีท่าทีชอบหรือเปล่า หรือทำเพื่อเอาใจคุณเท่านั้น ...และการเอาใจใส่เค้านั้นต้องมาจากใจคุณจริงๆ เพราะถ้าทำแบบฉาบฉวย จะทำให้คุณเบื่อที่จะต้องปฏิบัติกับเค้าอันจะเป็นผลทำให้เกิดการเลิกราภายหลัง


เสมอต้นเสมอปลาย
นอกเหนือจากความรักและความห่วงหาอาทรแล้ว การทำตัวเสมอต้นเสมอปลายต่อคุณผู้ชายไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะบางคู่ที่คบกันก่อนแต่งงานนั้นไม่ยอมเผยนิสัยตัวตนที่แท้จริงออกมา เมื่อแต่งงานกันแล้วกลับมีนิสัยที่ไม่เคยเห็นโผล่ออกมาทีละเล็กละน้อยจนทำให้ชีวิตคู่อยู่ได้ไม่ยืนยาวเท่าใดนัก... อย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีการคุยแล้วค่อยๆ เริ่มปรับตัวเข้าหากันทีละนิดละน้อย ...ดีกว่าไม่ปรับตัวเลยแถมยังเพิ่มนิสัยที่แย่ๆออกมาอีกด้วย...อย่างนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน

ยังมีอีกหลายสิ่งมากมายที่จะสานสายใยรักระหว่างคุณและคู่รัก อยู่ที่ว่าคุณพร้อมที่จะปฏิบัติหรือปล่อยให้เวลาผ่านเลยไปอย่างไม่ยอมแก้ไขอะไร...ลองตรองดูอีกทีว่าคุณอยากมีชีวิตรักและชีวิตคู่ที่สมบูรณ์หรือเปล่า แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่หากคุณไม่มองข้ามก็อาจช่วยให้คุณและคนรักมีความสุขอย่างยาวนานทีเดียวล่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550

การเลื่อนชั้นทางสังคมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก

ณรงค์กร ชวาลสันตติ
สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ว ัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพื้นฐานทางครอบครัว ความมุ่งหวังในการเลื่อนชั้นทางสังคม และกระบวกการ พัฒนาตนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2548 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

ผลก ารวิจัยพบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่อยู่ในวงการเมือง อาชีพเดิม ได้แก่ รับราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองท้องถิ่น ไม่เคยได้รับการปลูกฝังเรื่องการเมืองจากบิดามารดา บุคคลที่ส่งเสริมให้สนใจที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน และผู้นำท้องถิ่น มีความมุ่งหวังในการเลื่อนชั้นทางสังคมที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับม าก โดยมีความคิดเห็นว่า ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ มีความสนใจเรื่องการเมืองการปกครอง ต้องการเป็นที่ยอมรับจากสังคมในวงกว้างกว่าเดิม วิธีการสร้างสัมพันธ์กับประชาชน คือ พบปะกับประชาชน ไปร่วมงานต่างๆ เช่น งานเทศกาล งานบวช งานแต่งงาน และงานศพ ขั้นตอนในการหาเสียง ได้แก่ ลงพื้นที่แนะนำตัว ทำสื่อโฆษณาหลายรูปแบบ จัดปราศรัย หาแกนนำในหมู่บ้าน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ได้แก่ การปล่อยข่าวลือของผู้ไม่หวังดี การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ ภัยธรรมชาติที่ทำลายแผ่นป้ายโฆษณา การวางแผนและเตรียมการสำหรับตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้แก่ สำรวจความสามารถของตนเอง ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สร้างบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสื่อมวลชน และมีความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบต่องานที่ทำ

จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

การตรวจจับขอบอักษรโดยการวิเคราะห์เกรเดียนแบบหลายมิติ

คณิตพันธ์ บุญสมเชื้อ, รศ.ดร. ชม กิ้มปาน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

ง านวิจัยนี้ได้เสนอขั้นตอนวิธี (Algorithm) การตรวจจับขอบอักษรในภาพสี โดยใช้การวิเคราะห์เกรเดียนแบบหลายมิติในการหาขอบอักษร ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการตรวจจับขอบอักษรในภาพสีเมื่อมีสัญญาณรบกวน (Noise) ผสมอยู่ งานวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการตรวจจับที่น ำเสนอกับผลลัพธ์ของวิธีตัวตรวจจับขอบแบบเดิม ซึ่งมีอยู่จำนวน 6 วิธี ประกอบด้วย วิธีของ Canny วิธีของ Sobel วิธีของ Prewitt วิธีของ Roberts วิธีของ LOG และวิธีของ Zero Crossing โดยภาพสีที่ใช้ในการทดสอบจะถูกผมด้วยสัญญาณรบกวนแบบ Salt & Pepper Noise ผลจากการทดสอบเปรียบเทียบ พบว่า วิธีการตรวจจับที่นำเสนอให้ผลลัพธ์ในการหาของของอักษรดีกว่าวิธีการตรวจจับแ บบเดิมทั้ง 6 วิธี โดยตัวตรวจจับที่นำเสนอสามารถลดสัญญาณรบกวนในภาพลงดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบ กับวิธีการอื่นๆ ที่มีสัญญาณรบกวนเท่ากัน แต่วิธีการที่นำเสนอ มีขีดจำกัด คือ ภาพสีต้องมีสัญญาณรบกวนไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของพิกเซลรวมของภาพ



จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพคล่องดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีกลุ่มดัชนี SET 50

FACTOR FOR INFULENCE LIQUIDITY STOCK OF SET INDEX; IN CASE SET 50 INDEX

ชัยยศ อมรบุญปีติ
นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ก ารซื้อขายหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนมือระหว่างนักลงทุนตลอดเวลา ในกลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 มีการจัดลำดับกลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ที่มีการหมุนเวียนหลักทรัพย์มากสุดในตลาด สภาพคล่องถูกวัดจากการหมุนเวียนหลักทรัพย์กลุ่มที่มีการจัดอันดับ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสาร กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์

วัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางให้บริษัทนำปัจจัยดังกล่าวใช้เพิ่มสภาพคล่องดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 การศึกษาโดยใช้ Run regression ใช้แบบจำลอง Pool Cross Section ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ตัวแปรต้นที่ใช้ คือ การแตกหุ้น ราคาหลักทรัพย์ ขนาดหลักทรัพย์ ผลประกอบการ การประกาศจ่ายเงินปันผล สินทรัพย์รวม ความผันผวนราคา ตัวแปรตาม ได้แก่ การหมุนเวียนหลักทรัพย์ แสดงถึงสภาพคล่องหลักทรัพย์หมายความว่า เมื่อหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนมือจากนักลงทุนกลุ่มหนึ่งไปอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนั กลงทุนนั้นได้รับหลักทรัพย์ตามที่ต้องการ

ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรต้นที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์ คือ การแตกหุ้น กับความผันผวนของราคา ในขณะที่การแตกหุ้นในกลุ่ม SET 50 มีเพียง 15 บริษัท สามารถอธิบายสภาพคล่องหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET 50 ที่ระดับนัยสำคัญ 1% การทดสอบตรงกับการศึกษาในอดีตของ Dennis and Strickland (1998) ในช่วงเวลาแตกหุ้นทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น และการหมุนเวียนหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมีการแตกหุ้นทำให้สัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น

ส่วน ความผันผวนของราคา ผลทดสอบว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงขึ้นทำให้สัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น ที่ระดับนัยสำคัญ 5% สภาพคล่องหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น กล่าวได้ว่า ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับราคาดึงดูดนักลงทุนเข้ามาทำการซื้ อขายเนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับจากส่วนเกินของราคาเป็นแรงจูงใจทำให้นักลงทุ นซื้อขายช่วงเวลานั้น และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยมหภาคทำให้การซื้อขายและสภาพคล่องหลักทรัพย์สูงขึ้น ผลตอบแทนที่ได้รับสูงขึ้นตรงกับแนวคิดของ Juna, Maratheb and Shawkyc (2002)

ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านผลประกอบการ ปัจจัยด้านขนาดหลักทรัพย์ ปัจจัยการขึ้นเครื่องหมาย XD พบว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพคล่องหรือมีความสัมพันธ์กันเอง

ข ้อสรุปที่ได้จากการศึกษาข้างต้นและผลการวิเคราะห์สภาพคล่องตลาดเป็นแนวทางให ้บริษัททำการแตกหุ้นเมื่อระดับราคาไม่ตอบสนองต่อสัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรั พย์หรือมีการตอบสนองต่อสัดส่วนการหมุนเวียยหลักทรัพย์ลดลง

ข้อเสนอแนะ ความสัมพันธ์ในสภาพคล่องและความผันผวนเพียงมีเกณฑ์วัดสภาพคล่องปัจจัยเดียว ซึ่งสามารถขยายตัวแปรที่ใช้วัด จำนวนกลุ่มหลักทรัพย์ การแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ พิจารณาโครงสร้างปัจจัยมหภาค และการทดสอบการคาดการณ์ของปัจจัยกลุ่ม และศึกษาปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์กลุ่ม SET 50 ของนักลงทุนต่างชาติและสร้างดัชนีนักลงทุนต่างประเทศเพื่อชี้วัดได้ถูกต้องแ ละพัฒนากฎเกณฑ์ในการกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสภาพคล่องของหลักทรัพย์ จะทำให้การศึกษานี้สมบูรณ์เป็นประโยชน์และชัดเจนมากขึ้น

จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ความหลากหลายทางชีวภาพของปลากับวิถีชีวิตประชาชนในหนองหาน กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

พาริณี โลมาอินทร์
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา แขนงชีววิทยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ง าน วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายชนิดของปลาในหนองหาน กุมภวาปี วิถีชีวิต การใช้ประโยชน์จากปลา และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับปลา โดยการสำรวจความหลากหลายชนิดของปลาในหนองหานกุมภวาปี โดยเก็บตัวอย่างปลาที่ท่าปลาบ้านเดียม และการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากร ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวประมง และประชาชนทั่วไป ในบ้านเชียงแหว บ้านแชแล บ้านดอนแก้ว และบ้านเดียม มีระยะเวลาในการทำวิจัยระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2549 ผลการศึกษามีดังนี้

สภาพภูมิศาสตร์และวิถี ชีวิตของประชาชนในหนองหานกุมภวาปี หมู่บ้านที่ทำการศึกษาเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ และติดต่อกับหนองหาน ประชาชนทั้งหมดสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ภาษาถิ่นคือ ภาษาอีสาน ประชาชนมีอาชีพหลักคือ การรเกษตรกรรม อาชีพรอง คือ การทำประมงน้ำจืด และการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ สัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านส่วนมากเป็นไก่ เป็ด วัว ควาย อดีตมีประเพณีตาม “ฮิตสิบสอง” คือการทำบุญทุกเดือนตามประเพณีที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันประชาชนงดเว้นการทำบุญบางอย่างเนื่องจากข้อจำกัดของสถานที่ และประชาชนมีความเชื่อและทัศนคติเกี่ยวกับการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนมีความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายด้านในการใช้ทรัพยากรจากหนองหน กุมภวาปี ประชาชนยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีข้อตกลงและกฏเกณฑ์ของชุมชนเกี่ยวกับการจับปลา

ด้านการประมง ชาวประมงใช้ไส้เดือนเป็นเหยื่อเพื่อจับปลาทุกชนิด และการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายชนิดของปลา พบปลา 8 อันดับ 14 วงศ์ 25 ชนิด ประชาชนนิยมแปรรูปปลาเพื่อการค้า และปรุงอาหารจากปลารับประทานในครัวเรือนมีทั้งหมด 13 ตำรับ ชาวประมงใช้เครื่องมือในการจับปลา คือ เบ็ดลำอ้อ ดาง ลอบ แห เบ้ดลำไม้ไผ่ สะดุ้ง ลัน ไซ เป็ดราวหรือเบ็ดขึง และชนิดของปลาที่จับได้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือจับปลาที่ใช้


จาก การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1-3 พฤศจิกายน 2549
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

The 1st Conference Science, Technology , Education and Local Wisdom for Sustainable Development

1-3 November 2006
Udonthani Rajabhat University

การพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการสำหรับอพาร์ทเมนต์ด้วยโปรแกรมแมมโบ

Development of apartment software using Mambo open source CMS

สุชาดา ประดิษฐ์สุข และภคพล นัยเนตร

หลักสูตรคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

บ ท ความนี้เป็นการนำงานวิจัยของนายภคพล นัยเนตรที่วิจัยในเรื่อง การพัฒนาระบบโปรแกรมบริหารจัดการสำหรับอพาร์ทเมนท์ กรณีศึกษา : โครงการบ้านตะวัน หมู่บ้านเมืองเอกรังสิต ซึ่งได้นำความรู้ในการบริหารจัดการ (Facility Management) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการข้อมูล และพัฒนาให้สามารถบริหารจัดการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผ่านโปรแกรมเวบแอพลิเคชั่น แต่เนื่องจากเครื่องมือเดิมนั้นยังไม่สามารถเอื้อต่อผู้ที่ต้องการพัฒนา ซอฟแวร์ต่อไปได้อย่างรวดเร็ว จึงได้มีแนวคิดที่จะนำ CMS (Content Management System) ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สชนิดหนึ่งที่สามารถจัดทำเวบไซต์สำเร็จรูปได้ อย่างง่ายและสะดวกสบาย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเป็นการทดลองเปลี่ยนระบบแอพพลิเคชั่นเดิมของนายภคพล เพื่อพัฒนาเป็นโมดูลและคอมโพเน้นท์บนระบบปฏิบัติการของโปรแกรม Mambo เพื่อให้สามารถใช้บริหารจัดการอพาร์ทเมนต์ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดแนวทางเลือกใหม่ที่เป็นไปได้และเป็นประโยชน์กับผู้พัฒนาแบะ ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการพัฒนาต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของโปรแกรมบริหารจัดการสำหรับอพาร์ทเมนท์เดิม ซึ่งได้วิจัยไว้แล้ว


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

การประยุกต์ Instant Message เพื่อการทำงานร่วมกันในสำนักงานสถาปนิกผ่านระบบเครือข่าย

ณัฐวุฒิ พุทธิพงษ์
หลักสูตรคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

โ ปรแกรม ที่ได้พัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนารูปแบบการทำงานขององค์กร สถาปนิกให้เหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้สะดวกขึ้นในการประสานงาน มอบหมายงาน รวมไปถึงการติดตามความคืบหน้าของงาน Working Drawing ให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วยลดปัญหาในเรื่องเวลาและระยะทาง ทุกๆฝ่ายสามารถทำงาน และประสานงานกันได้ โดยที่ผู้ร่วมงานนั้นอาจจะทำงานต่างที่ ต่างเวลากันโดยตัว Software ที่ออกแบบ เพื่อใช้ในการทำงานผ่านระบบเครือข่ายรองรับการทำงานแบบ Collaborative Work ตัวโปรแกรมประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
- Server ซึ่งเป็นส่วนที่ Project Manager ใช้ในการประสานงานกับผู้ร่วมงาน, มอบหมายงาน ติดตามความคืบหน้าของงาน
- Client ซึ่งเป็นส่วนที่ User ใช้ในการประสานงานกับ Project Manager และ user ด้วยกัน

ร ูป แบบการทำงานของตัวโปรแกรมจะเน้นในเรื่องการประสานงาน และติดตามความคืบหน้าของงาน Auto Cad Working Drawing ที่ Project Manager มอบหมายให้ผู้ร่วมมือแต่ละคนทำ โดยการประสานงานผ่านระบบเครือข่าย สามารถเรียกดูหน้าจอการทำงานของแต่ละคนในเวลานั้นๆได้ และสามารถปรึกษาแก้ไขปัญหาแบบตัวต่อตัว หรือ ประชุมกับผู้ร่วมมือทั้งหมดได้โดยผ่าน Meeting Room

เนื่องจากตัว โปรแกรมนั้นต้องทำงานผ่านระบบเครือข่าย ปัญหาในการพัฒนาโปรแกรมที่พบบ่อยจะเป็นเรื่องของขนาด File ภาพที่ใหญ่ และต้องส่งข้อมูลเหล่านั้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้เกิดปัญหาการทำงานล่าช้าของโปรแกรม ซึ่งอาจเป็นผลให้ข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางไม่สมบูรณ์ ภาพที่รับมีการผิดเพี้ยนไป เพราะอาจเกิดจากการชนกันของข้อมูล แต่เมื่อผ่านกระบวนการในการแก้ปัญหาทีละขั้นตอน ก็สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวได้ โดยเปลี่ยนการจัดเก็บ File ภาพ ใน Format ที่มีขนาดเล็ก ลดปัญหาในเรื่องของการส่งข้อมูลภาพผ่านระบบเครือข่าย และลดปัญหาในเรื่องการรับข้อมูล ซึ่งเป็นผลให้ภาพนั้นผิดเพี้ยนไป


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

Promoting Health strength of community on keeping cattle occupation: Case study in Hubmaklum community, Tumbon Banlueak, Amphur Potharam, Ratchburi Pr

Promoting Health strength of community on keeping cattle occupation: Case study in Hubmaklum community, Tumbon Banlueak, Amphur Potharam, Ratchburi Province.
จรินทร สมภู่, พรรณปพร กองแก้ว. วาสนา มานิช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

This study was to examine health status in a community of cattle occupation, namely Hubmaklum community, Tambon Banlueak, Amphur Potharam, Ratchburi Province. This research was a part of the role of high education network at Ratchburi Province connecting with dairy career integration: case study at Hubmaklum community, Amphur potharam Ratchburi province (phase I-II). In order to make a connection in cattle occupation and community strength in 4 issues such as health, belief, health behavior, health knowledge, and health support by building up a body of knowledge concerning health and living which correspond to cattle occupation. The finding were that: out of 153 people in the community, in general, there were mostly families of 2-5 members with cattle occupation. They lived quite far from cattle pens. Cattle did not bother neighbors. It was found that there were such beliefs as traditional medical treatment, herbal treatment, occidental medical treatment, contagion from animal, and fresh milk which will make them strong. They did not believe in superstition, genetically transmitted diabetes, and they were uncertain whether they would catch pneumonia from cattle. As for health behavior, it was found that most of them did not play and sports, nor smoke nor drink. When they got sick, they would either help themselves in family or buy pills by themselves before going to public health centers. When the condition did not get better, they would go to hospital or clinic or local public health center. Most of them used 30-baht care service. As for happiness in life, most of them were as happy as normal people (happiness index of Thai people done by Department of Mental Health in 2001). Otherwise status of health concerning cattle occupation : After physical examination of sampling group (78 people) , most of them (74.4%) were women aged 22-75 with body mass index corresponding to normal level and overweight level. High blood pressures were 32.1%. Hemoglobin concentration was normal (80.8%)/ White blood cell which cause allergy were 14.1%. Urinal infections were 6.4%. Sugars in urine were 3.8%. Abnormal lung from X-ray file were 3.8%.

This study was a mirror to health status of people in community in order to build up strength and durability by receiving advice, building a body of knowledge in health to local leaders, and having health staff to facilitate and give counseling in distributing knowledge so that body of knowledge could be transferred and community is durable for health in community people.


จากการประชุมวิชาการ การบูรณาการเทคโนโลยี สังคมกับชุมชน คณะศิลปศาสตร์
King Mongkut’s university of technology Thonburi
September 22, 2006

People Mapping

People Mapping
มิรา ชัยมหาวงศ์
โรงเรียนรุ่นอรุณ


People Mapping Project inspired by Professor Prawase Wasi who referred to “Respecting the knowledge from experience of all human being create prestige which is a basis morality of being a community.” An objective of the project aimed to change value and attitude of community members to respecting in their own self and respecting each others.

People Mapping using Participatory Learning & Action Research (PLAR) as a tool to vreate learning process with volunteers from 3 communities, Ban Thung-Yee Peng, Ban Hua Laem and Ban Sang Ka-U in Koh Lanta Yai, Krabi. A main researcher creates learning process such as deep listening, system thinking and working with the volunteers to seek for the moral of the people. The volunteers will reflect the value of people by using print media on the basis of the idea that “Everybody has their own value”.

จากการประชุมวิชาการ การบูรณาการเทคโนโลยี สังคมกับชุมชน คณะศิลปศาสตร์
King Mongkut’s university of technology Thonburi
September 22, 2006

An Optimization Model for Fire Evacuation Plan : A case Study of perry High School.

ทวีภัทร์ บูรณธิติ และ Nate J. Van Wey.

Fire alarm device is a basic component needed according to laws in many countries to avoid loss of human lives. Once the first alarm is activated, every occupant should find their way to leave the building as soon as possible and mostly run to the closest exit by eye sight. It sometimes causes a bottles neck problem, with results as inefficient evacuation, It is believed that a formal evacuation plan would be beneficial. This paper applies a mathematical technique for determining a best/optimal solution by creating an optimization model for a fire evacuation plan. The model is applied to a case study of Perry High school in Ohio, USA. It is hoped that optimization model can be further applied to benefit other communities in the future.


จากการประชุมวิชาการ การบูรณาการเทคโนโลยี สังคมกับชุมชน คณะศิลปศาสตร์
King Mongkut’s university of technology Thonburi
September 22, 2006

Development of Tuberculosis Treatment Data Management System in Hospital of Nakhonratchasima Province

AUTHOR Mr.Pongsak Chaowanklang

ADVISORS Asst.Prof.Wirat Phongsiri and Asst.Prof.Jiratta Phuboon-ob

DEGREE M.P.H. MAJOR Information Technology Management in Public Health

UNIVERSITY Mahasarakham University DATE 2004

ABSTRACT

Findings from the studies of tuberculosis treatment in hospitals indicated that these were problems related to tuberculosis treatment included the problems of data collection for diagnosis, medical treatment records, sputum exam records, follow-up for mis-appointed case and incorrect reports. These problems are the causes of unsatisfactory tuberculosis treatments to patients as expected performances. The purposes of this study were to 1) development of tuberculosis treatment data management system in hospital of Nakhonratchasima province, and 2) identify satisfaction of health care personnel at tuberculosis clinic in hospital of Nakhonratchasima province with the tuberculosis treatment data management system. The samples whom convinced to evaluate satisfaction on tuberculosis treatment data management system were 32 health care personnel at tuberculosis clinic in hospital of Nakhonratchasima province. A stratified random sampling technique was employed according to the number of beds in the hospital. One hospital was selected from each strata and all of the health care personnel at tuberculosis clinic in the selected hospital were included. A Black-Box method was used to test the effectiveness of the tuberculosis treatment data management system. The system was evaluated by using the demonstration and interview. Data collection of the satisfaction of health care personnel was done by using the demonstration and interview. The instruments in this study consisted of the tuberculosis treatment data management system and the satisfaction of health care personnel with the tuberculosis treatment data management system questionnaires. The reliability of the satisfaction questionnaires was 0.93. The statistics for data analysis in this study were percentage, mean, and standard deviation.

The results of this study showed that (1) the developed tuberculosis treatment data management system was able to collect and search for treatment data, follow mis-appointed case, report the data to medical networks and analyze the treatment correctly, and (2) the satisfaction of sampling users with the tuberculosis treatment data management system was the most in the functional ability of the system, user interface and the security of the data.

In conclusion, tuberculosis treatment data management system developed by the researcher could responded to user requirement and support the clinical practice at tuberculosis clinic.