...+

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549

การแพทย์ทางไกลในยุโรป

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยังผลให้มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการกับข้อมูลทางการแพทย์ทุกรูปแบบ ไม่ว่า ภาพ ข้อความ หรือเสียงจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขอย่างมาก ทำให้การแพทย์ทางไกลหรือเทเลมิเดซีน ขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันสถานพยาบาลทั่วโลกได้นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวาง
ใน เมืองไทยเอง สมัย นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้โดยทุ่มงบ ประมาณเพื่อการนี้จำนวนมหาศาล แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับนโยบายก็เกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับ การจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับโครงการนี้อย่างหนักหลังจากหมดเปลืองเงินไปจำนวนมาก
ไม่แน่ใจว่าทุกวันนี้ได้มีการใช้ประโยชน์จากโครงการที่ทำกันไว้สักกี่มากน้อย

ใน ยุโรปมีโครงการปฏิบัติการข้ามชาติทางด้านเทเลมิเดซีนที่สำคัญๆ 5 โครงการคือ MAC-NET (Medical Advice Center Network) ชื่อก็บอกว่าเป็นเครือข่าวศูนย์ให้คำปรึกษาทางด้านการแพทย์เพื่อพัฒนาการ ปฏิบัติการทางการแพทย์ในทะเล เครือข่ายแห่งนี้เชื่อมกันอยู่ระหว่างเมืองแมดริด ประเทศสเปน เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ และกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
EUROTOXNET (European Toxicological Network) เป็นเครือข่ายที่ศูนย์พิษวิทยาซึ่งตั้งอยู่ในเมืองต่างๆ 5 เมือง ใน 5 ประเทศคือ เบลเยียม อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนและให้ความช่วยเหลือกันทางด้านแก้ไขปัญหาและรักษาผู้ป่วย ที่ได้รับพิษในแถบยุโรป
ETELNET (European Telemedicine Network) เป็นโครงการร่วมของ 7 ประเทศเพื่อใช้เทเลมิเดซีนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เพื่อ ประโยชน์ในการป้องกันและให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขในระดับชุมชน
GETS Project (Global Emergency Telemedicine Sevice) เป็นโครงการย่อยของโครงการเพื่อสุขภาพของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-7 โดยจัดตั้งเครือข่ายการให้การรักษาแบบฉุกเฉินผ่านระบบเทเลเมดิซีน ในลักษณะต่างๆ หลายภาษาและเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ท้ายสุดคือ GALENOS Project (Generic Advanced Low-Cost Trans European Network Over Satellite) โครงการพัฒนาการสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อการรักษาแบบเทเลมิเดซีน
โฟกัสไป ที่ฝรั่งเศสพบว่า การพัฒนาระบบเทเลเมดิซีนที่นั่นมีสามระยะคือ ช่วงแรกพัฒนาโดยแผนกไอซียู เชื่อมไปยังแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลเป็นเครือข่ายเพื่อส่งภาพคนไข้หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านอย่างรวดเร็ว สอง เป็นการสร้างฐานข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร เช่น สร้างไฟล์รวมข้อมูลการรักษาพยาบาลทางทะเล ฐานข้อมูลด้านเวชภัณฑ์หรือบรรณานุกรมสารพิษเป็นต้น ส่วนระยะที่สาม เป็นการเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบการสื่อสารเพื่อบริการทางการแพทย์คือ ใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาใช้ประโยชน์ในการให้บริการคนไข้ที่บ้าน เช่น โครงการ I-Net ของเมืองตูลูสนั้นสามารถให้การดูแลคนไข้ที่มีระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรงได้ หากคนไข้มีอุปกรณ์ที่จำเป็นอยู่ที่บ้านแล้วส่งข้อมูลที่จำเป็นผ่านเครือ ข่ายไปยังหน่วยสังเกตการณ์ในท้องถิ่น ซึ่งจะมีกระบวนการประมวลผลเพื่อส่งต่อยังศูนย์ควบคุมซึ่งมีระบบตัดสินใจและ เสนอแนะแนวทางรักษาให้ทันต่อสถานการณ์
ทุกวันนี้มีโรงพยาบาลใน ฝรั่งเศสกว่า 500 แห่งที่ใช้ระบบเทเลเมดิซีนใหม่ๆ และมีบริษัทเอกชนหลายแห่งผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ ออกมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อาทิ ซอฟต์แวร์เชื่อมระบบโทรคมนาคมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผลการเอ๊กซเรย์ การวินิจฉัย แฟ้มข้อมูลคนไข้ระหว่างโรงพยาบาล สร้างเครือข่ายเชื่อมคอมพิวเตอร์สองเครื่องซึ่งอยู่คนละแห่งเพื่อถ่ายโอน ข้อมูลด้านรังสีวิทยา ภาพสแกน ฯลฯ ระบบเก็บข้อมูลดิจิตอลแบบถาวร เครือข่ายรักษาแบบฉุกเฉินแบบแลกเปลี่ยนและแบ่งปันภาพ ฯลฯ ซอฟต์แวร์เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านหทัยวิทยา จักษุวิทยา การตรวจภายในร่างกาย ฯลฯ
กระแสการปฏิรูปสุขภาพในบ้านเราได้ปลุกให้วง การสาธารณสุขตื่นตัวจากการงมงายในเทคโนโลยีการแพทย์ที่ไม่จำเป็น เพราะทุกวันนี้ยังมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์โดยกองอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ จำนวนมาก แต่การติดตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
อะไรที่ไม่เหมาะกับฐานะและก่อประโยชน์ที่แท้จริงนั้น มักจะนำมาซึ่งปัญหาเสมอ