++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

Using mass media to prevent cigarette smoking among adolescent girls.


งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางการรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่จากสื่อ โดยทำการศึกษากลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีอัตราเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่สูง

ผลการวิจัย พบว่า
- การรณรงค์เกี่ยวกับบุหรี่ทางสื่อมวลชนโดยเจาะจงกลุ่มเป้าหมายสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายนั้นได้



ผู้วิจัย - Worden Jk และคณะ (2539)


การเผยแพร่สารสนเทศด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร


วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2538


วนิดา บิดร ( 2538/ 128-133) ศึกษาเรื่องการเผยแพร่สารสนเทศด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ใน จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่าแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่พระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างได้รับได้จากโทรทัศน์มากที่สุด ได้จากการพูดคุยและการสังเกตน้อยที่สุด ระดับการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศของพระสงฆ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการเผยแพร่สารสนเทศของพระสงฆ์ โดยส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย ซึ่งวิธีการเผยแพร่สารสนเทศที่ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง คือ การพูดคุยในโอกาสต่างๆ การแสดงปาฐกถาและการบรรยายการเทศนาสั่งสอน และวิธีการเผยแพร่สารสนเทศที่ปฏิบัติในระดับน้อยที่สุด คือการใช้ภาพโฆษณา การฉายภาพสไลด์ ระดับการใช้สื่อเพื่อการเผยแพร่สารสนเทศของพระสงฆ์ โดยส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย คือ วิทยุหรือหอกระจายข่าว ป้ายประกาศ นิทรรศการ เทปโทรทัศน์ และสื่อที่ใช้เผยแพร่สารสนเทศในระดับน้อยที่สุด คือ สไลด์ ปัญหาในการเผยแพร่สารสนเทศด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัด สกลนครที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาพระสงฆ์ขาดหนังสือ เอกสาร คู่มือ ที่มีเนื้อหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 77.80 และปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ ปัญหาพระสงฆ์ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 35.40


การพัฒนาชุดฝึกอบรมครู การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระกาเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2


ผู้ศึกษาค้นคว้า นายวีรศักดิ์ ศิลาวรรณ กศ.ม. หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.2548
อ.ที่ปรึกษา ดร.นิราศ จันทรวิจิตร

บทคัดย่อ
โครงงานเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ยึดผู้เรียน เป็นสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการเรียนรู้และกระบวนการของโครงงาน เพื่อจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัดและพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกอบรมครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงการกลุ่มสาระการเรียน รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้ชุดฝึกอบรมครู การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 จากศูนย์เครือข่ายดงแดงน้ำใส อำเภอจตุรพักตรพิมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 6 คนที่มีความสมัครใจเข้ารับการอบรมจาก โรงเรียนบ้านน้ำใสเที่ยมแข้ โรงเรียนบ้านบางเครือ โรงเรียนรัฐทวิคาม โรงเรียนพรหยานุสรณ์ โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคาร และโรงเรียนบ้านงูเหลือม เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) ชุดฝึกอบรมครู การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 (2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู ในการจัดกิจกรรมกาารเรียนรู้แบบโครงงาน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 ถึง 0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน (4) แบบประเมินแผนกรจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน (5) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อชุดฝึกอบรมครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกอบรมครู การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 มีประสิทธิภาพ 84.46/89.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้
2. ครูมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมครูในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานใน ช่วงชั้นอื่นๆ และเป็นแนวทางสำหรับครูหรือผู้สนใจที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ครูมีการพัฒนาตนเองและสอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา


การเปรียบเทียบผลการสอนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวแพรพรรณ สุวัน กศ.ม วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2548
อ.ที่ปรึกษา รศ.ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศโดยต้องเริ่มที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ในการคิดตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล และเลือกรับเทคโนโลยีมาใช้ในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมทันกับสภาพการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุหรือเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต จึงจะทำให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ และมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและปัญญา และมีทักษะในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การสอนวิทยาศาสตร์ความเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย และสามารถทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง คนดี และมีสุขได้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการสอนโดยใช้รูป แบบของวัฎจักรการเรียนรู้และรูปแบบของ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 86 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน 40 ข้อ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติที่ทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test และ F-test (Two-way ANCOVA) และ (Two-way ANCOMANOVA)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจัดประเภทสิ่งของ ด้านการวัด ด้านการใช้จำนวนตัวเลขและการคำนวณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลาและด้านการจัดกระทำข้อมูล เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ความอยากรู้อยากเห็น ด้านมีใจกว้าง ด้านคิดเชิงวิพากษ์ ด้านความเป็นปรนัย และด้านการยอมรับข้อจำกัด เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฎจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน (ยกเว้นด้านการพยากรณ์และด้านการลงข้อวินิจฉัย) และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน (ยกเว้นด้านความมีเหตุผล ด้านมีความรอบคอบ และความซื่อสัตย์) มากกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการสอน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน
โดยสรุป นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฏจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของ สสวท. ดังนั้น ครูวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน


การเปรียบเทียบผลการสอนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวแพรพรรณ สุวัน กศ.ม วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2548
อ.ที่ปรึกษา รศ.ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศโดยต้องเริ่มที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ในการคิดตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล และเลือกรับเทคโนโลยีมาใช้ในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมทันกับสภาพการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุหรือเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต จึงจะทำให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ และมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและปัญญา และมีทักษะในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การสอนวิทยาศาสตร์ความเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย และสามารถทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง คนดี และมีสุขได้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการสอนโดยใช้รูป แบบของวัฎจักรการเรียนรู้และรูปแบบของ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 86 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน 40 ข้อ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติที่ทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test และ F-test (Two-way ANCOVA) และ (Two-way ANCOMANOVA)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจัดประเภทสิ่งของ ด้านการวัด ด้านการใช้จำนวนตัวเลขและการคำนวณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลาและด้านการจัดกระทำข้อมูล เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ความอยากรู้อยากเห็น ด้านมีใจกว้าง ด้านคิดเชิงวิพากษ์ ด้านความเป็นปรนัย และด้านการยอมรับข้อจำกัด เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฎจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน (ยกเว้นด้านการพยากรณ์และด้านการลงข้อวินิจฉัย) และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน (ยกเว้นด้านความมีเหตุผล ด้านมีความรอบคอบ และความซื่อสัตย์) มากกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการสอน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน
โดยสรุป นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฏจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของ สสวท. ดังนั้น ครูวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน


.เทวดาท่าจะยุ่ง


มาจะกล่าวบทไป
ถึงเทพไท้สิงสู่อยู่สวรรค์
ให้เดือดร้อนอ่อนจิตคิด ไปพลัน
มนุษย์นั้นปั้นเรื่องให้เปลืองใจ
เข้าหักร้างถางพงดงป่าหาย
จนวอดวายหายสาปราบไฉน
เทวดาอารักษ์ปกปักษ์ ไพร
ก็ต้องไร้ที่อยู่สู่วิมาน

เป็นปัญหาคาอกหมกสวรรค์
ซึ่งนับวันพลันเพิ่มเติมผสาน
เหล่าอารักษ์เคยปกป่ามาตก งาน
เหาะเพ่นพ่านงานไม่มีที่ประจำ
เห็นข่าวลือจะถือป้ายหมายประท้วง
ถึงกระทรวงห้วงวิมานท่านให้หนำ
เหตุไฉนไร ปล่อยให้ไร้งานทำ
โอ้เวรกรรมทำองค์อินทร์แทบสิ้นลม
คำยุทธ ศรีพละธรรม

เสียเหล้า


เสียเหล้าดั่งร้าวมณีรุ้ง
อ้วกลมพลันพุ่งเจียวหนา
เย็นย่ำลงแดงเวลา
ท้องไส้ถูกพร่าดีกรี
ของเคยหยิบจุบจีบจุบจับ
มารานหนีลับไปนี่
อยู่ไหนโปรดคืนมาที
บรั่นดีวิสกี้ โซดา

จะจดจำไปจนปรโลก
ฟ้องนิยายโศกละหวา
ยมบาลแอลกอฮอลิเดย์มา
ยับยั้งภริยาผู้ห้าม กิน
เมื่อน้ำทองแดงขายไม่ออก
ขอบอกให้ท่านถวิล
นรกอับเฉาอาจิณ
อาจตกงานเมื่อสิ้นปีศาจสุรา
บุญเพรียง บ้านพลับ

เสียเหล้า


พลิกล๊อค..


ผมและเธอร่วมงานกันนานอยู่
นับเป็นผู้ใกล้ชิดสนิทสนม
ต่างอยู่ เดียวเปลี่ยวใจไร้คู่ชม
หัวใจผมวุ่นว้าทุกครามอง

ความเป็นเพื่อนเลือนลามเป็นความรัก
แต่ปากหนักเก็บไว้จน ใจหมอง
มิกล้าเอ่ยเผยความตามทำนอง
ได้แต่ปองใจฝันทุกวันมา


เธองามเพียบเรียบร้อยชดช้อยยิ่ง
เป็นยอดหญิงวงค์ยูงที่สูงค่า
ผมคนจนด้อยนักเพียงศักดิ์กา
เอาน้ำยาที่ไหนไปบอกรัก

เธอขับเก๋งมาทำงานปาน ดอกฟ้า
ผมโหนมากับสองแถวใจแป้วหนัก
เธอมีบ้านโอ่อ่าสง่านัก
ผมยังพักห้องแบ่งเช่าน่าเศร้าใจ


เงิน เดือนผมไม่ชนเดือนเหมือนฟ้าแกล้ง
โชคลาภแล้งวิปริตผิดไฉน
แต่กระนั้นพบหน้าเธอคราใด
เธอยิ้มให้โอภาเอื้อ อารี

แล้ววันนี้..ตัดสินใจเข้าใกล้ชิด
ระงับจิตจะเอ่ยปากยยากเหลือที่
เธอสบตายิ้มให้ด้วยไมตรี
ผมได้ที สุดปลื้มขอยืมตังค์

" แอ๊ด อัจฉริยะ"

แม่และลูก..


แม่และลูก..


ถึงฤดูเดือนสามยามหนาว ลมพัดพร้าวใบปลิวหวิวหวิว ผ้าซิ่นแม่ถูกลมพัดปลิว หมาน้อยจิ๋วแล่นหลิ้วคาบมา สาวน้อยแบกเสียมคอนกระต่า แล้วก็พาหมาน้อยสู่นา ด้วยหมายมุ่งขุดปูหาปลา จะนำมาเลี้ยงแม่ของ ตน
เด็กตัวน้อยค่อยขุดหาปู ขุดตามรูได้ปูตัวใหญ่ ขุดอีกรูได้ก็ดีใจ จึงขุดไปขุดได้ปู

หลงเพลินกับการหาปูไป ไม่ ใส่ใจกับแม่ของตน ไม่ได้คิดไม่ได้กังวล ก็เพราะตนเด็กตัวน้อยน้อย
แม่ก็ไปงานบุญงานทาน ไปงานนานเลยคิดถึงลูก ห่อขนมจะเอา ไปให้ลูก จึงได้ลุกคว้ากระต่ากลับบ้านตน

กลับมาบ้านไม่เห็นลูกสาว ก็เลยพ้าวรีบไปถามไถ่ ถามน้องสาวก่อนความแน่ใจ จะได้ไป หาให้สบายใจ
ได้ความลูกสาวลงไปทุ่ง แม่ก็มุ่งหน้าสู่ท้องนา ได้เห็นหน้าลูกสาวเดินหาปลา จึงได้พาลูกกลับบ้านตน

ลูกได้ปูแม่ได้ปลามา ต่างก็พากันกลับบ้านตน กลับบ้านกลับเรือนทั้งสองคน ทั้งสองคนต่างก็ดีใจ "ขันเตียน นามเกตุ"

ศีลนรก....


ปาณาติปาตาห้ามฆ่าสัตว์
หากจะมัดขาไก่เอาไปขาย
อย่าให้ พระท่านเห็นจะเป็นร้าย
กินลาบควายค่อยขม้ำกินค่ำคืน

อทินนาลักทรัพย์แค่นับร้อย
ดูนิดหน่อยเกินไปอยาได้ ขืน
หากจำนวนสิบล้านอย่าคร้านกลืน
จะแช่มชื่นสุขสบายเมื่อปลายมือ!


กาเมสุมิจฉาอย่าเจ้าชู้
คิด สมสู่เมียลับเสื่อมนับถือ
จะรักใครชอบใครอย่าได้ยื้อ
เพียงเซ็นต์ชื่อบนเช็คก็เทคแคร์

มุสาวาโทอย่าโกหก
ยามเกิดตกที่นั่งดั่งเจ้าแม่
ถูกจับได้ไล่ทันฟันเรื่องแชร์
ก็คิดแก้ตัวไปฉันไม่โกง


สุราเมรยกระดกแก้ว
เมือ่กินแล้วสุขสบายไม่ตายโหง
กินกันเถอะพ่อกินรินเหล้าโรง
หรือแม่โขงเซียงซุนเรื่องคุณเอง

ศีลห้าข้อพอดี ที่พระห้าม
ทุกโมงยามค่ำเช้าขอเราเคร่ง
ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยั่วไม่กลัวเกรง
ผมเลยเร่งเอาหนามบ่งหนามเอย

"ทักษมายัน"

ปรัชญาท้ายรถ..


ขอกำหนดจดความตามท้องเรื่อง
ยุคดำเฟื่องเมืองไทยไม่เป็น สอง
ตามรถรามีเห็นเด่นลำพอง
นำมากรองกลั่นเขียนเวียนกันไป

เห็นน้องนุชขึ้นรถพี่สดชื่น
พอน้องลื่น ลงรถหายสดใส
ทับไม่ร้องท้องให้รับจับทันใด
ขับรถไวประมาทพลาดพลั้งตาย


พอขับเร็วก็ว่าช้าก็บ่น
เดินถนนดูรถกำหนดหมาย
เวลาข้ามต้องข้ามทางม้าลาย
จะสบายทั้งรถยนต์และคนเดิน

จ้างไม่เข็ดเป็ดไม่กลัว ชัวร์ไหมพี่
ขับให้ดีมีคนเขาสรรเสริญ
พี่น้องซ่าเพราะยาคุมกลุ้มเหลือเกิน
อย่าขับเพลินเกินกฏจราจร


ปรัชญาท้ายรถไม่หมดหรอก
จะซ่อกซ่อกเสาะหามาสลอน
พอเหม็นปากเหม็นคอนะบังอร
เรื่องคำกลอนพอรู้ครูสอนมา

"วิรัตน์ ประพฤติดี"

เมื่อวานที่บ้านผม


หวังมุ้งมิ้งเรไรร้องก้องเซ้งแซ่
พ่อกับแม่กลับจากนามาถึงบ้าน
แม่ เข้าครัวหุงหารับประทาน
พี่หลวงต้มน้ำตาลข้างลอมซัง

เสียงพ่อเฒ่ากราวบทลูกคู่รับ
เป็นบทขับเล่าเรื่องแต่เบื้อง หลัง
น้องตัวนุ้ยชายหญิงนั่งนิ่งฟัง
นิยายดังครั้งแม่เฒ่ายังสาวพริ้ง


เอมข้าวค่ำพ่อผลัดผ้าคว้าคันเบ็ด
ไส้เดือน เด็ดเกี่ยวปักไว้ชายตะหลิง
คลองหน้าบ้านแหล่งอาหารชีวิตจริง
ไม่ทอดทิ้งคนขยันให้งันตาย

แว่วเสียงแม่โก้บอกไป บ้านน้า
ตอโพรกแชบไปนาอย่าให้สาย
เสร็จบิ้งใหญ่ไปช่วยงานเขาสักงาย
บอกเขาด้วยหวันซ้ายช้ายกูค่อยไป

น้ำ ในคลองต้องลมระเรื่อยเฉื่อย
เป็นคลื่นเอื่อยน้อยน้อยทยอยไล่
เดือนดวงเสี้ยวลอยต่ำเห็นรำไร
ทุกคนเริ่มหลับไหลราตรี ยาว


เสียงสอกแสกข้างลอมซังพ่อนั่งจ้อง
กุมลูกซองตะคอกเสียงทุ่มห้าว
เณรกับแฟนค่อยค่อยย่อมมองตาวาว
ซุบซิบบอกพ่ออย่าฉาวนี่บ่าวเอง

เกษม ทิพย์

คนละยุค


คำพังเพยเฉลยไว้ใคร่ถามเจ้า
เช่น "เนื้อเต่า.." ต่อไปว่าไงหนอ
อ๋ อ "แกล้ม เหล้าแซบอีหลี " อย่ารีรอ
แหมคุณพ่อชอบจังพลังดี

"เงื้อง่าราคาแพง" รุนแรงนัก
แทงให้ไส้ไหลทะลักเลยลูกพี่
มัวเงื้อง้าช้าไยใส่ทันที
ให้ลงก้นอเวจีเป็นผีไป

อัน"ปั้นน้ำเป็นตัว" ยั่วโมหันธ์
อ๋อเอาเข้าเครื่องปั่นปั้นก้อนได้
เติมน้ำหวานตาลสดซดทีไร
น้ำแข็งเย็นชื่นใจสบายครัน


"มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท"
ไม่พอฟาดหรอกพี่ภาษี นั่น
มูลค่าเพิ่มเติมต่อล่อตะบัน
บ๊ะเลิกกันดีกว่าไอ้บ้าลำโพง

ไพรัตน์ กุลชา

อันเกิดจากการกดปุ่ม


เมียผมนอนขี้เซาเอามากมาก
หลับแล้วยากจะลุกปลุกให้ตื่น
หัวถึงหมอนนอนพับหลับทั้งคืน
กว่าจะฟื้นสายโด่งสามโมงเช้า

กลางวันไม่มีใครอยู่ในบ้าน
ต่างออกไปทำงานแม้ลูกเต้า
ทิ้งภาระคนรับใช้ไว้ให้เรา
อันงานบ้านใช่เบาสบายสบาย


ถ้าสองแรงล่ะก็ยังพอว่า
นี่แม่เมียคู่ขามาตื่นสาย
งานที่หวังให้หล่อนช่วยผ่อนคลาย
ผบสุดท้ายผมทำรับกรรมแทน

วันหนึ่งมีเพื่อนเก่าเมามาหา
ถึงขี้เหล้าทว่าวิชาแม่น
เห็นทำงานง่านอยู่มันดูแคลน
เพราะใช้แผนโง่โง่แบบโบราณ

"ยุคสมัยไฮเทคยุคเสกสรร
ยุคน้ำมัน ไฟฟ้า" มันว่าขาน
"ทำไมไอ้เพื่อนรักโง่ดักดาน
ไม่ทำการกดปุ่มแทนทุ่มแรง"


จากวาจาด่าครึ่งอีกหนึ่งแนะ
กดปุ่มดีจริงแฮะเห็นจะแจ้ง
เมียผมลุกเริงร่าก่อนฟ้าแดง
ให้ผมครองตำแหน่งแห่งการนอน

ศิลาฤกษ์ รักษ์เมือง

เมาชั้นครู


บัตรสนเท่ห์ใบหนึ่งถึงศึกษาฯ
ฟ้องนายมามักเมาครูเขาใหญ่
ว่ากินเหล้าเมาสะบั้นทุกวันไป
เด็กมิได้เรียนร่ำน่ารำคาญ
ศึกษาอ่านใจอ่อนค่อนข้างแย่
รีบไปแต่เช้าตรู่ดูหลักฐาน
ถามเรื่องที่ยุ่งยากจากสมภาร
ท่านแจ้งการว่าอยากรู้..คอยดูเอง
สามโมงแล้วครูมาหามาไม่
เด็กวิ่งไขว่ครื้นเครงกันโฉงเฉง
จากกุฏิศึกษาดูอยู่ตามเพลง
ให้นึกเกรงนึกอดสูองค์ครูบา

จวนสี่โมงครูมามาจริงจริง
เดินสะวิงเอวไกว่ออกชายป่า
ตุปัดตุเป๋เซซังลัดกลางนา
ท่านศึกษามองเขม้นเห็นลวดลาย

พอมาถึงศาลาเด็กฮาโห่
ร้องไชโยวิ่งเข้าชั้นกันเป็นสาย
ครูออกเลขไม่ทันจะอธิบาย
ก็เอนหายคออ่อนนอนพับไป

ศึกษารีบรุดมาน่าเกรงขาม
ปลุกขึ้นถามเรื่องเมานอน..สอนไม่ไหว
ครูมาตอบอ้อแอ้ แก้ทันใด
ถึงเมาได้เผานั้น...เมาชั้นครู
โสมนัท ถุงเงิน


หันวัวแต่หัววัน



































































. แดดบ่ายลงนั่งล้อมรุมกัน
มาช่วยกันทำวัวหันอย่าช้า
หันวัวแต่หัววันกันหน่อย
อย่าเร่งทำเมื่อฟ้าหมดสิ้น แสงตะวัน

. หันวัวแต่หัววันร้องเรียกกันมาหันวัว
เด็ดเดี่ยวไม่เมามัวสงสารวัวตัวที่หัน
วัวนิ่งอย่างซึมเศร้าไซริงซ์เร้าฉีดตัวมัน
เหงื่อตกอย่างรู้ทันเห็นทีฉันถูกหันกิน

. หันวัวมัวนั่งเปล่าไม่มีเหล้ามานั่งริน
ใครใครเขาได้ยินจะหัวเราะไม่เหมาะเลย
วัวหันแจกกันทั่วอย่ามามัวนั่งเฉย เฉย
ดวดดื่มตามเสบยอย่างที่เคยเลยนะคุณ

. กินไปใครไม่ว่ารินแจกช้าอย่าทำฉุน
กินเสร็จขอพวกคุณช่วยเจือจุนจ่ายค่าวัว


เอกรัฐ อินทร์แสง

เหนือยอดปรารถนา


ก็พี่รักน้องอยู่ไม่รู้หรือ
เพราะน้องคือคนในดวงใจพี่
น้อยและนิดคิดร้ายจะไม่มี
น้องจะทำอะไรตามใจเถิด
ย่อมประเสริฐไม่มีสิ่งที่ผิด
ด้วยพี่รักจริงแท้แม่ยอดมิตร
ไม่เคยคิดจะทำให้ช้ำใจ

เพราะน้องเองเข้าใจในตัวพี่
ช่างแสนดี..ซื้อเหล้าเอามาให้
แล้วอย่างนี้จะให้ไปรักใคร
พี่ยอมได้..ยอมทน..เพื่อคนดี
อ้าว..แล้วกัน..น้องทำขวดเหล้าแตก
ใจพี่แหลกย่อยยับลงกับที่
ทำไมน้องซุ่มซ่ามทำอย่างนี้
ตีให้ตามซะที....ดีไหมเว้ย
ไสว เม้ยขันหมาก

ลำนำค่ำเดือนสิบสอง


ประดับหล้าฟ้าผ่องสิบสองค่ำ
ชโลมร่ำแผ่นดินกลิ่นบุหงา
กระทงลอยล่องลงแม่คงคา
ปทุมมาบางแบ่งรับแสงเดือน

ยิ้มละไมไรขลับรับดวงหน้า
จำนรรจาหวานล้ำคำใครเหมือน
หมอกลิ่นสไบนางมิร้างเลือน
เจ้ามิเยือนเดือนคงลานภาภางค์

ผิวผ่องเพราพริ้วเพรียวงามเรียวนิ้ว
ยามลมพริ้มอยากเป็นลมสมแบบอย่าง
เพราะได้ใกล้กายสงวนนวลสอางค์
มิยอมห่างคงไม่เว้นนางเห็นใจ
จะเป่าขลุ่ยข้างเจ้าทุกเช้าค่ำ
แต่งลำนำเพลงโสมประโลมใกล้
แม้มิได้จำเรียงมาเคียงใจ
จะขอไกลสาบส่งลงคงคา

เพ็ญเจ้าจวนจะด่วนลาฟ้าจะหมอง
เดือนสิบสองคลองไร้แสงแห่งดาหลา
เทียนดับวูบธูปไม่เห็นเร้นคงคา
พี่ขอลา กระทงล่ม จมนที

คนดอกไม้



Technorati :

พลาดรักเมื่อ 62 ปีมาแล้ว

















































































































๐ บนเขาสูงเลิศล้ำเลอตา
ผมและแฟนทานน้ำชาอร่อยแท้
แต่สูงลิ่วราคาห้าสิบ ลีร์นอ
เก้าเท่าข้างล่างแล้เขตนั้นเนเปิล


๐ ชายคนหนึ่งสะกิดให้ไปดู
เงินสลักตัวของหรูเด่นฟ้า
ปรมาภิไธยภู-วเนตร เสียมนอ
รัชกาลที่ห้าอีกทั้งราชวงศ์


จ้าวชั้นทูลหม่อมฟ้าสิบองค์
พระอนุชา "ดำรง-นุภาพ" ด้วย
อ่านนามจบงันงงปลื้มจิต
เพราะนั่งที่เหวยผลบ๊วยกึ่งร้อยปีมา


๐ค่าอาหารคิดแล้วไม่แพง
เราอาจคุยดำแดงค่อนหล้า
ว่าเคยนั่งกลางแปลงริมราช อาสน์นอ
เขาเด่นสูงจดฟ้าไม่ร้อนเย็นสบาย


๐ แฟนเป็นมัคคุเทศก์แท้น่าชม
พาเที่ยวที่อุดมวิทย์ล้ำ
แสนรักแต่จะสมรสไม่ ได้นอ
ต่างศาสน์ ทำเกินก้ำโกรธแล้วเลิกกัน


๐ ถ้าเปลี่ยนเป็นคริสต์ได้ดั่งใจ นงนอ
เธอจะยอมมาไทยพรุ่งนี้
ผมก็ว่าศาสน์ใดดีเท่า พุทธฤา
เราต่างลัทธิ์ยอมลี้เริศร้าง ลืมลา




จ.บุนนาค



Technorati :

.............. กลอนไม่มีชื่อ


ไม่มีชื่อกลอนชิ้นนี้หรอกที่รัก
เพราะพะวักพะวนกมลเหลือ
เขียนอย่างไรก็ไม่คุ้นเคยจุนเจือ
กลอนมันเบื่อตัวฉันแล้ววันนี้
ปลายปากกาแห่งอารมณ์เคยคมกริบ
เพียงกระซิบตาหรุบพลับบุบบี้
หมึกซึ่งซีดกรีดซัดกัดฤดี
จะเป็นสีอะไรก็ไม่เป็น

แล้งน้ำหมึกแล้งน้ำจิตแล้วคิดฝัน
หนึ่งสะบั้นสำนวนซึ่งควรเห็น
หนึ่งถูกหลอกปอกเปลือกเคยเยือกเย็น
หนึ่งเคยเข็ญแค้นเลือดลับเอากับปู
แวดวงของความเขลาไม่เอาไหน
กลอนจึงไม่มีรสน่าอดสู
เป็นกระด้างเทอะทะกลอนประตู
ความทื่อทู่ยืนเหยียบตัวเฉียบพลัน

ไม่มีอีกบทกวีไม่มีอีก
ฉันจะหลีกเมื่อเธออยากไกลจากฉัน
วันเหลือไม่มีรักเผื่อไม่เหลือวัน
ตายอย่าปันจิตหาปันอย่าตาย
เธอคงเกลียดนักฝันเช่นฉันแล้ว
คงมีแก้วดวงใหม่ไว้มุ่งหมาย
เพราะฉันหลอกตัวเองมาอย่างน่าอาย
และเป็นฝ่ายลวงเธอเสมอมา....
บดินทร์ รัตนมาลี

ถ้าเธอคิดว่า..มาเพราะสงสาร


ถ้าเธอคิดว่า..มาเพราะสงสาร
จำให้ขึ้นใจว่าไม่ต้องการ เชิญกลับไปได้
แม้เธอจะเจตนาดีและห่วงใย
แต่ฉันไม่อยากเป็นคนที่น่าเห็นใจ
..ไม่อยากให้ใคร..ใครคอยเวทนา
ถ้าฉันไม่คู่ควรก็จงทิ้งฉันไป
แต่หากรักกันด้วยดวงใจ และรู้สึกได้ว่าฉันมีค่า
นั่นแหละคือสิ่งเดียวที่เรียกร้องตลอดเวลา
เพียงอยากรู้ให้ชัดเจนว่า..
..ที่เธอกลับมา..เพราะ "รักฉัน" จริง_จริง

วรพนิต

รัก 2 แบบ


หากรักเป็นเช่นฝนหล่นจากฟ้า
ชั่วชีวาคงสดใสในสายฝน
หากรักเป็นดั่งลมหนาวคราวเคล้าปน
กับลมฝนรักคงอุ่นจุนเจือใจ
เมื่อรักใครบางคนที่ทนรัก
ยากจะหักความคิดถึงคะนึงหาย
ยากจะบอกว่ารักสักเท่าไร
เอื้อนเอ่ยได้แค่กับตนเพียงคนเดียว

เพราะเขาไปไม่หยุดสุดขอบฟ้า
เกินตามหาด้วยใจรักหนักแน่นเหนียว
รู้ไว้เถิดว่ายังรักภักดิ์ใจเดียว
ถึงเพียงเสี้ยวรู้ได้ว่าใครคอย

ฑิฆัมพร ชาลีกุล

ลงตีพิมพ์ในคอลัมภ์ "รินฝัน"
หญิงไทยรายปักษ์ ฉบับที่ 521


กาลเวลาไม่ได้บอกว่าใครคือเพื่อนแท้
ความเป็นจริงมีเพียงแต่ความห่วงหา
จริงใจ ให้กำลังใจตลอดเวลา
แค่นี้ก็อาจเรียกได้ว่าเพื่อนจริง
ความรู้สคก แค่มีคนคิดถึง
เป็นคนคนหนึ่งที่ไม่เคยถูกทิ้ง
ห่างกันบ้าง ในบางเวลาความเป็นจริง
แต่ยังมีเธอให้ใจพักพิงตลอดมา

หน่า/ดอกฝิ่น


งาน งาน งาน


งาน งาน งาน
สิ่งเดียวที่เธอต้องการในชีวิต
กี่วันคืน ที่เธอฝันจะยึดติด
เหลือเวลาเพียงน้อยนิดที่ให้กัน

เงิน เงิน เงิน
ช่างยิ่งใหญ่เหลือเกินความฝัน
โลกของเธธอช่างแสนเศร้าและเหงางัน
ไม่ต่างจากโลกของฉัน..ที่ไม่มีเธอ

"วินิตา..กลุ่มด้ายสีม่วง"

เพราะสมมุติความเป็นเราว่าคือ..รัก.


เพราะสมมุติความเป็นเราว่าคือ..รัก..
จึงต่างคนต่างทึกทักว่าเออ..ใช่
เหมือนต่างคนต่างเป็นใครของหัวใจ
จึงทำเป็นต่างห่วงใยกันและกัน

แต่เพราะรักนั้นเพียงแค่สมมุติ
จึงสิ้นสุดด้วยเวลาแค่สั้นสั้น
แค่คนเหงาสองคนมาเจอกัน
ความผูกพันเพียงแค่ "คนคุ้นเคย"

เข็มขาว

กลิ่นหอม ความฝัน


แผ่วแผ่วกลิ่นหอมฟุ่งกับสายลม
ผสานผสมกลิ่นหอมของพฤกษา
กลิ่นแผ่วแผ่วหวานหวานเนิ่นนานมา
หอมยิ่งกว่ากลิ่นใดในแดนดิน

ความหอมหวานชวนใจให้หลงรัก
อยากรู้จักโหยหาไม่จบสิ้น
หอมนักหอมอยากดมดอมอยากดื่มกิน
ชื่นชมกลิ่นความฝันสักคราใจ

ยิ่งลมโชยยิ่งโปรยกลิ่นถวิลหอม
อยากใต่ตอมกลิ่นหอมที่ฝันใฝ่
ตะเกียกตะกายไขว่คว้าสุดแรงใจ
แต่ไฉนยิ่งห่างไกลไปทุกที
หอมเอยหอมหอใมถวิลกลิ่นความฝัน
หอมทุกวันทุกเดือนที่เคลื่อนที่
ยิ่งหอมมาก เสียแรงมากไปทุกที
หอมอย่างนี้ทุ่มเททั้งกายใจ

ความหอมหวนชวนใจให้หลงรัก
หอมสลักปักจิตผิดไฉน
หอมจริงหอม หอมกลิ่น ความฝันใคร
ช่างแน่ไซร้หอมกลิ่นความฝันตน
หลงความหอมเหมือนหลงสิ่งประหลาด
ไม้กลัวขลาดความโหดร้ายกลัวหมองหม่น
ตะเกียกตะกาย สูดความหอมความฝันตน
ยอมเจ็บทนไม่ขอร้างว่างฝันเลย

จิรา กัณถมะเสลา

อ่อนล้าอ่อนใหวในวันวาด


อ่อนล้าอ่อนใหวในวันวาด
บุพชาติหวั่นหวาดอยู่ใหวใหว
แรงเรี่ยวระทดท้อนักดวงใจ
เพรียกหาใครจำนัลจาพี่ล้าแล้ว

กู่เรียกเจ้าเข้ามาพี่ล้าอยู่
เพียงสำเนียกหดหู่นักรู้ใหม
เจ้าคงคล้ายคนอื่น..อื่นทั่วไป
ไม่เห็นใจคนอ่อนใหวให้คำนึง

แม้นมีเจ้าเข้ามาไม่ล้าแล้ว
เจ้าคือแก้วมณีผ่องพโยมหล
เจนจำรัสเจิดจ้านภาดล
รสสุคนธ์หนึ่งในใจพี่นัก

แม้นเสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
ไม่หมายมุ่งสิ่งใดให้ใจหมอง
น้ำค้างจากทิพเนตรนั้นเนืองนอง
คงเป็นคลองแห่งธารระทม

พี่คงจมแห่งห้วงมหรรณพ
แม้นไม่พบนวลน้องครองสมร
น้ำตาหลั่งทั่วหล้าเป็นนาคร
ห่วงอาวรณ์ตัวเจ้าไม่เว้นวาย

ลำคี

มหัศจรรย์แห่งรัก..


เมื่อใดหัวใจกระวนกระวายสับสน...
หวั่นไหวเพราะใครบางคน โดยไม่มีสาเหตุ...
ปล่อยมันเป็นไป และเพียงเราลองเปิดใจ....
จะพบว่ามีบางคนพิเศษ เกิดขึ้นในใจ เปลี่ยนโลกทันใด....
มหัศจรรย์แห่งรัก สร้างสรรค์พลังอันยิ่งใหญ่....
ต่างคนอยู่ไกลแสนไกล กลับมาอยู่เคียงชิดใกล้....
ก่อฝันในใจด้วยรักและความผูกพัน....
เมื่อเธอสบตากับฉัน ต่างพบว่าใจเราไหวหวั่น...
เป็นนาทีที่สำคัญ จดจำต่อไปแสนนาน.....
ตราบวันผ่านผันภาพยังไม่จางไม่เลือนลางจากหัวใจ.....

ดั่งเหมือนถูกแรงดึงดูด...
ใจเธอกับฉันไว้เคียงคู่กัน....
หากเมื่อใดที่กายต้องห่าง.....
จะอ้างว้างเพียงใด เงียบเหงาในใจเท่าใด.....
อบอุ่นดังดวงตะวัน....
อ่อนหวานละมุนดังแสงจันทร์....
เมื่อเราเอื้อมมือถึงกัน....
โลกคล้ายหยุดหมุนชั่วกาล....
จะมีเพียงฉันและเธอข้ามผ่านเขตคืนวันอันสวยงาม....
" ชวิณี เกษบุญชู "

ยินยอม


ยังมีการเดินทางอีกหลากทิศ
สุดแต่จิตจับจดกำหนดหมาย
หาหนทางอันมิเที่ยงเที่ยวเสี่ยงทาย
จะดีร้ายดิ้นรนหาหนทาง
ทางที่คิดทิศที่คาดก็วาดหวัง
ใจกังวลพะว้าพะวังมิอาจว่าง
มิอาจปล่อยละปลดกำหนดวาง
เหมือนอวดอ้างอภิสิทธิ์ของจิตใจ

ให้ใจก้มหาญกล้าเข้าหารัก
มิรู้จักรู้จิตเดินทิศไหน
เจ้าใจกล้าพาร่างไปทางใด
ก็สุดแต่จะพาไปตามใจมัน

"วาณิช จรุงกิจอนันต์"

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

สำรวจนิสัยการขับขี่ของชาวราศีคนราศีตุลใจเย็นมากกว่าเพื่อน

สำนัก \"เวอร์จิน คาร์ส\" ในอังกฤษ ได้สำรวจนิสัยการขับขี่รถยนต์ของผู้ขับขี่ยวดยาน ของชาวราศีต่างๆโดยการสัมภาษณ์ ผู้ขับขี่รถจำนวน 1,002 คน ได้ผลออกมาว่า ชาวราศีมีน เป็นผู้ขับขี่รถที่มีความอดกลั้นดี ผิดกับชาวราศีสิงห์ กลับจะไม่ค่อยใจเย็นเท่าไหร่นัก ยิ่งเห็นคนขับวิ่งฝ่าไฟแดงมา จะยิ่งรู้สึกแค้นหนักขึ้น ส่วนชาวราศีมีน จัดว่าเป็นยอดของผู้ขับขี่ที่มีความระมัดระวังมากที่สุด

นักวิจัย ผู้ทำการศึกษายังแจ้งต่อไปว่า คนขับรถชาวราศีเมษมักจะรู้สึกรำคาญ กับการขับขี่ของรถคันอื่นบ่อย ผิดกับชาวราศีพฤษภ มักไม่ค่อยเดือดเนื้อร้อนใจอะไรนัก ส่วนเจ้าของรถชาวราศีเมถุน จะรักและทะนุถนอมรถของตนเองมากที่สุด แต่ส่วนเพื่อนนักขับชาวราศีกรกฎ กลับไม่สู้ใจเย็นนัก และรู้สึกเอือมกับกล้องถ่ายภาพ ที่คอยตรวจจับความเร็วของรถของตำรวจทางหลวงอย่างยิ่ง

ผู้บริหารของ \"เวอร์จิน คาร์ส\" ให้ความเห็นว่า \"ถึงแม้มันจะเพียงเป็นแค่งานวิจัยที่ไม่เป็นเรื่องจริงจังอะไรนัก แต่มันก็ช่วยยืนยันให้เห็นว่า คนเรามีนิสัยการขับขี่ รวมทั้งความสามารถไม่เหมือนกัน\".

ถ้าหากพบลูกหลานอดหลับอดนอน ต้องโทษโทรทัศน์ว่าเป็นตัวการได้

รายงานการศึกษาวิจัยในอังกฤษ ได้พบในการศึกษาวิจัยกับเด็กวัยระหว่าง 6-12 ขวบ จำนวน 74 คน ที่ถูกจำกัดการดูโทรทัศน์ เอาไว้วันละเพียงแค่ 3 ชม. เป็นระยะเวลานาน 1 สัปดาห์ จากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเมลาโทนินในปัสสาวะ ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมการนอน พบว่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 30% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กคนที่มีอายุน้อยที่สุด

ตามปกติ ร่างกายของคนเราจะมีการขับฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อเวลาล่วงเข้า 3 ทุ่มของแต่ละคืน ช่วยให้เรานอนหลับสบายตลอดทั้งคืน.

ศึกษาวิจัยเปิดหัวใจของลูกผู้ชาย กินผลไม้ต้องมีคนปอกให้พร้อม

นักวิจัยศึกษารู้ใจของพวกผู้ชายว่า จะเต็มใจกินผลไม้อย่างง่ายดาย ถ้าหากมีคนปอกและหั่นเป็นคำๆ เอาไว้ให้พร้อมเสร็จแล้ว ด้วยเหตุว่าเคยมีแม่มาทำให้เมื่อตอนเด็กมาก่อน

ผู้เป็นเจ้าของความ เห็นนี้ได้แก่นายเจมส์ ปอลเลต ซึ่งได้รายงานในวารสาร \"ซิตีคลินิกโภชนาการ\" ของนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เขากล่าวว่า ความเห็นในเรื่องนี้เชื่อถือเป็นทฤษฎีได้ว่า \"ผู้ชายมักจะชอบกินผลไม้ เมื่อมีมาวางพร้อมเสร็จ ตั้งอยู่ต่อหน้าเท่านั้น ในขณะที่ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายชอบตระเตรียมอาหารมากกว่า\" เขากล่าวเสริมว่า \"ด้วยเหตุว่าผู้ชายติดนิสัยอันนี้ มาตั้งแต่มีแม่มาคอยเตรียมทำให้ตอนสมัยเป็นเด็กแล้ว\".

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการป่าและทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน : การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการป่าและทรัพยากรชีวภาพโดยชุมชน

ได้เริ่มดำเนินการโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน 2540 โดยการเริ่มสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรร่วมและชุมชนในเครือข่ายป่าชุมชนใน 15 พื้นที่ ซึ่งในจำนวน 10 พื้นที่นั้น มีกฎ กติกา และแผนในการจัดการและใช้ประโยชน์ป่าอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการดำเนินงาน เพื่อ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนและทรัพยากรชีวภาพในชุมชน 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลป่าและทรัพยากรชีวภาพในชุมชน 3) ส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลในการจัดการ การติดตามและเฝ้าระวังป่าและทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น และ 4) พ ัฒนา บุคลากรทางด้านการจัดการป่าและทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยเน้นการสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่น การทำความเข้าใจร่วมกัน ร่วมกำหนดขอบเขต และสร้างแผนการจัดการป่าชุมชน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรม สัมมนา และจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการทำให้ทราบสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงในชุม ชนโดยอาศัยการสังเกตและการบันทึกข้อมูล มีการศึกษาและประเมินสภาพชุมชนและทรัพยากรชีวภาพในป่าร่วมกับชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน เช่น ข้อมูลด้านกายภาพ ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลทรัพยากรและการจัดการ จากนั้นร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำกลับไปสนับสนุนการจัดการป่าของชุมชน และได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการของทุกพื้นที่ ส่วนระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ได้เน้นการพัฒนาใน 5 พื้นที่ที่เป็นตัวอย่างของแต่ละภูมิภาคของประเทศ

คณะผู้วิจัย - สมศักดิ์ สุขวงศ์, สมพร ตันหัน, ทวี แก้วละเอียด, เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์, สมชาย มโนพิรุฬพร, แพรวพรรณ นาคขุนทด

ยับยั้งโรคกุ้งด้วยสมุนไพรไทย เร่งศึกษาลดปัญหากีดกันการค้า

จนถึงขณะนี้ กุ้งกุลาดำ ของไทยเราก็ยังถูกกีดกัน จากประเทศคู่ค้าไม่เลิก และดูจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวด กับข้อกำหนดการปนเปื้อน ของยาปฏิชีวนะ ในกุ้งกุลาดำเข้าไปอีก ส่งผลให้เกิดการชะลอ ทางด้านการผลิต และการตลาดส่งออกอย่างรุนแรง

ส าเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สหภาพยุโรป (อียู) กีดกันกุ้งไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการจัดการฟาร์มที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรยังเคยชินกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงกุ้ง ไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง การขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ ลูกกุ้งขาดคุณภาพ กุ้งแคระแกร็น ต้นทุนการผลิตสูง ราคากุ้งตกต่ำ ฯลฯ

จ ากปัญหารุมเล้าดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งของป ระเทศไทย ทั้งระบบและครบวงจร ในปีงบประมาณ 2546 โดยมีโครงการวิจัยทั้งหมด 7 ชุดโครงการ

ผลของสมุนไพรไทย 3 ชนิด ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรค การเจริญเติบโต อัตรารอด สุขภาพกุ้ง และความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ เป็นหัวข้อหนึ่งภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารกุ้งกุลาดำเพื่อนำไปสู่การผลิตกุ้งปลอดภัย ปลอดสารพิษและเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.มะลิ บุณยรัตผลิน เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย

ดร.มะลิ กล่าวว่า จากการตรวจพบสารตกค้างปฏิชีวนะ ของสหภาพยุโรปในกุ้งกุลาดำของไทย และสหภาพยุโรปได้ใช้ประเด็นนี้กีดกันกุ้งไทยมาตลอดจนถึงขณะนี้ ส่งผลให้ราคากุ้งดำดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรต้องดิ้นรนหาวิธีเพื่อลดต้นทุน และลดปัญหาสารตกค้างในกุ้งไปในเวลาเดียวกัน

ปัจจุ บันจึงมีเกษตรกรหันมาใช้สมุนไพรเลี้ยงกุ้งมากขึ้น แต่การนำสมุนไพรมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังขาดข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนในเรื่องประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพของสมุนไพร ตลอดจนคุณภาพของสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหรือปริมาณความคงที่ของสารสำคัญ

เ พื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำสมุนไพรมาใช้แทนยาปฏิชีวนะและสารเคมี จึงได้ศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรไทย 3 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และพญาปล้องทอง ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรค การเจริญเติบโต อัตรารอด การตอบสนองภูมิคุ้มกัน และความต้านทานต่อโรคเชื้อ Vibrio harveyi และเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ในกุ้งกุลาดำ โดยใช้สมุนไพรในรูปของสารสกัด

จากการวิเคราะห์คุ ณภาพและหาปริมาณสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด พบว่า สามารถใช้แอลกอฮอล์สกัดสารจากสมุนไพรได้ทั้ง 3 ชนิด โดยยังคงปริมาณและคุณภาพสารสำคัญไว้ และยังง่ายต่อการควบคุมปริมาณการใช้ อีกทั้งสารสกัดดังกล่าวยังคงคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Vibrio spp ในโรคกุ้งได้ โดยสารสกัดขมิ้นชันมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวนอกตัวกุ้งได้ดีที่สุด

น อกจากนั้น เมื่อนำสารสกัดสมุนไพร ที่ได้มาผสมอาหาร ให้กุ้งกุลาดำ ในระดับความเข้มข้นไม่เกิน 25 มก./กก. (0.025%) พบว่า ขมิ้นชันทำให้กุ้งมีประสิทธิภาพ ในการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสได้มากขึ้น ในขณะที่กุ้งมีประสิทธิภาพ ในการต่อต้านเชื้อไวรัส WSSV ได้ดีขึ้น

จากผลการศึกษาที่ได้นี้ก็จะเป็นปร ะโยชน์อย่างมาก ต่อแนวทางในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อนำสมุนไพรไทยไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคติดเชื้อ แทนการใช้สารปฏิชีวนะได้ในอนาคต

ถึงเวลานั้น ดูซิ...พวกอียูจะงัดเอาเรื่องอะไรมากีดกันกุ้งไทยอีก !!!

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แห่งท้องทุ่งเมืองคชสาร

มื่อเอ่ยถึงผ้าไหมหลายคนต่างหวนนึกถึง ช้างแห่งเมืองสุรินทร์ ซึ่งต่อแต่นี้ไม่เพียงแค่ผ้าไหมเท่านั้นที่จะสร้างชื่อให้เมือง คชสาร

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ที่ภาครัฐร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าไปส่งเสริมให้จังหวัดดังกล่าวเป็นพื้นที่นำร่องปลูก จะเป็นอีกผลิตผลหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญไม่แพ้กัน

นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า การส่ง เสริมให้ชาวบ้านรวมกลุ่ม ผลิตข้าวปลอดสารเคมี ถือ ว่าเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้ กระดูกสันหลังของชาติ สามารถลดต้นทุนการผลิต มีสุขภาพที่ดี และช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ให้มีความสมดุล สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จได้ ต้องปรับทัศนะคติที่ คน ให้มีความรู้ พัฒนาปรับเปลี่ยนระบบการผลิต

เมล็ดพันธุ์ข้าว นับเป็นอีกปัจจัยหลักที่สำคัญ โดยทางบริษัททำการวิจัยข้าวลูกผสมซึ่งแปลงทดลองปลูกอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร ซึ่งข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวให้ผลผลิต 1,500-2,000 กก./ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกได้ในปี'48 โดยจะเริ่มที่ภาคกลางในเขตชลประทานก่อน

...การทำให้รายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้นจากเดิม มิได้อยู่ที่ผลผลิต ที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้ชาวนาสามารถแปร รูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารให้ได้...

ด้วยเหตุนี้จึงดำเนินการติดตั้งเครื่องจักร เพื่อสร้างโรงสีชุมชนขึ้น ซึ่งมีกำลังการสีอัตรา 500 กก./ชม.ที่บ้านโนนม่วย ต.หนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ และให้ชาวบ้าน ในพื้นที่รวมกลุ่มวางแผน บริหารและจัดการกันเองอย่างมีระบบ ทางทีมงานทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำเท่านั้น

การสร้างโรงสีชุมชนแห่งนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้ เกษตรกรขายข้าวสารแทนข้าวเปลือก ให้คนไทยสามารถซื้อข้าวกินในแหล่งผลิต โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่งข้าวเปลือกและกลับไปซื้อในถิ่นที่ไกลออกไป

นายเลิศ บุญสด ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านโนนม่วย บอกว่า หลังจากมีโรงสีชุมชนเข้ามา สมาชิกมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะจะรับซื้อข้าว สูงกว่าราคาท้องตลาด โดยข้าวที่สมาชิกผลิต จะเป็นข้าวอินทรีย์ ซึ่งปลอดสารเคมีและปลอดสารพิษ ที่สำคัญสมาชิก ในกลุ่มไม่ต้องเอาข้าวไปจำนำ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ แต่สมาชิกสามารถเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง และมาขอกู้เงินกลุ่มไปใช้หนี้ และทางกลุ่มจะจัดระบบว่าเวลาไหน จะใช้ข้าวจากยุ้งฉางสมาชิกคนใดก่อน ซึ่งจะเวียนไปจนกระทั่งครบทุกคน หลังสิ้นปีหากสมาชิกนำเงินมาใช้หนี้ที่กู้ยืมก็ยังจะได้เงินปันผล

ส่วนผลผลิตในการทำข้าวอินทรีย์แรกๆจะอยู่ที่ 150 กก./ไร่ และแม้ผลผลิตจะได้น้อยแต่ราคาขายได้สูงกว่า สุขภาพดีขึ้น และต้นทุนลดน้อยลง ส่วนตลาดในช่วงแรกๆจะนำผลผลิตไปเปิดตัวให้คนภายนอกรู้จัก ด้วยการขนไปขายตามงานต่างๆ แต่พอนานวันเข้าผู้ บริโภคเริ่มเข้ามาหาซื้อถึงที่ จนทำให้ทุกวันนี้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ

สำหรับผลผลิตลุงเลิศบอกว่า แม้จะได้น้อยแต่นานวันจะค่อยๆเพิ่มขึ้น ซึ่งคนที่ทำนาข้าวอินทรีย์ต้องทำใจและซื่อตรง หลักการนี้ถูกต้องและเห็นด้วยจริงๆ...

ส่งเสริมผลิตปูทะเลเชิงพาณิชย์คืนความอุดมสู่ท้อง(ป่าทุ่ง) ทะเล

ไม่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จเยือนถิ่นทุรกันดาร แห่งใดก็ตาม ภายหลังมักเกิด โครงการพัฒนาพื้นที่เสริม ตามมาอีกหลายหลากโครงการ โดย เฉพาะโครงการพัฒนาอาชีพ ให้กับชาวบ้านได้มีรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่ เป็นอีกโครงการที่ สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับไว้ดูแล เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของป่าทุ่งทะเล โดยทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ กรมประมง จัดตั้ง หน่วยศึกษา ทดลอง และวิจัยการเพาะเลี้ยงปู ขึ้นด้วย เพื่อศึกษาทดลองและขยายพันธุ์สัตว์น้ำทะเล ที่คาดว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ดีในอนาคต

ประสาน เปรมปรี หัวหน้าโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล เล่าว่าแต่เดิมพื้นที่ป่าทุ่งทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งของปูทะเล แต่ด้วยความเจริญที่เข้ามา จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการจับกันจนเกินกำลังที่ธรรมชาติจะผลิตป้อนทัน ทำให้ปูลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านจึงกราบทูลฯสมเด็จพระนางเจ้าฯ และนี่เองจึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง หน่วยศึกษาฯ ดังกล่าวขึ้น เพื่อทดลองและวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความสำคัญในท้องถิ่น ตลอดจนให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ชาวบ้านได้นำไปประกอบเป็นอาชีพ

ปัจจุบัน รัชฎา ขาวหนูวา นักวิชาการประมง 6 สามารถเพาะพันธุ์ปูทะเล ให้มีอัตรารอดอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 25,000 ตัวต่อแม่พันธุ์หนึ่งตัว (แม่พันธุ์หนึ่งตัว ให้ไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนฟอง) นักวิชาการฯกล่าวว่า ที่การเพาะพันธุ์มีอัตรารอดตายน้อยนั้น มาจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง โดยเฉพาะน้ำทะเลที่มีความแปรปรวนอยู่มาก นอกจากนี้เรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ ทดลองก็มีส่วนสำคัญ หากมีความพร้อมมากกว่านี้ก็อาจทำให้อัตรา รอดตายสูงขึ้น

วิธีการผลิตพันธุ์ปูทะเล แบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังนี้ 1. เลี้ยงแม่พันธุ์ : เลี้ยงปูทะเลไข่แก่ในกระดอง ให้มีไข่นอกกระดองในบ่อซีเมนต์ ที่ความเค็ม 25-35 พีพีที ความหนาแน่น 1 ตัว/ตร.ม. ให้ปลาสด และหอยแมลงภู่เป็นอาหารราว 1-3 เดือน 2. เพาะพันธุ์ : แยกแม่ปูไข่นอกกระดอง มาฟักในถัง 200-500 ลิตร ที่ความเค็ม 25-35 พีพีที เป็นเวลา 9-12 วัน 3.อนุบาลลูกปูในบ่อซีเมนต์ขนาด 10-20 ตัน ความหนาแน่น 50-100 ตัว/ลิตร ให้อาหารตามวัยลูกปู โดยระยะแรกฟัก 1-8 วัน ให้ไรน้ำเค็ม ระยะเกาะ 9-12 วัน ให้ไรน้ำเค็มเต็มวัย, หนอนแดง และระยะวัยอ่อน 12-15 วัน ให้ไรน้ำเค็มเต็มวัย, ปลาสับ

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ซูกรา กระชายดำสกัดเข้มข้นเติมเต็มรสชาติเปิดช่องทางตลาดใหม่

เดิมทีกระชายดำ เป็นพืชสมุนไพรประจำเผ่าม้ง มักพกติดตัวไว้ในย่าม เพื่อใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยล้าอ่อนแรง ส่วนการใช้เพิ่ม พลังสมรรถภาพทางเพศนั้น ถือเป็นความลับสุดยอด ของชนเผ่าม้งมาหลายร้อยปีแล้ว เป็นพืชล้มลุกที่มีสรรพคุณทางยา จนถูกขนานนามว่า โสมไทย เนื่องจากมีรากสะสมอาหาร เป็นปุ่มกลมๆ ไม่ยาวเหมือนกระชายธรรมดาทั่วไป

แม้ในทางวิชาการ กระชายดำ จะยังไม่ได้รับการรับรองเป็นที่แน่ชัด ในเรื่องสรรพคุณช่วยบำรุงกำลังเสริมสมรรถภาพทางเพศ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เชื่อในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย และใช้กระชายดำมาเสริมฤทธิ์ในยาดองขนานต่างๆ ด้วยมีความหวังเล็กๆว่าจะช่วยให้กลับมาปึ๋งปั๋ง ไม่ต้องพึ่งไวอากร้ายาแผนปัจจุบันอันมีราคาค่อนข้างแพง

และด้วยกระแสความนิยมในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้กระชายดำขยายพื้นที่ปลูกไปทั่วจนผลผลิตล้นตลาด จากราคาหลักร้อยตกลงมาอยู่แค่หลักสิบ กระชายดำเริ่มถูกทิ้งขว้างไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่ความจริงบรรพบุรุษไทยเราใช้เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกายมาช้านาน แต่เนื่องจากที่ผ่านมาการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย แถมยังมีข้อจำกัดบางประการ ทำให้การเปิดตลาดเป็นไปอย่างเชื่องช้า

ด้วยเหตุนี้ นายพรชัย เหลืองอาภาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเกิดความคิดที่จะช่วยยกระดับราคาและคุณค่ากระชายดำของไทย ด้วยการนำมาสกัดเอาสารเข้มข้นที่มีฤทธิ์ช่วยเสริมสร้างพละกำลัง จากหัวกระชายดำออกมาบรรจุในรูปขวดขนาดเล็กกะทัดรัด สะดวก เปิดดื่มได้ทันที โดยใช้ สหกรณ์ไวน์เชียงใหม่จำกัด ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือเพียบพร้อม เป็นสถานที่ผลิต

นายพรชัย ในฐานะประธานสหกรณ์ไวน์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่ผลิตไวน์แห่งเดียว ในประเทศไทยที่ได้เสิร์ฟในงาน APEC เปิดเผยว่า สหกรณ์แห่งนี้นอกจากนำผลไม้ข้างรั้ว ไร้ค่ามาผลิตเป็นไวน์มะเกี๋ยง ชั้นเลิศเสิร์ฟในงานเอเปคแล้ว ยังมีไวน์ลิ้นจี่และ Pop Wine (ไวน์ดีกรีต่ำ) ผลไม้รวมที่ช่วยแก้ ปัญหาภาวะผลผลิตล้นตลาดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้คิดค้นผลิต กระชายดำสกัดเข้มข้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาภาวะกระชายดำล้นตลาดอีกด้วย

โดยกรรมวิธีการผลิตอาจซับซ้อนสักเล็กน้อย เพราะต้องใช้การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หาสารสำคัญ เริ่มจากรับผลผลิตจากเกษตรกรมาล้างทำความสะอาด ปอกเปลือก นำมาวิเคราะห์หาสารสำคัญก่อนเข้ากระบวนการผลิต ด้วยการนำไปต้ม และสกัดสารสำคัญด้วยแอลกอฮอล์ นำมาบ่มและหมักประมาณ 3 เดือน จากนั้นปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำผึ้งเพื่อช่วยให้ดื่มได้ง่ายขึ้น กระชายดำสกัดเข้มข้น หรือ ซูกรา (Zugra) นี้มีสัดส่วนแอลกอฮอล์อยู่ 2 เปอร์เซ็นต์ ใช้ดื่มบำรุงสุขภาพได้ทั้งชายและหญิง

เวลานี้สามารถผลิตออกมาให้ชิมกันบ้างแล้ว ท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ หรืออยากจะไปชมเทคโนโลยีกระบวนการผลิต ติดต่อได้ที่ โทร.0-5335-7400, 0-9758-2900 ส่วนที่กรุงเทพฯติดต่อได้ที่ โทร.0-1584-5938 หรือ 0-7111-6927 หรือจะรอชิมในงาน 38 ปี ธ.ก.ส. ซึ่งจะจัดขึ้นที่หอประชุมบริเวณสระบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ช่วงปลายเดือนตุลาคมก็ได้.

พบตัวป่วนความสามารถโชเฟอร์ล้วนแต่เป็นของเล่นไฮเทคในรถ

องค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนในอเมริการะบุ ว่า ของเล่นไฮเทคที่เจ้าของชอบนำมาติดภายในรถยนต์ ล้วนเป็นอุปกรณ์ให้เกิดการรบกวนความสามารถของผู้ขับขี่

ปีเตอร์ คิสซิงเกอร์ ประธานของเอเอเอ ฟาวน์เดชั่น ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนน กล่าวว่า ความนิยมในไฮเทคทำให้มีการออกแบบอุปกรณ์ ที่ระบุว่าจะทำให้การขับขี่สะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่อาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ทำให้ชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้น

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อรถได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ขับขี่ก็จะถูกแวดล้อมไปด้วยข้อมูล ทั้งเรื่องของทิศทาง จอภาพที่จะรายงานหุ้น หรือสภาพอากาศ ตลอดจนความบันเทิงต่างๆ จากดีวีดี หรือแม้กระทั่งคาราโอเกะ

คิสซิงเกอร์กล่าวต่อไปอีกว่า แม้ว่าความบันเทิงต่างๆในรถจะมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้โดยสาร แต่ก็ส่งผลกระทบถึงผู้ขับขี่ด้วย แต่กรณีนี้ ไม่ได้หมายความว่า ควรจะยกเลิกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในรถเสียทั้งหมด เพียงแต่ต้องการให้ผู้ผลิตและผู้ขับขี่ ให้ความสำคัญกับเรื่องของความเสี่ยงให้มากกว่านี้.

เขื่อน! บริหารระบบน้ำ ติดปัญหา..ผลิตไฟฟ้า

สถานการณ์น้ำท่วม เกิดขึ้นเป็น ประจำทุกปี... จนต้องมีคำถาม ... ภาครัฐมีมาตรการ แก้ปัญหาได้ขนาดไหน

กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา...นายสุวิทย์ คุณกิตติ เจ้ากระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ร่วมกับนายเกษม จันทจรูญพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ จัดตั้งศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลและหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมทั่วประเทศ

สุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ บอกว่า หน้าที่หลักของศูนย์คือเตรียมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของปริมาณน้ำทั้งประเทศ

พื้นที่ไหนเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ก็จะช่วยประสานแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ชาวบ้านเตรียมตัวเก็บข้าวของ ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรือกั้นกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำใน ภาคเหนือ น้ำจากเชียงรายจะไหลลงมาที่แม่น้ำกก โซนเชียงใหม่ก็ไหลลงแม่น้ำปิง ส่วนลำปางก็ไหลลงแม่น้ำวัง

น้ำภาคเหนือจากแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน สาละวิน รวมกับน้ำจากจังหวัดแพร่และสุโขทัย จะไหลมารวมกัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

นี่คือเส้นทางการเคลื่อนที่ของน้ำทางภาคเหนือ โดยมี เขื่อนขนาดใหญ่ คือเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ คอยกักเก็บน้ำหลักในพื้นที่ภาคเหนือ... ภาคกลาง

ปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ จึงเกิดจากสาเหตุเดียวคือ...ฝนตกหนัก แต่เขื่อนขนาดใหญ่จุน้ำได้เยอะกว่า... บริหารจัดการน้ำในเขื่อนได้ดีกว่า

“ ภาคเหนือ...สภาพพื้นที่ลาดชัน ถึงน้ำจะท่วมก็ท่วมไม่นาน ฝนตกลงมาจะไม่ขัง น้ำจะไหลผ่านไปได้... เว้นแต่พื้นที่เป็นแก้มลิง มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ...บล็อกน้ำเอาไว้ ก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการสูบออก”

สุพจน์ บอกว่า พิจารณาพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม จะโทษถนนว่าเป็นปัญหาหลัก ทำให้น้ำท่วมก็คงไม่ได้ ถนนเป็นของกรมทางหลวง กรมทางหลวงก็บอกว่าไม่ผิด ก่อนจะสร้างคำนวณหลายครั้งแล้ว ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม...แต่น้ำท่วม...เพราะ...น้ำมาเยอะ

ถ ้าเกิดจากปัญหานี้ แก้ไขได้ง่ายๆ ทำสะพานให้กว้างขึ้น รองรับการระบายน้ำในปริมาณมากๆได้ ปัญหาถนนกลายเป็นเขื่อนเก็บน้ำก็จะหมดไป แต่ต้นทุนต้องเพิ่มขึ้น

แม้ว่าการทำสะพานตรงจุดกั้นน้ำทุกจุด...จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง... ก็จำเป็นต้องปรับปรุงในส่วนนี้

เหนือ...อีสาน เรื่องกักน้ำยังมีปัญหา ลุ่มน้ำยมกับลุ่มน้ำปิง

แนวแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน มีปัญหาน้ำท่วม น้อยกว่าปัญหาน้ำไม่พอใช้ จนต้องผันน้ำจากแม่น้ำกกและแม่น้ำโขงเข้ามาเสริมเพื่อใช้ในการเกษตร และกักเก็บไว้ที่เขื่อนภูมิพล เพื่อให้มีความสามารถในการจ่ายน้ำในหน้าแล้ง

ลุ่มน้ำยม...มีปัญหาหนักที่สุด เพราะยังไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำ

ลุ่มน้ำปิง ยังมีเขื่อนภูมิพล เขื่อนต่างๆเยอะไปหมด แต่ลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เลย แต่ก็มีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบอีกเยอะ ตอนนี้ยังไม่มีบทสรุป

แต่การแก้ปัญหา...แม่น้ำยมก็จำเป็นต้องมีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ไว้ 1 แห่ง แนวทางที่วางแผนเอาไว้ จะใช้ประโยชน์จากเขื่อนสิริกิติ์ ให้เขื่อนเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน พอถึงหน้าแล้งก็ระบายคืนให้กับลุ่มน้ำยม

“ถ้าแม่น้ำยมมีเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ได้ รับรองว่า จะลดปริมาณน้ำท่วมจังหวัดแพร่...สุโขทัย ได้เกินครึ่ง”

เขื่อนขนาดใหญ่ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ในหน้าน้ำ เมื่อถึงหน้าแล้งถ้าบริหารจัดการ น้ำในเขื่อนไม่ดีก็อาจมีปัญหา

“ หน้าแล้งทุกปี...น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ไม่พอ แต่น้ำแม่น้ำยมกลับมีเหลือเฟือ มองอย่างเป็นระบบ จะทดแทนปัญหาขาดน้ำในพื้นที่นี้ได้ ต้องใช้การผันน้ำจากแม่น้ำยม...น่าน วิ่งออกมาเข้ามาเก็บไว้ที่เขื่อนสิริกิติ์”

น้ำที่เขื่อนเหลือจะรับได้ ก็จะไหลลงแม่น้ำยมเข้าแพร่ สุโขทัย

หากน้ำมาถึงแพร่ สุโขทัย สองจังหวัดนี้ก็ต้องทำโครงการแก้ปัญหา เริ่มจากสร้างกำแพงน้ำล้อมเมืองเอาไว้ในจุดที่เป็นพื้นที่ต่ำ

การแก้ปัญหาน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องทำร่วมกันอย่างเป็นระบบ

การแก้ไข...ไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนเพราะลงทุนสูง แต่ใช้การกักเก็บน้ำแบบแก้มลิง ถ้าแก้ปัญหาได้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างเขื่อน

“ แทนที่จะสร้างเขื่อน เก็บน้ำ 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร อาจสร้างเป็นฝายทดน้ำ เก็บน้ำได้ 500-400 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำที่เหลือเก็บไม่ได้ก็สร้างอุโมงค์น้ำผันไปเก็บที่เขื่อนสิริกิติ์ มีที่ เก็บเยอะอยู่แล้ว ระยะทางกว่า 100 กิโลฯ งบที่ใช้ย่อมน้อยกว่าการสร้างเขื่อนมาก”

วิธีการนี้เป็นการสร้างระบบเชื่อมโยงน้ำตามลุ่มน้ำต่างๆให้ใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่

เขื่อนสิริกิติ์เก็บน้ำได้ 2,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร ข้อมูลที่ผ่านมาแม้ว่าเขื่อนจะเก็บน้ำได้มากมาย แต่เขื่อนก็ไม่มีน้ำให้เก็บ

ถ้ามีระบบเก็บน้ำจากทุกจุดของลุ่มน้ำยมในช่วงหน้าฝน ก็ยังเก็บได้อยู่ นอกจากจะแก้ปัญหาน้ำท่วม ทางลุ่มน้ำยม ได้แล้ว ยังช่วยให้ สถานการณ์น้ำในเขื่อนสิริกิติ์ดีขึ้นด้วย

เขื่อนขนาดใหญ่อย่าง เขื่อนภูมิพล กับ เขื่อนสิริกิติ์ มีระบบการจัดการเขื่อนเหมือนกับเขื่อนทั่วไป

ในแง่การบริหารจัดการน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะควบคุม ปริมาณน้ำให้อยู่ใน ระดับล่างของเส้นมาตรฐานที่เป็นเส้นระดับน้ำที่ดีที่สุด

ห ลักการควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ในระดับนี้ จะอาศัยช่วงจังหวะเวลาการใช้ประโยชน์จาก น้ำในเขื่อนและสภาพภูมิอากาศมาเป็นตัวแปรสำคัญ

เมื่อเขื่อนเก็บน้ำอยู่ในระดับเส้นมาตรฐาน จะค่อยๆปล่อยน้ำใช้เพื่อการเกษตร พอถึงเดือนกรกฎาคม ฝนเริ่มตก ระดับน้ำในเขื่อนก็ควรจะต้องอยู่จุดต่ำสุดของเขื่อน ให้เก็บน้ำในหน้าฝนได้มากที่สุด แต่เขื่อนก็ต้องมีระดับน้ำที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้

“เขื่อนรับฝนได้เต็มที่ ระดับน้ำก็จะถูกกักเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอใกล้ปลายฤดูฝน น้ำก็เต็มเขื่อน”

ส ุพจน์ บอกว่า การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ที่ทำกันบางช่วงเวลาไม่ได้เป็นเช่นนี้ สมมุติปีนี้ระดับน้ำในเขื่อนมีน้อย...เขื่อนเก็บไว้ได้น้อย พอถึงหน้าแล้ง เขื่อนปล่อยน้ำออกมาไม่พอใช้ ช่วงมีน้ำมา เขื่อนก็ต้องพยายามกักน้ำให้มากๆ ให้มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นมา

ถ้าช่วงนี้ เดือน ก.ย. ต.ค. พ.ย. ฝนแล้ง...ฝนไม่ตก การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ให้ถึงระดับมาตรฐานก็ยิ่งจะมีปัญหา

“น้ำในเขื่อนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย หน้าแล้งปีหน้า ก็จะยิ่งแล้งหนักกว่าปีนี้”

ตัวแปรความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำเกิดจากน้ำฝน ในทางปฏิบัติก็มักมีหลักการบริหาร จัดการเขื่อนแบบง่ายๆ...

ฝนตกก็ต้องรีบเก็บน้ำเอาไว้ให้มากที่สุด เดือนธันวาคมต้องให้ถึงระดับเส้นมาตรฐานของ แต่ละเขื่อน แต่การปฏิบัติที่ทำกันจริงๆ ยังใช้หลักบริหารแบบพาวเวอร์รูล บริหารน้ำในเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า

หน้าแล้งปล่อยให้น้ำในเขื่อนลดระดับมากไม่ได้ หน้าฝนก็เลยมีปัญหากักเก็บน้ำได้ไม่เต็มที่ ต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ผ่านมายังพื้นที่หลังเขื่อน

การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ น้ำจากเขื่อนก็เลยทะลักล้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม.

หูสองข้างถนัดกันไปคนละทางหูขวาไว้ฟังพูด-ซ้ายไว้ฟังเพลง

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า หูของคนเราสองข้างนั้นไม่เหมือนกัน หูข้างขวาถูกสร้างมาไว้สำหรับฟังเสียงพูด ส่วนหูข้างซ้ายใช้ สำหรับฟังเพลง

ความจริงนักวิทยาศาสตร์พอทราบมาก่อนแล้วว่า สมองของเราแต่ละซีก รับฟังเสียงต่างกัน แต่คิดกันว่า ความแตกต่างกันนั้นเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตัว ของเซลล์ของสมองแต่ละซีกเอง แต่นักวิจัยชั้นนำของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งสหรัฐฯ เพิ่งพบในการศึกษาวิจัยว่า ความแตกต่างนั้นเกิดมาตั้งแต่ที่หูแล้ว เรามักจะคิดว่าหูทั้งสองข้างของเราทำงานแบบเดียวกัน เพราะอย่างนั้น เราก็เลยคิดว่าหากหูข้างไหนเสียไปข้างหนึ่งก็ยังไม่เป็นไร เพราะยังเหลืออีกข้างหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้เราชักรู้แล้วว่า หูข้างหนึ่งข้างใดเสียหายลง มันมีผลกระทบถึงการพูดและการพัฒนาในการใช้ภาษาได้อย่างกว้างขวาง

นักวิจัยอีวอน ซินินเกอร์ กับคณะ ศึกษาการได้ยินของทารกแรกเกิดมาไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ได้พบว่า เซลล์ประสาททางหูขวาจะขยายสัญญาณเสียงของคำพูดได้ดังกว่า ขณะเดียวกันเซลล์ประสาทของหูซ้าย ก็จะขยายสัญญาณเสียงเพลงที่จะส่งไปยังสมองได้ดีกว่า.

แยกย่อยไขมันด้วยเครื่องกล งานวิจัยเพื่อลดมลพิษทางน้ำ

ปัญหาสำคัญ ของโรงงานอุตสาหกรรม และครัวเรือน คือของเสียเหลือทิ้ง ที่ไม่ได้บำบัด โดยเฉพาะน้ำทิ้ง ที่มีคราบน้ำมัน และไขมันซึ่งเป็นสารอินทรีย์ ที่ย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ แต่จุลินทรีย์ในธรรมชาติ ก็ย่อยสลายน้ำมัน และไขมันได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารอินทรีย์อื่นๆ ทำให้กระบวนการบำบัดน้ำเสีย ได้ผลไม่ดีนัก โรงงานเหล่านี้จึงแก้ปัญหาโดยการดัก หรือแยกนำไปบำบัดต่างหาก ซึ่งก็เป็นเพียงการเปลี่ยนสถานที่ทิ้งเท่านั้น

ใ น ขณะที่ปัญหาน้ำเสียเป็นสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม SMEs ที่มีปัญหาค่อนข้างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ นายเกียรติณรงค์ ครูบา และ นายเจษฎา เงางามดี จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นักศึกษาที่ได้รับทุนจากโครงการอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (Industrial Projects for Undergraduate Students) หรือ IPUS ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้คิดค้น เครื่องต้นแบบแยกและย่อยไขมัน ขึ้น โดยมี ผศ.ดร.สมพร เจนคุณาวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นายเกียรติณรงค์ กล่าวว่า เทคโนโลยีเครื่องแยก และย่อยไขมันเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำมันและไขมัน ที่ถูกทิ้งออกมาจากภาคครัวเรือน หรือภาคอุตสาหกรรมได้ โดยเครื่องจะทำการดักไขมัน โดยอาศัยการแยกน้ำมัน ที่ลอยอยู่เหนือน้ำไหลล้น ออกสู่รางระบายและระบบแยก ซึ่งนอกจากจะแยกน้ำมันได้ แล้วยังแยกกรวดกับทราย ที่เป็นปัญหาสำคัญ ของปั๊มสูบน้ำออกมาจากเครื่องย่อยได้อีกด้วย เนื่องจากถ้าหลุดเข้าไปจะสร้างความเสียหาย ให้กับปั๊มน้ำที่มีราคาแพง

เ ครื่องต้นแบบนี้สามารถแยกไขมัน และของแข็งในน้ำเสีย ออกจากเครื่องแยกได้ 100% และยังมีข้อดีคือไขมัน ที่ผ่านกระบวนการนี้ จะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยเครื่องสามารถดักไขมัน และของแข็งเจือปนโดยอาศัยแรงกล และความถ่วงจำเพาะ ของสารแยกส่วนของน้ำ น้ำมัน ของแข็งออกจากกัน แยกส่วนที่เป็นของแข็งออกมา และนำส่วนที่เป็นน้ำมันหรือไขมันไปย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์และเอนไซม์ไลเปส น้ำมันและไขมันจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันและกลีเซอไรด์ ซึ่งทำ ให้จุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปสามารถย่อยสลายหรือนำไปใช้ได้ง่ายขึ้ น ช่วยลดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากไขมันและน้ำมันลงได้ ผู้วิจัย กล่าว

น ายเจษฎา นักศึกษาในโครงการอีกคนกล่าวว่า เครื่องแยกและย่อยไขมันมีหลักการทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เครื่องแยกจะทำหน้าที่แยกส่วนของน้ำ และน้ำมันออกจากกัน เครื่องย่อยทำหน้าที่ย่อยน้ำมันหรือไขมัน โดยจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ หลังจากที่น้ำมันและไขมันผ่านการย่อยแล้ว ก็จะส่งเข้ารวมกับส่วนของน้ำทิ้ง เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียได้ต่อไป ซึ่งถ้าเป็นการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย บางครั้งจุลินทรีย์ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากพิษในน้ำเสียและจุลินทรีย์อื่นๆมาทำลาย ทำให้จุลินทรีย์ลดลง

เ อนไซม์ ไลเปสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการย่อยสลายของเสียประเภทไขมัน แต่การใช้เอนไซม์เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่คัดเลือกแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายไขมันได้ดี ประกอบกับการใช้เอนไซม์น่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีขึ้น เมื่อนำมาใช้ร่วมกับเครื่องแยกและย่อยไขมันจะช่วยสลายไขมันให้มีโมเลกุล เล็กลง เพื่อให้เป็นอาหารแก่จุลินทรีย์อื่นๆ ได้เร็วขึ้น และเป็นมลพิษน้อยลง สามารถส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบอื่นๆทำงานต่อเนื่องต่อไป และสามารถปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะได้ในที่สุด.

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ขนอม..ยอดเพชรนครศรีธรรมราชที่ถูกลืมเลือน

นครศรีธรรมราชโด่งดังเรื่อง อารยธรรมประวัติศาสตร์ และขนบธรรมเนียม ประเพณีชาวใต้ที่สืบทอด กันมาช้านาน น้อยคนนักรู้ว่านครศรีธรรมราช มียอดเพชร การท่องเที่ยว ตามหาดทรายชายทะเล และเกาะแก่งที่เรียกกันว่ าย่านทะเลใต้สุดงดงาม ที่ยังคงความบริสุทธิ์ ไว้ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ สวยจนยากที่จะอธิ บายได้ อย่างจุใจที่ อ.ขนอม ความงามของที่โน่นท้าได้หมดโลก ทั้งฮาวาย อาคาปัลโก ฟลอริดา ลองบีช ตาฮิติ และริเวียร่า แต่โชคร้ายมันคล้ายนครศรีธรรมราช ทำลูกกุญแจไขห้องยอดเพชร มหาสมบัติตกหายไปนาน เพิ่งหาเจอเอาคืนมาได้อย่างใจหายใจคว่ำ

นครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ ใครที่อยากหลบเมืองใหญ่ครึกโครมไปหาที่สงบเงียบพักผ่อน กลางธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม คงยากที่จะเลือกเมืองนี้ แต่เราขอแนะนำว่าต้องเลือก อ.ขนอม เหนือสุดของนคร-ศรีธรรมราช ท่านจะหลงใหลประชาคมของตัวเมืองที่ค่อนข้างเล็กในย่านตลาด ชีวิตที่ไม่เร่งร้อน ผู้คนอัธยาศัยดี เขตนอกประชาคมย่านตลาดออกไป ตามเชิงเขาและชายหาดผู้คนบางตา บ้านปลูกอยู่กันห่างๆ ตามอ่าวเล็กๆ และลำคลองจากทะเลที่ดิ่งเข้ามาในแผ่นดินจะพบหมู่บ้านชาวประมงเรือเล็กเป็นหย ่อมๆ ได้เห็นวิถีชีวิตชาวเรือประมงเล็กตอนเข้าฝั่ง ดวงหน้าแสดงความอิ่มใจที่ได้ปลามามาก หายเหนื่อยราวกับปลิดทิ้ง เพราะมันหมายถึงเงินและอาหารที่จะทำให้ลูกเมียเป็นสุขไปหลายวัน

น างศุลีพร เสรีวิวัฒนา เลขาธิการสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว นครศรีธรรมราช และประธานชมรมธุรกิจการ ท่องเที่ยวขนอม ชี้ให้เห็นว่าคำแปลของคำว่าขนอม มีหลายตำนาน แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดไม่ใช่คำแปล หากแต่เป็นคำเพี้ยนที่น่าจะมาจากคำว่า เขาล้อม เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เต็มไปด้วยเทือกเขาใหญ่น้อยทอดตัว โอบล้อมอำเภอขนอมไว้เป็นครึ่งวงกลม วกจากทิศเหนือไปตะวันตกแล้วอ้อมกลับ มาจดทะเลอีกครั้งหนึ่ง ส่วนสภาพริมทะเลยิ่งน่าแปลกใจ เพราะระยะทางเหนือจดใต้ไม่เกิน 17 กม. เป็นอ่าวงดงามลักษณะครึ่งวงกลมติดต่อกันมาตลอดแนว หน้าอ่าวในทะเลมีเกาะแก่งใหญ่น้อยตั้งอยู่ในจังหวะ งดงามราวกับสวรรค์จงใจแต่งแต้มมาประดับไว้

ตาม แนวชายหาดตั้งแต่เหนือจดใต้ 16 อ่าว นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวเล่นน้ำ สดสวยอย่างน่าพิศวงแล้ว หลายแห่งยังเต็มไปด้วยเรื่องราว ในประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อาทิ ที่หาดแหลมประทับ เป็นที่ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยประทับแรมที่นั่นแล้ว แบ่งกองทัพออกเป็น 2 สาย มุ่งเข้าตีก๊กเจ้านครฯ ครั้งทำสงครามรวมชาติรวมไทย 6 ก๊กให้เหลือเพียงหนึ่งเดียว ปัจจุบันหาดนี้สวยและสงบอย่างน่าดึงดูดใจ ชายฝั่งหลายแห่ง มีลักษณะคล้าย ฟยอร์ช ในสแกนดิเนเวีย เพียงแต่ไม่ใช่ ชายฝั่งเขาน้ำแข็งเท่านั้น เป็นชายฝั่งเขาหิน แต่ เหนือกว่าตรงที่เป็นหินที่มีลักษณะ เป็นแผ่นซ้อนกันราวกับขนมชั้น ซึ่งในโลกนี้มีอีกที่เดียวที่นิวซีแลนด์เท่านั้น หลายแห่งเป็นอ่าวเงียบสงบมีที่หลบลมในตัวอย่างที่อ่าวเตล็ด มักเป็นอ่าวที่เรือยอชต์ต่างชาติมักนัดกันมาชุมนุมกันบ่อยๆ เนื่องจากเป็นอ่าวที่ปลาโลมาปากขวดสีชมพูและสีเงินมักแหวกว่าย และโดดเล่นเหนือน้ำโชว์ตัวอยู่บ่อยๆ

แค่ลัดเลาะไปตามขอบอ่าวขนอม 17 กม. ก็จะประทับใจในทิวทัศน์เสียแล้ว เนื่องจากการเลียบชายฝั่งทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือถนนจะเลียบริมฝั่งอยู่บนเขา สูง บริเวณอ่าวท้องหยีไปถึงบางส่วนของอ่าวในเพลา แล้วเลียบชายฝั่งพื้นราบจากอ่าวหน้าด่านไปถึงหาดคอเขา จากนั้นจะสลับขึ้นลงเขาและพื้นราบไปตลอดแนว จนถึงอ่าวเตล็ดทางเหนือ ชายฝั่ง 16 อ่าวที่ผ่านไปนั้นน่าประทับใจอย่างแท้จริง บางอ่าวอย่างอ่าวท้องชิงเป็นเขตสงบเงียบ คลื่นสัญญาณแห่งความเจริญใดๆ ก็รบกวนท่านไม่ได้เพราะที่โน่นไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านยังจุดตะเกียงตอนกลางคืนกันอยู่ราวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งสงบ แต่บังกะโลพื้นบ้านปีกไม้มะพร้าวที่นั่นทั้ง ถูกทั้งทำให้ท่านมีความเป็นส่วนตัวอย่างไม่อาจหาอะไรมาเปรียบได้ทีเดียว อยากดูวิวชายฝั่งขนอมทั้งเมืองต้องขึ้นไปบนยอดเขาดาดฟ้าจะได้เห็นวิวสวย

แ ม้เป็นอำเภอเล็กๆ ใช่ว่าจะมีดีแค่ชายหาดและเกาะแก่ง ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขา ทำให้มีน้ำตกเล็ก แต่สวยหลายแห่ง อาทิ น้ำตกโฉ เสม็ดชุน สองพี่น้อง มีถ้ำเขาวังทองและถ้ำเขากรดที่ภายใน เป็นห้องชุดต่อกัน มีหินงอกหินย้อยที่ยังไม่ตายน่าตื่นใจ อย่าคิดว่าเมืองเล็กออกอย่างนั้น แม้มีดีก็อาจไม่มีที่พักและไปยาก ขอบอกว่าหยุดเทอม อย่างนี้ ถ้าไม่อยากไปในที่จำเจ ควรพาลูกหลานไปเที่ยวขนอม ที่พักมีทั้งหมดในเขตตลาด และชายฝั่งเกือบ 300 ห้อง มีให้เลือกตามกำลังซื้อตั้งแต่ 300-2,500 บาท แต่ถ้าพิถีพิถันโรงแรมต้อง ระดับมาตรฐานท่องเที่ยวก็ต้องโรงแรมขนอมโกลเดนบีช ที่หาดท่าด่าน หาดทรายที่โน่นเป็นโค้งวงเดือนสวย ลงไปอาบราวกับเล่นน้ำอยู่ในหาดส่วนตัว ไปถึงได้ง่าย ไม่ว่าไปจากสุราษฎร์ธานีหรือนครศรีธรรมราช บางช่วงเครื่องบินบางสายคิดเที่ยวละ 1,300 บาทเท่านั้น ลงที่สนามบินนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ฯล้วนห่างขนอม 100 กม. เท่ากัน โดยโรงแรมมาตรฐานที่โน่นมีบริการรับส่งไปกลับจากสนามบิน ไม่ว่าจากสนามนครฯหรือสุราษฎร์ อยากไปเที่ยวควรโทร.หารือหัวเรือใหญ่ท่องเที่ยวขนอมนางศุลีพร เสรีวิวัฒนา 0-1956-4555 จะช่วยได้มาก.

* โฟกัส *

อาหารทะเลสดๆไม่มีที่ไหนเทียบได้

ใ ครที่อ้างว่าเคยไปนั่งเอ้เต้ กินอาหารทะเลสดๆ กุ้งใหญ่สดๆ ปลาทะเลสดๆ กั้งชั้นดีสดๆ ไม่ว่าในย่านแพงหูฉี่ในฮ่องกง ในไทเป หรือแม้ย่านใกล้ๆ ปราสาทดอมบัว (ชาโตดอมบัว) ในกรุงปารีส ที่ขึ้นชื่อนักว่าขายอาหารทะเลสดๆ ขอบอกว่าไม่มีทางสู้อาหารทะเล สดๆ จากทะเลที่ อ.ขนอมได้เลย ที่โน ่นแม้ไม่มีภัตตาคารใหญ่ บ๋อย โค้งรับหัวแทบจดเข่า มีแต่ร้านอาหารตามสั่งธรรมดาๆ และแผงลอยตั้งโต๊ะริมถนน แต่รับรองได้ว่า ท่านจะได้กินอาหารทะเลสดๆที่ท่านนึกไม่ถึง ที่อาจสดที่สุดในโลกก็ได้

ถ้าไปสั่งอาหารทะเลกุ้ง หอย ปู ปลา กินในย่านตลาดขนอมซึ่งหมู่บ้านชาวประมงเรือเล็ก อยู่ริมคลองใกล้ๆแถวนั้น หรือสั่งกินที่ย่านชายทะเลที่หาดแขวงเภาใกล้หมู่บ้า นเรือประมงเล็กอีกเหมือนกัน ท่านจะแปลกใจมาก ร้านค้าที่โน่นเขาไม่เก็บอาหารทะเลไว้ในตู้เย็นกันเลย แต่ถ้าอยากกินกั้งใหญ่ทอดกระเทียมพริกไทย กินปลาจะละเม็ดนึ่งสดๆ กินปูม้าเป็นๆ ทำกินกันเดี๋ยวนั้น กินปลาทะเลสดๆที่ชอบ ท่านได้กินสดๆ สมใจ เพราะเขาจะใช้ให้มอเตอร์ไซค์วิ่งไปซื้อมาจากหมู่บ้านเรือประมงเล็กที่อยู่ห่ างออกไปราว 1 กม.เท่านั้น ไปชี้เอาได้ คนขายเขาขังเอาไว้ในน้ำทะเล ขอบอกว่ามันสดมาจากทะเลอย่างแท้จริง เรือประมงเล็กชาวบ้านนั้น จับกุ้งหอยปูปลาได้ จะไม่มีวันจับแช่น้ำแข็งมาก่อนขึ้นฝั่งเหมือนเรือใหญ่ เขาขังเอาไว้เป็นๆ แล้วก็ให้ลูกเมียเอาไปขายเป็นๆกันเลย

แน่นอนร้านอาหารในเมืองเล็กๆที่โน่น รสชาติจะให้เลิศเหมือนเมืองใหญ่ไม่ได้ แต่รับรองว่าท่านจะได้กินอาหารทะเลสดที่สุดอย่างแน่นอน ทั้งยังท้าทายนักกินอาหารทะเลที่ชอบทำกินเองยิ่งนัก ไปทำได้เลยจะทำอาหารไทย อาหารจีน หรืออาหารฝรั่งก็ได้ คนที่โน่นเขายินดีให้ท่านทำกินเอง อีกวิธีหนึ่งที่เห็นได้แก่ นักกินมักแจ้งแก่ทางครัวโรงแรมขนอมโกลเดนบีช ที่หาดท่าด่าน ไว้ล่วงหน้า อยากกินอาหารทะเลอะไรดีๆ ทางโรงแรมจะจัดการให้คนของตน ไปสั่งตามเรือประมงเล็กไว้เลย ให้เลือกเอาที่ดีๆไว้ให้ด้วย ครัวที่โน่นรสชาติฝีมือเขาดี อยากเดาไว้ว่าไม่ช้าเสี่ยเยาวราชก็คงจะขนพ่อครัวไปเอง ทำเพียงนั่งเจี๊ยะเต๊ แล้วตะโกนบอก เฮ้ย! ไอ้ตี๋เอาลีๆมากีง.

รักษาอาการหน้ามืดเวียนหัวอย่างใหม่จับใส่เครื่องจำลองการบิน

รายงานการวิจัยของแพทย์ในอังกฤษพบว่าคนที่มีอาการว ิงเวียนศีรษะเรื้อรัง เมื่อนำไปรักษาด้วยเข้าเครื่องจำลองการบินอย่างที่ใช้ฝึกนักบินและมนุษย์อวก าศแล้ว ผลปรากฏว่าช่วยลดอาการดังกล่าวลงได้มาก

นักวิจัยของเอ็นเอชเอส ทรัสท์ โรงพยาบาลแฮมเมอร์สมิธ และวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอนได้ทดลองรักษาผู้ป่วย 40 ราย ที่มีประวัติเกี่ยวกับสมดุลในการทรงตัว โดยในการรักษาได้ให้เข้าเครื่องจำลองการบินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน ปรากฏว่ามันช่วยลดอาการวิงเวียนลงได้ถึงครึ่งหนึ่งทั้งในแง่ความถี่ และความหนักเบาของอาการ

อาการหน้ามืดเวียนหัวและความรู้สึกคลื่น เหียนนั้น เกี่ยวข้องกับระบบหูชั้นในที่ควบคุมเรื่องการทรงตัวของคนเรา สำหรับการทดลองครั้งนี้ในการรักษาประกอบด้วยการให้ลองใช้จานหมุน เก้าอี้หมุน และออกกำลังกายตามวีดิโอ ซึ่งทั้งหมดนี้ เคยใช้กับการฝึกนักบินและมนุษย์อวกาศมาแล้วทั้งสิ้น.

ผลของ Tetanus Antitoxin ในทารกที่ได้รับจากมารดาในการตอบสนองเมื่อได้รับการฉีด DTP Vaccine

Impat (1984) ได้ศึกษาเรื่อง ผลของ Tetanus Antitoxin ในทารกที่ได้รับจากมารดาในการตอบสนองเมื่อได้รับการฉีด DTP Vaccine ผ ู้ วิจัยได้ศึกษาภูมิต้านทานพิษบาดทะยักในเด็กที่เกิดจากมารดาที่ฉีดและไม่ได้ ฉีดเต็ทตานัสท๊อกซอยด์ ระหว่างตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนสิงหาคม 2525 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2526 จำนวน 471 คน พบว่า เด็กที่เกิดจากมารดาที่ได้รับการฉีดท็อกซอยด์ระหว่างตั้งครรภ์จะมีระดับภูมิต้านพิษ (2.23 ยูนิต/ซีซี) เมื่อเด็กอายุได้ 2 เดือน พบว่า ระดับภูมิต้านทานพิษถ่ายทอดจากมารดาจะลดลงในเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เด็กเหล่านี้เมื่อได้รับวัคซีนดีทีพีเข็มแรกพบว่า ระดับภูมิต้านทานต่อบาดทะยักในเด็กที่มารดาไม่ได้ฉีดท็อกซอยด์ (1.19 ยูนิต/ซีซี) จะสูงกว่าเด็กที่มารดาฉีดท็อกซอยด์ (0.66 ยูนิต/ซีซี) และภายหลังจากการที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เด็กทั้ง 2 กลุ่ม จะมีระดับภูมิต้านทานพิษใกล้เคียงกัน (1.54 ยูนิต/ซีซี และ 1.15 ยูนิต/ซีซี ตามลำดับ ) ภายหลังเข็มที่ 3 เด็กทั้ง 2 กลุ่มจะมีระดับภูมิต้านพิษสูงขึ้น ซึ่งมากกว่าระดับภูมิต้านทานพิษเมื่อได้รับเข็มที่ 2

ไข่มุกเลี้ยงเมืองไทยคุณภาพสุดยอดจากเกาะรังใหญ่

มุก เป็นเครื่องประดับ ที่ช่วยเพิ่มความสง่างาม ให้กับผู้ที่สวมใส่ และบางคนยังเชื่อว่า จะช่วยเสริมสร้างบารมี สุขภาพดี และจะนำโชคมาสู่ โดยหญิงชายในสมัยโรมันนิยม นำมาประดับกายเพื่ออวดฐานะ เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติ เกียรติยศ และความงาม ซึ่งในแถบยุโรป มีความเชื่อว่า มุกเป็นของขวัญจากพระเจ้า อันเกิดจากน้ำตาเทพธิดา

ปัจจุบัน ไข่มุก เริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ทั้งในรูปของเครื่องประดับและผลิตภัณฑ์แปรรูปสำหรับบริโภค ซึ่งการจะได้มุกแต่ละเม็ดไม่เพียงต้องเลือกเฟ้นที่ขนาด สี ลึกลงไปในส่วนของผู้เลี้ยง จะต้องเลือกตั้งแต่พันธุ์หอยที่นำมาผลิตกันทีเดียว

ดังนั้น วันนี้จึงขอพาแฟนคอลัมน์ล่องใต้ไปที่เกาะรังใหญ่ จ.ภูเก็ต หรือ เกาะมัลดีฟเมืองไทย เพื่อชมกรรมวิธีการเลี้ยงหอยมุก อันเป็นการเสริมความรู้ และกำไรชีวิตไปพร้อมกัน

นายวุฒิพงศ์ รังสินธุรัตน์ บอกว่า มุกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มุกน้ำจืดและมุกน้ำเค็ม ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีทั้งมุกธรรมชาติและมุกเลี้ยง อย่างที่เกาะจะเลี้ยงมุกน้ำเค็ม ซึ่งจะใช้พันธุ์หอยจาน หอยแกลบ และหอยปีกนก โดยจะรับซื้อจากชาวทะเล 'มอแกน' ที่ดำน้ำลงไปงม จากใต้ทะเลลึกมาขาย ระหว่างเดือน พ.ย.-เม.ย. ในช่วงหลังประชากร ของหอยเหล่านี้มีเหลือค่อนข้างน้อย ทางฟาร์มจึงร่วมกับ ศูนย์วิจัยประมงคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพาะขยายพันธุ์และนำไปปล่อยตามเกาะต่างๆ เพื่อทดแทนและอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ

สำหรับ หอยจาน จะใช้อายุ 4-5 ปี โดยวัด ขนาดของฝาที่จุดข้อต่อที่ขนาด 12-15 ซม. ซึ่งหอยชนิดนี้อยู่ได้ถึง 15 ปี ดังนั้น ราคารับซื้อจึงสูงกว่าชนิดอื่น เพราะสามารถผลิต มุก เซ้าซีหรือมุกกลม (ขนาดของมุก 11-20 มิลฯ) ได้ 3 ครั้ง ซึ่งมุกเม็ดแรกจะออกมาไม่สวย จึงนำไปทำจี้ ต่างหู ส่วน การผลิตมุกครั้งที่ 2 และ 3 ราคาจะสูงขึ้น ซึ่งการผลิตแต่ละครั้งใช้เวลา 3-4 ปี

เมื่อนำมุกออก จะนำพันธุ์หอยไปพักฟื้นในทะเลที่น้ำนิ่ง 8-12 เดือน เพื่อรอให้แผลหาย หรือแม่พันธุ์สุขภาพดี จึงนำมาฝังนิวเคลียสใหม่ หอยแกลบ จะใช้อายุ 18 เดือน ซึ่งวัดขนาดได้ 4-5 ซม. หอยชนิดนี้จะใช้ผลิต มุกอโกย่าหรือมุกกลม โดยเม็ดมุกจะมีขนาด 2-7 มิลฯ และใช้เวลา 2 ปี ซึ่งมุกชนิดนี้ส่วนมากจะนำไปทำต่างหู

หอยปีกนก จะใช้อายุ 18-24 เดือน เพื่อนำมาผลิต มุกมาเบ้หรือมุกซีก โดยใช้เวลาเลี้ยงเพียง 1 ปี เมื่อได้รูปทรงขนาดพอดี ตามที่ต้องการ จะตัดเจียให้มุกติดกับเปลือก ในลักษณะซีก เพื่อนำไปทำต่างหู จี้ หรือหัวแหวน ส่วนที่เหลือและฝาอีกด้าน จะขายให้กับโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพื่อทำโต๊ะเก้าอี้ ในราคา กก.ละ 20 บาท

ส่วนอุปสรรคและปัญหา วุฒิพงศ์ บอกว่า ได้แก่ การฝังนิวเคลียสกับสัตว์ทะเล อาทิ ปลาดาวหนาม หอยสังข์หนาม ปู ปลาปักเป้า ดังนั้น หลังจากนำหอยมาอนุบาลในพื้นที่ที่เตรียมไว้ 3 เดือน การฝังนิวเคลียสจะต้องใช้เครื่องมือที่คมและต้องเสร็จภายใน 8 ชม. จากนั้นจะใช้ตาข่ายไนลอนหุ้ม เพื่อป้องกันการรบกวนของสัตว์ทะเล นำลงบ่ออนุบาลเป็นเวลา 45-60 วัน ตรวจเช็กหากพบว่ามีหอยตัวใดคายนิวเคลียสออกมา จะต้องนำไปอนุบาลให้แผลหายเพื่อนำกลับมาฝังนิวเคลียสใหม่

ใครที่อยากรู้ว่า มุกมาเบ้ อโกย่า เซ้าซี เมืองไทย สวยเทียบเท่ามุกต่างแดนหรือไม่ ต้องลองไปพิสูจน์กัน.

เพ็ญพิชญา เตียว

การสะสมตะกั่วในผักบุ้งและผักกระเฉดจากแหล่งน้ำผิวดิน

ธงชัย (2526) ได้ ศึกษาเรื่อง การสะสมตะกั่วในผักบุ้งและผักกระเฉดจากแหล่งน้ำผิวดิน ผู้วิจัยได้ปลูกผักบุ้งและผักกระเฉดในสารละลายไฮโดรโปนิคในภาชนะถังปูนที่ ทดลองและควบคุมในบริเวณเรือนเพาะชำ ในภาชนะทดลองได่ใส่สารละลายตะกั่วไนเตรท (Pb(NO3)2) มีความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ คือ 1,5 และ 10 พี.พี.เอ็ม ผลการศึกษาพบว่า การสะสมของตะกั่วในผักทั้ง 2 ช นิด ขึ้นกับปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วในสารละลายไฮโดรโปนิกและอายุพืช โดยผักกระเฉดจะมีการสะสมของตะกั่วมากกว่าผักบุ้งใน สภาวะเดียวกัน

การเพิ่มทักษะและการแสวงหาการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชุมชนของสัตว์ป่า ใน จ.แม่ฮ่องสอน

ทำการทดสอบให้คนในท้องถิ่ นในจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีส่วนร่วมในการสำรวจและศึกษาสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นการศึกษาความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสัตว์ป่าด้วยการวาง ที่เหยียบด้วยการเกลี่ยดินให้เรียบในพื้นที่ 0.5×0.5 ตร.. หลายๆตำแหน่งบนเส้นทางที่กำหนด โดยแต่ละ ที่เหยียบไ ด้ วางอาหารล่อเอาไว้ ผลปรากฏว่าวิธีการนี้เหมาะสมสำหรับการศึกษาแมวป่าขนาดเล็กและขนาดกลาง การศึกษาดังกล่าวเพิ่มความสนใจของคนท้องถิ่นในการศึกษาสัตว์ป่า โดยเริ่มสนใจเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า ขยายสู่ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาสัตว์ป่าอย่างมีระบบ และเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ การศึกษาสัตว์ป่าด้วยการทำ ที่เหยียบน อก จากจะมีศักยภาพในการขยายพื้นที่ในการสำรวจกลุ่มสัตว์ป่าดังกล่าวโดยคนท้อง ถิ่นได้อย่างกว้างขวางแล้ว ยังมีราคาถูก เหมาะสมสำหรับพื้นที่ และได้ข้อมูลที่มีค่าเพื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่และระหว่างช่วงเวลา โดยอาจจะขยายการสำรวจจากแมวป่าชนิดต่างๆ ไปเป็นการสำรวจสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ต่อไป และยังมีศักยภาพในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้วย

คณะผู้วิจัยสมโภชน์ ศรีโกสามาตร, สุวิทย์ เนาสวัสดิ์ และทัตฑยา พิทยาภา

การวิจัยเพื่อแผนแม่บทการอนุรักษ์พรรณปลาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การสำรวจพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เกี่ยวข้องกับพรรณปลา 6 แห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของปลาในหมู่บ้าน 5 แห่ง พบว่าหมู่บ้านห้วยเดื่อเป็นหมู่บ้านที่มีกิจกรรมการประมงมากที่สุด มีการใช้เครื่องมือจับปลาถึง 5 ว ิธี ส่วนหมู่บ้านห้วยฮี้ อำเภอเมือง เป็นหมู่บ้านที่มีกิจกรรมประมงน้อยที่สุด หมู่บ้านห้วยเดื่อ และแม่ยวมหลวง อำเภอขุนยวม เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมและจัดตั้งองค์กรในการอนุรักษ์พันธุ์ สัตว์น้ำ การสำรวจชนิดปลาครั้งนี้พบปลารวม 31 ชนิด ส่วนมากอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนสร้อย (Cyprinidae) พบ 17 ชนิด และวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) พบ 7 ชนิด ในการดำน้ำสำรวจเพื่อทดสอบศักยภาพในการส่งเสริมเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้ทำในแหล่งท่องเที่ยว 4 แ ห่ง พบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการดำน้ำคือ ช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม แต่พบปลาน้อยชนิดมาก กิจกรรมต่อไปที่จะดำเนินการคือ การเตรียมความพร้อมในการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ การผลิตสื่อหรือนิทรรศการย่อยในเรื่องเกี่ยวกับพรรณปลาที่พบในแหล่งท่อง เที่ยวสำคัญ และการสำรวจเพิ่มเติมถึงศักยภาพในการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งผลประทบต่อถิ่น อาศัยของปลาถ้ำ ส่วนหนึ่งของผลการวิจัยโครงการนี้มีแนวโน้มในการพบปลาชนิดใหม่อย่างน้อย 2 ชนิด และได้ตีพิมพ์เป็นเอกสารวิชาการเกี่ยวกับความหลากชนิดของปลาที่พบในลุ่มน้ำสาละวินของประเทศไทย 1 ฉบับ

คณะผู้วิจัย ชวลิต วิทยานนท์ และเอกพจน์ เจริญศิริวงศ์ธนา

การประเมินสภาวะและการแพร่กระจายของสัตว์ผู้คุ้มกัน เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ : กรณีเสือโคร่งอินโดจีน (PANTHERA TIGRIS CORBETTI) ในแหล่งที่อ

สัตว์ผู้คุ้มกันภัย หมายถึง สัตว์กลุ่มที่มีอาณาบริเวณที่อยู่อาศัยกว้างใหญ่ หรืออยู่ในสภาพนิเวศหลายแบบ การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้คุ้มกันภัยจะช่วยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่ง (Panthera tigris) อาจเป็นผู้ คุ้มกันที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งได้หายไปอย่างฉับพลันจากบริเวณที่เคยแพร่กระจายทุกแห่งใน 14 ป ระเทศ ที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ มันถูกจำกัดให้อยู่ในบริเวณที่เล็กลงๆ โดยไม่มีใครรู้ขนาดเนื้อที่ที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของประชากรเสือโคร่ง ตั้งแต่ปี 2540 ได้มีการริเริ่มความพยายามในการ รวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาวะและการแพร่กระจายของเสือโคร่งใน ประเทศไทย การสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องถิ่น ตามด้วยการสำรวจร่องรอยยืนยันถึงลักษณะรูปแบบของการอยู่ของเสือโคร่งและ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อื่นๆ ในป่าที่เหลือน้อยลง และบ่งบอกว่ามีการคุกคามต่อเสือโคร่งในแหล่งที่อยู่เหล่านี้ กล้องดักถ่ายภาพด้วยรังสีอินฟาเรดถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูลในรายละเอียด เกี่ยวกับความชุกชุมของเสือโคร่งและเหยื่อ และระดับกิจกรรมของมนุษย์ การสำรวจในใจกลางป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยให้ผลที่ไม่คาดคิด บริเวณหลักของสองเจตอนุรักษ์ คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาเขียว และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความหนาแน่นของเสือโคร่งต่ำกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ป่าที่ไม่มีใครรู้จักในสมัยก่อนในแนวเขตไทยมาเลเซียมีความหนาแน่นของ เสือโคร่งสูงกว่า เสือโคร่งน่าจะเป็นสัตว์ผู้คุ้มกันสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายของสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ แต่การล่าสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งอย่างชุกชุมเป็นสิ่งที่คุกคามความ อยู่รอดของเสือโคร่งในป่าเมืองไทย

คณะผู้วิจัย - แอนโทนี่ เจ ไลนัม, อลัน เรบินโนสวิทและ วรเรณ บรอคเคลแมน

การตอบสนองของสัตว์ป่าต่อการที่ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกเปลี่ยนสภาพเป็นหย่อมป่า และปัจจัยการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดจากมนุษย์ในพื้นที่ป่าดิบเขาภาคเหนือ

เนื่องจากพื้นที่ป่าอนุรั กษ์ส่วนใหญ่ ในภาคเหนือ ถูกเปลี่ยนสภาพจากป่าพื้นที่ทีเคยเป็นป่าผืนใหญ่ กลายเป็นหย่อมป่า ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ป่า ดังนั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษารูปแบบและการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าดิบเขา และผลกระทบต่อสัตว์ป่าที่ใช้พื้นที่ที่แตกต่างกันในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง โดยชาวเขา และการพัฒนาอื่นๆ พื้นที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่ และตาก วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ประกอบด้วยการสำรวจสัตว์ป่าตามเส้นแนวในหย่อมป่าตัวอย่าง ระหว่างปี 2540 – 2541 โดยเน้นเฉพาะนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่า หย่อมป่าอมก๋อยยังคงเหลือสภาพหย่อมป่าผืนใหญ่ (4-8 ตารางกิโลเมตร) ท่ามกลางพื้นที่ไร่ร้าง ในขณะที่พื้นที่ป่าแม่ตื่นถูกเปลี่ยนสภาพเป็นหย่อมป่าผืนเล็กผืนน้อย (0.3 – 0.8 ต า รางกิโลเมตร ท่ามกลางไร่กะหล่ำ ถนน และหมู่บ้าน ผลการศึกษาสัตว์ป่าปรากฏว่า ความหลากหลายของชนิดนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในหย่อมป่าอมก๋อย มีสูงกว่าหย่อมป่าแม่ตื่น และพบว่านกป่าดิบยังคงมีความหนาแน่นสูง ในหย่อมป่าดิบเขาขนาดเล็กในป่าแม่ตื่น แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของหย่อมป่าเหล่านี้ต่อนกป่า ปัจจัยรบกวนอื่นๆ ที่พบคือ การล่าการจุดไฟเผาป่า และ ปล่อยวัวเลี้ยงเข้าป่า หย่อมป่าอมก๋อยยังคงคุณค่าต่อสัตว์ป่า แต่ประชากรถูกจำกัดตามหย่อมป่าที่คงเหลือ ส่วนหย่อมป่าในป่าแม่ตื่น ยังคงคุณค่าต่อนก และการกระจายพันธุ์ของนกป่าในพื้นที่

คณะผู้วิจัย อนรรฆ พัฒนวิบูลย์, Philip Dearden และ อุทิศ กุฏอินทร์

ความรู้พื้นบ้านในการปลูก และการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรตระกูลขิงของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นบ้านในการปลูก และการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรตระกูลขิงของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัย พบว่า
เกษตรกรที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50 ปี มีสมาชิกในครอบครัว 3 คน มีการศึกษาในชั้นประถมศึกษา และมีอาชีพหลักด้านการเกษตร โดยส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นราบ มีรายได้เฉลี่ย 40,239.50 บาท/ปี
การรับข้อมูลข่าวสารด้านสมุนไพร พบว่า เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ และเพื่อนบ้าน
สื่อที่ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสมุนไพรน้อย ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้าน หอกระจายข่าว และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
- เกษตรกรมีความรู้พื้นบ้านในการปลูกและการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับพืชตระกูลขิงในระดับมาก

ผู้วิจัย ประมวล ชูสกุล (2540)



Programming health portrayais: what viewers see, and do.

งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาภาพด้นสุขภาพที่ปรากฏในรายการต่างๆ ผ่านการรับรู้ การพูด และการกระทำของผู้ชม

ผลการวิจัย พบว่า
- บริษัทผู้ผลิตเหล้าและบุหรี่ ได้ใช้งบประมาณนับล้านดอลล่าร์ในการส่งเสริมการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า
พ ฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มักเป็นเรื่องที่ถูกนำมาเสนอ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน ความเป็นวัยรุ่น และความสง่างาม ผ่านทางการโฆษณา และรายการบันเทิงต่างๆ

ผู้วิจัย – Gerbner, G. Morgan, และคณะ (2525)



+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ

เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html

ความหลากชนิด, สถานภาพของพรรณปลาในลุ่มน้ำสงครามตอนล่างและความสำคัญต่อเศรษฐกิจสังคมพื้นบ้าน

โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาและสำรวจเพื่อเป็นฐ านข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและความสำคัฯต่อเศรษฐกิจสังคมของชุมชนประมงใน พื้นที่ลุ่มน้ำสงครามตอนล่างที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในระบบแม่น้ำโขง ได้แก่ สกลนคร , นครพนม และหนองคาย การสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริเวณดังกล่าวมีความหลากชนิดของปลาสูง พบอย่างน้อย 182 ชนิด จาก 39 วงศ์ เป็นชนิดที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ 13 ชนิด และชนิดที่พบเฉพาะถิ่น 19 ชนิด กลุ่มที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ตะเพียน สร้อย (Cyprinidae) พบ 78 ชนิด พื้นที่ทำการวิจัยประกอบด้วยถิ่นอาศัยทางน้ำ 3 ประเภท คือ ระบบแม่น้ำ, oxbow lake, และที่ราบน้ำท่วมถึง พบ 5 หมู่บ้านมีวิถีชีวิตเกี่ยวกับการหาปลา และ 3 หมู่บ้านมีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการทำปลาร้ามากกว่า 300 ปี กิจกรรมประมงในพื้นที่ดังกล่าว พบว่ามีการใช้เครื่องมือตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงเครื่องมือขนาดใหญ่รวมกว่า 35 ว ิธี ในปีที่ทำการวิจัยเป็นช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะนาน และระดับน้ำในแม่น้ำโขงไม่สูงขึ้นเท่าที่ควร จึงมีผลผลิตปลาและกิจกรรมประมงน้อย กิจกรรมที่ทำ คือ การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และทำการประมงอย่างยั่งยืน และการทำสื่ออย่างง่ายในการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพรร ณปลา ในการวิจัยครั้งนี้พบปลาชนิดใหม่ 2 ชนิด และชนิดที่น่าจะเป็นชนิดใหม่อีก 4 ชนิด

คณะผู้วิจัย - ชวลิต วิทยานนท์, อภิชาต เติมวิชชากร, รังสันต์ ไชยบุญทัน และ พรพนา ก๊วยเจริญ



+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ

เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html

การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของแหล่งวางไข่ของเต่าหญ้า บนเกาะภูเก็ต

การศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่คาดว่ามีผลต่อการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้า Lepidochelys olivacea บนเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยแบ่งหาดที่ศึกษาออกเป็น 4 ประเภท คือ หาดที่มีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ในปัจจุบัน ห าดที่เคยมีเต่าหญ้าขึ้นมาวางไข่ในอดีต หาดที่ไม่เคยมีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ และหาดทรายเทียมในบ่อเลี้ยงปลา ผลการศึกษาพบว่า หาดในธรรมชาติที่มีการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้าในปัจจุบันจะมีค่าเฉลี่ยความกว้ าง ความชัน ปริมาณน้ำและเกลือในทราย ค่ากลางขนาดเม็ดทราย แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)> แต่ค่าเฉลี่ย ความยาวของหาด ความเป็นกรดด่างของทรายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)>

คณะผู้วิจัย ศันสรียา วังกุลางกูร, กำธร ธีรคุปต์, สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์



+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ

เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html

วิธีการประมาณจำนวนผู้ติดยาเสพติดจากผู้ให้ข้อมูลใน 4 จังหวัด

เทพนม( 2529) ได้ศึกษา วิธีการประมาณจำนวนผู้ติดยาเสพติดจากผู้ให้ข้อมูลใน 4 จ ังหวัด ได้แก่ นครปฐม ลำปาง กาฬสินธุ์ และสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งทำการศึกษาเปรียบเทียบจากากรตรวจปัสสาวะ เพื่อหายาเสพติดในกลุ่มตัวอย่าง ที่ไปรับการตรวจสุขภาพจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในจังหวัดลำปาง ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลที่ได้รับมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูง ส่วนความเที่ยงของข้อมูลยังไม่อาจระบุได้จนกว่าจะได้มีการเปรียบเทียบกับ ข้อมูลจากวิธีการอื่นๆที่สามารถจะเปรียบเทียบกันได้ สำหรับข้อมูลการตรวจปัสสาวะไม่สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบหรือแปลผลให้ เป็นข้อมูลของประชากรได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดต่างๆหลายประการ

บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

สมพงศ์ และคณะ (2528) ได้ศึกษา บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โดยเก็บเลือดจาก peripheral blood เส้นเลือดแดงที่นำปสู่ม้าม (splenic artery) และเส้นเลือดแดงที่ออกจากม้าม (splenic vein) มาศึกษาลักษณะรูปร่างของเม็ดเลือดแดงและนับเป็นเปอร์เซ็นต์โดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (Scanning Electron microscope, SEM) รวมทั้งศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อของม้ามด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบลำแสงผ่าน (Transmission Electronmicroscope, TEM) และ SEM การศึกษาครั้งนี้กระทำในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดต่างๆกัน 12 คน ซึ่งมีอาการ hypersplanism แ ละ ได้รับการรักษาโดยการตัดม้ามขณะกำลังศึกษา ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ม้ามนอกจากทำลายเม็ดเลือดที่ผิดปกติแล้ว ยังทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงผิดปกติบางชนิด โดยเฉพาะกลุ่มเม็ดเลือดแดงผิดปกติที่เกิดจากกระบวนการแตกตัวของเซลล์เม็ด เลือดแดงกลุ่มนี้ ได้แก่ decrycocyte keratocyte และ schizocyte จ าก การศึกษาพบว่า เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากกระบวนการแตกตัวของเซลล์ ในเส้นเลือดดำที่ออกจากม้ามสูงขึ้นเมื่อขนาดของม้ามโต ซึ่งหมายถึงระบบการหมุนเวียนเลือดเป็นไปในทางระบบเปิดในม้ามของผู้ป่วย ธาลัสซีเมีย นอกจากม้ามแล้วอาจสันนิษฐานได้ว่า ตับก็มีส่วนช่วยทำลายเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติด้วย

สมพงศ์ สหพงศ์, สุภาพร สุวิวัฒน์, สุทัศน์ พูเจริญ, อานนท์ บุณยะรัตเวช, และ เกลียวพันธ์ เถลิงผล (2528) บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดรากเตยหอม

เพ็ญโฉม และคณะ (2530) ได้ศึกษา ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดรากเตยหอม โดยทดลองในหนู ซึ่งใช้น้ำสกัดรากเตยหอม ขนาด 1,2 และ 4 กรัม/กก. น้ำหนักตัวป้อนในหนูทดลอง และป้อนสารละลาย tolbutamide ขนาด 500 มก./กก. น ้ำ หนักตัวในหนูกลุ่มควบคุม ผลการศึกษา พบว่า ทุกขนาดของน้ำหนักรากเตยหอมสามารถลดน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขนาดน้ำสกัดมีแนวโน้มทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง และฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือดคงอยู่นานขึ้น ขนาดน้ำสกัดรากเตยหอมที่ให้ผลดีที่สุดขนาด 2 กรัม/ กก. น้ำหนักตัว ซึ่งมีประสิทธิภาพลดน้ำตาลได้ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับ tolbutamide ขนาด 500 มก./กก. น้ำหนักตัวในขณะที่ออกฤทธิ์สูงสุด

เพ็ญโฉม พึ่งวิชา, ยุวดี วงษ์กระจ่าง และ อรวรรณ เรืองสมบูรณ์ (2530) ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดรากเตยหอม. จุลสารมหาวิทยาลัยมหิดล, 12,11,13.

การวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องเอดส์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของประเทศไทยและสิงคโปร

งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาเชิงปริมาณโดยเปรียบเทียบเนื้อหาเรื่องเอดส์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์

ผลการวิจัย พบว่า
ห นังสือ พิมพ์ภาษาอังกฤษของประเทศไทย มีเนื้อหาและความถี่ในการนำเสนอข้อมูลเรื่องโรคเอดส์ มากกว่าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของประเทศสิงคโปร์
หนังสื อ พิมพ์ของแต่ละประเทศก็จะนำเสนอเนื้อหาทั้งเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับโรค เอดส์ที่เกิดขึ้นในประเทศของตน มากกว่าที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น
รูปแบบการนำเสนอข้อมูล และประเด็นเกี่ยวกับเอดส์ที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ของทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกัน

ผู้วิจัย นพรัตน์ ปทุมรังษี (2541)

Massages of distribution : the HIV/AIDS media campaign in Thailand.

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเนื้อหาในสื่อมวลชนต่อเรื่องเอดส์ในประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า
เนื้อหาเรื่องเอดส์ เป็นไปในทางลบ เป็นเรื่องที่น่ากลัว
มีการตีตราลักษณะของผู้ติดเชื้อ ว่าเป็นผู้ปล่อยเชื้อเอดส์โดยเฉพาะผู้ติดยาและโสเภณี

ผู้วิจัย – Lytleton C. (2539)

ความหลากหลายและวิวัฒนาการ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในประเทศไทย

โครงการวิจัยนี้เป็นการศึ กษาและ วิจัยความหลากหลายและวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนู และกระรอก ที่สะสมตัวอยู่ในถ้ำและโพรงหินปูน ในภาคตะวันตกของประเทศไทยบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี, ราช บุรี และบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณนี้มีภูมิประเทศแบบคาร์ส มีภูเขาหินปูนเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นถ้ำและโพรงหินที่เหมาะสมกับการสะสมตัว ของฟอสซิลสัตว์เหล่านี้ ฟอสซิลเหล่านี้เกิดจากการสะสมตัวจากการสำรอกของนกเค้าแมวและสัตว์กินเนื้อ ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสามารถบ่งชี้าภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศใน อดีตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ในการศึกษานี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างหินที่สะสมตามถ้ำและโพรงหินปูนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และพบแหล่งสะสมตัวของฟอสซิลหลายแห่ง นำตัวอย่างหินเหล่านี้มาละลายโดยใช้กรดฟอร์มิกเจือจางในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างฟอสซิลสัตว์บางส่วนที่ละลายออกมาแล้วได้นำมาศึกษาเปรียบเทียบ โดยศึกษารายละเอียดของลักษณะฟันสัตว์เป็นส่วนใหญ่ จากการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า มีฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่น่าสนใจหลายชนิด ได้แก่ หนู กระรอก และกระรอกบิน ประมาณ 21 ชนิด ได้ค้นพบฟอสซิลหนูบางชนิดที่ไม่ได้อาศัยในประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น หนูคุณฮูท (Hadromys humei) ซึ่งเป็นหนูที่มีถิ่นอาศัยปัจจุบันอยู่บริเวณแคว้น Manipur ในประเทศอินเดีย และทางใต้ของประเทศจีน นอกจากนั้นยังพบฟอสซิลกระรอกบินชนิดใหม่ มีลักษณะคล้ายกับกระรอกบินเท้าขน (Belomys pearsonii) แ ต่ มีขนาดใหญ่กว่ามาก การค้นพบฟอสซิลชนิดใหม่ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ทราบถึงความหลากหลายและวิวัฒนาการของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต ได้เป็นอย่างดี

ผู้วิจัย เยาวลักษณ์ ชัยมณี

การประเมินความเสี่ยงของแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อสิ่งแวดล้อม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

และ ขยายไปสู่พื้นที่ข้างเคียงโดยครอบคลุมถึงพื้นที่ใช้ประโยชน์ของหมู่บ้าน ห้วยน้ำโป่ง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดนมักมีจุด ประสงค์เพื่อดูนกที่บริเวณโป่งแสนปิ๊ก ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและสอบถามบุคคลในพื้นที่ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาทิ ทรัพยากรด้านกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชากรบ้านห้วยน้ำโป่ง จะนำมาใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อสิ่ง แวดล้อม ผลจากการสำรวจ พบนกทั้งหมด 72 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นก 4 ชนิดหลักที่บริเวณโป่งแสนปิ๊ก ได้แก่ นกมูม (Ducula badia) นกกะลิง (Psittacula finschii) นกเขาเปล้าธรรมดา (Treron curvirostra) และนกหกเล็กปากแดง (Loriculus vermalis) โดยมีจำนวนรวมกันประมาณ 600 ต ัว ซึ่งน่าจะเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวมากที่สุด แต่เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังมีปริมาณน้อย ผลกระทบดังกล่าวจึงยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน นอกจากนกและโป่งแล้ว ทรัพยากรอื่นๆ เช่น สัตว์ป่า กล้วยไม้ น้ำพุร้อน และวิถีชีวิตของชาวบ้านก็เป็นปัจจัยที่ได้รับการประเมิน และจัดทำแผนการท่องเที่ยวเพื่อลดผลกระทบ โดยรูปแบบของแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะประกอบด้วย การแบ่งเขตพื้นที่กิจกรรม ขีดจำกัด และการจัดการท่องเที่ยว

คณะผู้วิจัย อภิรัตน์ เอี่ยมศิริ, นริทธ์ สีตะสุวรรณ

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงในประเทศไทย : กรณีของชุมชนกับสัตว์ป่า

ผลการศึกษาเกี่ยวกับความส ัมพันธ์ของ ชาวม้งที่มีต่อสัตว์ป่า พบว่าลดลงจากอดีตมาก การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจทำให้ชาวม้งมีเวลาที่จะเข้าป่าล่าสัตว์ลดลง การติดต่อกับตลาดบ่อยครั้งขึ้นทำให้คนม้งซื้อเนื้อสัตว์จากพื้นที่ราบมาก ขึ้น และคนรุ่นใหม่หันเหความสนใจจากป่ามาสู่เมือง จึงอาจกล่าวได้ว่าพืชเศรษฐกิจมีผลดีทางอ้อมต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในแง่ลด ความถี่ของการล่าสัตว์ของแต่ละบุคคล และลดความสนใจและความชำนาญในการล่าสัตว์ของคนบางกลุ่มลง อย่างไรก็ดี แม้ว่าชายม้งแต่ละคนจะล่าสัตว์ลดลง ประชากรในหมู่บ้านที่เพิ่มมากขึ้นก็ยังผลให้แรงกดดันต่อประชากรสัตว์ป่ามิ ได้ลดลงมากนัก นอกจากนั้นอาวุธปืน และยานพาหนะมีส่วนช่วยให้การล่าสัตว์มีประสิทธิผลและขยายพื้นที่ได้ห่างไกล หมู่บ้านมากขึ้น จากรายงานของชาวบ้านในทุกหมู่บ้านพบว่า สัตว์ป่าแทบทุกชนิดมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จากในอดีต และบางชนิดสูญพันธุ์ไปจากป่าบริเวณรอบหมู่บ้าน ซึ่งอาจเป็นสิ่งชี้ว่าประชากรสัตว์ป่าที่ถูกล่ายังคงสูงกว่าประชากรสัตว์ ป่าที่เกิดใหม่ ชาวม้งจำนวนมากเห็นด้วยกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า และได้มีความพยายามในอดีตที่จะห้ามการล่าสัตว์บางชนิด แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากยังมีผู้ไม่ให้ความร่วมมือ การล่าสัตว์กับชาวม้งนั้นเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดทางวัฒนธรรมมายาวนานตั้งแต่ สมัยที่สัตว์ป่ายังมีอยู่ชุกชุมจนกระทั่งสัตว์ป่าจำนวนมากใกล้สูญพันธุ์ อย่างเช่นในปัจจุบัน การที่จะให้ชาวบ้านหันมาอนุรักษ์สัตว์ป่านั้นจึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมอย่างช้าๆ โดยผ่านการสื่อสารอย่างมีระบบ การใช้อุปกรณ์การสื่อสารที่น่าสนใจ เช่น วีดิทัศน์ในการชักจูงให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่า การสื่อสารกับเด็กๆเป็นประจำผ่านโรงเรียนประจำหมู่บ้าน เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในระยะยาว

คณะผู้วิจัย วรนุช ตั้งอิทธิพลากร, ฟิลิปส์ เดียร์เด็น และชูศักดิ์ วิทยาภัค

Three mass media campaigns to prevent adolescent cigarette smoking

งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นการศึกษาประสิทธิภาพของแนวทางการรณรงค์ 3 แนวทางต่อวัยรุ่น โดยการแบ่งวัยรุ่นออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สูบบุหรี่ และกลุ่มที่ยังไม่ได้สูบบุหรี่

ผลการวิจัย พบว่า

ส ื่อมวลชนสามารถก่อให้เกิดประสิทธิผลได้ดี หากเน้นหนักที่การกระตุ้นพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ของบุคคล มากกว่าการโน้มน้าวใจคนให้ยกเลิกการสูบบุหรี่

ผู้วิจัย – Bauman, K.E และคณะ (2531)

ความหลากหลายของพรรณพืช และการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวถิ่นและลัวะ ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติดอยภูคาครอบคลุมพื้นที่ 7 อ ำเภอ ในจังหวัดน่าน ประกอบด้วยพรรณไม้ท้องถิ่นนานาชนิด และมีชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดของชนกลุ่มน้อยใน จังหวัดน่าน อาศัยอยู่ 2 กลุ่ม คือ ชาวถิ่น และลัวะ โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจพันธุ์พืชบนดอยภูคาในเส้นทางเดิน ศึกษาธรรมชาติ และองค์ความรู้ในการใช้พืชเพื่อการดำรงชีวิตของชาวลัวะ และถิ่น ผลการสำรวจบนเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติพบพืช 161 ชนิด เช่น ชมพูภูคา, ฮ่อสะพานควาย,เต่าร้างยักษ์, และประนอย จากการสัมภาษณ์องค์ความรู้ในการใช้พืชของชาวลัวะ และถิ่น พบมีพืช 114 ชนิดที่มีการนำมาใช้ในการยังชีพที่สำคัญ ได้แก่ เมี่ยง, มะแขว่น,, แตงอ้ม, ม ะ นอยต๊อบ และตะไคร้ต้น การทำการเกษตรที่สำคัญ คือ การทำไร่ข้าวผสมผสานกับการปลูกพืชอาหารอื่นๆ ซึ่งจะมีการหมุนเวียนใช้ที่ดินภายในรอบ 5-7 ปี และจะต้องผ่านการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อถือของชนแต่ละกลุ่ม

คณะผู้วิจัย ชูศรี ไตรสนธิ, วิทยา หงส์เวียงจันทร์, ไพบูลย์ สุทธิสุภา, ฐานิศวร์ วงศ์ประเสริฐ, สมเจตน์ วิมลเกษม และปริทรรศน์ ไตรสนธิ

บทบาทผู้หญิงกับรูปแบบการจัดการพืชพื้นบ้าน : กรณีศึกษา บ้านใหม่สันติสุข กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

การศึกษาเรื่อง บทบาทผู้หญิงกับรูปแบบการจัดการพืชพื้นบ้าน : ก รณี ศึกษา บ้านใหม่สันติสุข กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกต การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม และการจัดกลุ่มสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพืชพื้นบ้านของผู้หญิง ได้แก่ 1) ความต้องการทางด้านอาหาร 2) ความต้องการทางด้านสมุนไพร 3) ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆ เช่น นำมาเป็นแชมพูสระผม นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ 4) ความต้องการด้านความเชื่อและพิธีกรรม และ 5) ค วาม ต้องการทางด้านเศรษฐกิจ โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการอยู่รอดของครอบครัว เพราะผู้หญิงได้พัฒนาการทำงานร่วมกับบุคคลหลายรุ่น ตลอดถึงการวางแผนการผลิตสำหรับอนาคต การเรียนรู้จากผู้อื่น การถ่ายทอดให้ความรู้แก่ลูกหลานรุ่นต่อไป

คณะผู้วิจัย บานจิตร สายรอคำ, อนุรักษ์ ปัญญานุวัตร์, ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์ และประหยัด ปานดี

การสำรวจชนิดของนกและพัฒนาศักยภาพของชุมชนตัวอย่าง เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดแม่ฮ่องสอน

การสำรวจความหลากหลายชนิดของนกบริเวณหมู่บ้าน 4 แ ห่ง คือ บ้านห้วยฮี้ บ้านห้วยเสือเฒ่า บ้านห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบ้านถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2541 พบนกบริเวณหมู่บ้านทั้ง 4 แห่ง 49 วงศ์ รวม 264 ชนิด คือ บ้านห้วยฮี้ 202 ชนิด บ้านห้วยเสือเฒ่า 142 ชนิด บ้านห้วยผา 70 ชนิด และบ้านถ้ำลอด 153 ชนิด เป็นนกที่พบในทั้ง 4 แห่ง 23 วงศ์ 39 ช นิด นกชนิดที่เด่นในทุกแห่งคือ นกปรอดเหลืองหัวจุก และนกปรอดหัวโขน ที่บ้านถ้ำลอด นกชนิดเด่นอีกชนิด คือ นกนางแอ่นตะโพกหางแฉก และได้บันทึกชื่อนกจากภาษาของชนเผ่า คือ ภาษาไต 93 ชื่อ, ปกาเกอะญอ 92 ชื่อ และกะเหรี่ยงแดง 52 ช ื่อ บันทึกความเชื่อของชนเผ่าที่เกี่ยวกับนกซึ่งแตกต่างกัน คือ บ้านห้วยฮี้เป็นชนเผ่าปะกาเกอะญอ บ้านห้วยเสือเฒ่าเป็นกะเหรี่ยงแดง บ้านห้วยผาและบ้านถ้ำลอดเป็นไทยใหญ่ ได้ฝึกอบรมผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งเป็นบุคลากรในท้องที่ เพื่อเป็นวิทยากรในการอบรมการดูนกแก่เยาวชนในหมู่บ้าน ที่บ้านห้วยฮี้ และบ้านถ้ำลอด สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และได้ประชุมระดมความคิดจากกลุ่มต่างๆ ของหมู่บ้าน ซึ่งทุกแห่งอยากส่งเสริมกิจกรรมดูนกและตั้งกลุ่มของหมู่บ้านเพื่อจัดการการ ท่องเที่ยวต่อไป

คณะผู้วิจัย - นริทธ์ สีตะสุวรรณ, สิริวดี ชมเดช และ ทศพล สุภาหาญ

การใช้และการแสวงหาสารสนเทศของเกษตรกร อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี

ประภาวดี สืบสนธ์ (2530 / 198-230) ศึกษาเรื่อง การใช้และการแสวงหาสารสนเทศของเกษตรกร อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์รับสารสนเทศจากการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือพิมพ์ สารสนเทศที่เกษตรกรต้องการใช้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สารสนเทศทางการเกษตร
1.1 โรค ความสมบูรณ์ของต้นไม้ การป้องกัน การบำรุงรักษา
1.2 ปัจจัยการเกษตร การเลือกพันธ์ ยาฆ่าแมลงและปราบวัชพืช ปุ๋ย ที่ดิน น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก
1.3 เทคนิคการเกษตร การเร่งผลผลิต การเตรียมดิน การปราบวัชพืช
1.4 ผลผลิต รายได้ การตลาด

2. สารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
2.1 สุขภาพอนามัย
2.2 อุปโภค บริโภค
2.3 การศึกษา กฎหมาย กฎระเบียบ บ้านและที่อยู่อาศัย เงินและรายได้ การประกอบอาชีพโดยทั่วไป 2.4 การคมนาคมขนส่ง ความปลอดภัย พลังงาน การเลี้ยงดูเด็ก นันทนาการ และกีฬา

การใช้มดเป็นดัชนีวัดความหลากหลายทางชีวภาพ : การพัฒนาวิธีการตรวจสอบและการวัดความหลากหลายทางชีวภาพ

การศึกษาการใช้มดเป็นดัชน ีความหลาก หลายทางชีวภาพ ได้เน้นในเรื่องของการพัฒนาวิธีการตรวจนับและการวัดความหลากหลายทาง ชีวภาพโดยใช้มดเป็นดัชนี ใช้พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสถานที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมสภาพป่าต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ป่าดิบเขา และป่าพื้นที่เกษตรนิเวศ วิธีการสุ่มตรวจนับความหลากหลายของมดที่ทำการศึกษามี 3 วิธีการ 2 ใน 3 วิธีการเป็นวิธีสุ่ม แบบเทียบเคียง คือ การสุ่มแบบใช้หลุมดัก และสุ่มแบบใช้เหยื่อดัก ส่วน 1 ใน 3 ว ิธี เป็นการสุ่มแบบสมบูรณ์แบบ คือ การใช้วิธีเก็บด้วยมือ จากข้อมูลของการสุ่มจะนำมาหาความเชื่อมั่น และประสิทธิภาพของการสุ่ม โดยใช้ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างแต่ละวิธีการ และจะพัฒนาวิธีการตรวจนับและวัดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศของป่า หลายประเภาต่อไป

คณะผู้วิจัย อุดมลักษณ์ หนูล้อมทรัพย์, อวบ สารถ้อย, ณิศ กีร์ติบุตร, ฉวีวรรณ หุตะเจริญ Chris Dickinson

การจัดสร้างแปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแบบถาวร บริเวณมอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ได้สร้างแปลงศึกาความหลากหลายทางธรรมชาติแบบถาวรขนาด 28 แฮคแตร์ ในพื้นที่ที่มีการติดตามศึกษาชะนีระหว่าง ปี 2539 – 2541 บริเวณมอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาพืชอาหารที่ชะนีมือขาว (Hylobates lar) บริโภค ทำการสำรวจรังวัดแปลงศึกษาเป็นแปลงย่อยขนาด 20×20 เมตร ติดหมายเลข วัดระยะ ขนาด และจัดทำแผนที่ต้นไม้ทุกต้นที่มีการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก (dbh) ตั้งแต่ 10 เ ซนติเมตร ขึ้นไป จัดจำแนกชื่อพรรณไม้ต่างๆ วิเคราะห์พฤติกรรมการหาอาหาร และอาณาเขตของชะนี ข้อมูลที่ได้จะได้รับการจัดเก็บและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในฐานข้อมูลที่ เรียกว่า TreeXY การสร้างแปลงศึกษาที่มอสิงโตเป็น สิ่งที่พิสูจน์ว่า แปลงศึกษาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพืชและสัตว์ และนิเวศวิทยากลุ่มสิ่งมีชีวิต เอื้ออำนวยการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสำรวจวัดผลจากอิทธิพลของมนุษย์และผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มี ต่อระบบนิเวศ และยังสามารถใช้ในการศึกษาด้านอื่นต่อไปได้อีกด้วย

คณะผู้วิจัย วรเรณ บรอคเคลแมน, ธวัชชัย สันติสุข, พนารัตน์ เจริญไชย, อนุตตรา ณ ถลาง และ Chen nan


สถานภาพและบทบาทของชะนีเต็มวัยเพศผู้ที่ยังไม่มีคู่ในกลุ่มชะนีมือขาว

ระหว่างปี 2538 – 2539 ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบรรลุภาวะตัวเต็มวัยของชะนีมือขาว (Hylobates lar) ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยศึกษาชะนีมือขาว 3 กลุ่ม คือ เพศผู้ตัวเต็มวัย เพศเมียที่มียังไม่มีคู่ (วัยกึ่งเต็มวัย) แ ละ วัยเด็ก ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม สัดส่วนของเวลาที่ชะนีใช้ในกิจกรรมต่างๆ ระยะห่างระหว่างชะนีแต่ละตัวภายในกลุ่ม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างชะนีวัยกึ่งเต็มวัยและวัยเด็กตอนปลาย กับคู่ชะนีผัวเมียในกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าชะนีกึ่งเต็มวัยยังคงมีปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มอย่าง ต่อเนื่องอีกเป็นเวลาหลายปีภายหลังบรรลุภาวะตัวเต็มวัยทางกายภาพ เนื่องจากชะนีอาศัยเป็นครอบครัวเล็กๆ ตกลูกครั้งละ 1 ตัวทุก 3 ป ี และชะนีแต่ละกลุ่มมีอาณาเขตเฉพาะ ดังนั้น ชะนีวัยจึงไม่มีเพื่อนเล่นวัยเดียวกันอยู่ภายในหรือนอกกลุ่ม ชะนีกึ่งเต็มวัยใช้เวลาส่วนหนึ่งในการดูแลขนและเป็นเพื่อนเล่นกับชะนีวัย เด็ก นอกจากนี้ชะนีกึ่งเต็มวัยเพศผู้ยังร่วมกับชะนีตัวผู้เจ้าของกลุ่มในการ ป้องกันอาณาเขตจากกลุ่มชะนีเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามสถานะของชะนีกึ่งเต็มวัยเพศผู้ก็เปลี่ยนไปภายหลังบรรลุภาวะ เต็มวัยทางกายภาพ กล่าวคือ พวกมันจะอยู่ห่างจากคู่ชะนีผัวเมียและชะนีวัยทารก และจะถูกกันออกจากต้นไม้ที่กลุ่มชะนีกำลังหากินอยู่โดยชะนีตัวผู้เจ้าของ กลุ่ม จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชะนีกึ่งเต็มวัยในประชากรชะนีมือขาวแห่งนี้จะยืดเวลาการแยกครอบครัวจาก กลุ่มเดิมภายหลังบรรลุภาวะเต็มวัยทางกายภาพ คู่ชะนีผัวเมียจะไม่ขับไล่ชะนีกึ่งตัวเต็มวัยออกจากกลุ่ม โดยการมีชะนีกึ่งเต็มวัยในกลุ่มจะยังประโยชน์ให้กับคู่ชะนีผัวเมียและลูก ชะนีวัยเด็ก

คณะผู้วิจัย - อุดมลักษณ์ สุวรรณเวโช, วรเรณ บรอคเคลแมน

การวิเคราะห์เสียงร้องสื่อสารของนกในวงศ์นกปรอดและวงศ์นกเอี้ยงบางชนิดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การสื่อสารด้วยเสียงของนกด้วยการเปล่งเสียงให้มีท่วงทำนองและระดับเสียงสูงต่ำแตกต่างกันได้มากมายจากอวัยวะผลิตเสียงร้องเฉพาะ คือ Syrinx จ ัด ว่าเป็นวิวัฒนาการสูงสุดของการสื่อสาร การสื่อสารด้วยเสียงร้องของนกจะมีความจำเพาะเจาะจงในสปีชีส์มาก ได้บันทึกเสียงร้องสื่อสารของนกในวงศ์นกปรอดและนกในวงศ์นกเอี้ยงบางชนิด แล้วนำเสียงร้องมาวิเคราะห์โดยแปลงเสียงสื่อสารของนกเป็น sonagram ด้วยโปรแกรม Avisoft และปรับแต่งเพิ่มความคมชัดของเสียงร้องสื่อสารด้วยโรแกรม Dartpro และ Samplitude ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะทำงานบนวินโดว์ 98 การวิเคราะห์รูปแบบ sonagram ข อง เสียงสื่อสารจะสามารถใช้ในการจำแนกความแตกต่างของเสียงสื่อสารแต่ละรูปแบบ ในนกชนิดต่างๆได้และยังสามารถใช้ในการจำแนกสปีชีส์ของนกได้ การศึกษาเสียงร้องของนกในวงศ์นกปรอดและวงศ์นกเอี้ยงในครั้งนี้จะทำการ วิเคราะห์โครงสร้างของเสียงและความหมายของการสื่อสารของนกในวงศ์นกปรอดและ วงศ์นกเอี้ยงเพื่อรวบรวมเสียงสื่อสารของนกในวงศ์นกปรอดและวงศ์นกเอี้ยง สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลในการจำแนกชนิดของนก

คณะผู้วิจัย- รัศมีพร จิระเดชประไพ, และ นริทธิ์ สีตะสุวรรณ

การทำแบบจำลองระดับการพัฒนาชนบทด้วยข้อมูลดัชนี กชช. 2ค และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ข้อมูล กชช. 2ค เป็นข้อมูลที่หลายหน่วยงานของรัฐบาลใช้วางแผนพัฒนาชนบท โดยข้อมูลแสดงถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน สำรวจและทำการจัดเก็บข้อมูลทุก 2 ปี ลักษณะของชุดข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวอักขระเป็นทั้งแบบเชิงพรรณาและเชิง พื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่นประเมินความเป็นอยู่ของประชากรในหมู่บ้านจากดัชนี 31 ตัว (ดัชนีย่อย) ซึ่งได้จากการประมวลผลข้อมูล กชช. 2ค ดัชนีย่อยได้ถูกแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสภาพพื้นฐาน, กลุ่มผลผลิต, รายได้และการมีงานทำ, กลุ่มสาธารณสุขและการอนามัย, กลุ่มแหล่งน้ำ, กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม และ กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประเมินผลความเป็นอยู่ของประชากรในหมู่บ้านโดยภาพรวมของจังหวัดจากดัชนี ย่อยยังมีความซับซ้อน งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความซับซ้อนของข้อมูล กชช. 2ค ที่จะใช้ตัดสินสำหรับการพัฒนาชนบท โดยรวมดัชนีย่อยที่มีความสัมพันธ์ไปในเรื่องเดียวกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้ได้ดัชนี 6 กลุ่ม และแสดงผลข้อมูลเปรียบเทียบในรูปแบบของแผนที่อ้างอิงตำแหน่งพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

ก) สร้างขอบเขตการปกครองของตำบลและจุดตำแหน่งหมู่บ้านในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการนำเข้าข้อมูลเชิงตัวเลขจากแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000
ข) สร้างแบบจำลองของดัชนีทั้ง 6 กลุ่ม โดยการนำดัชนีย่อย 31 ดัชนีมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย เพื่อให้ได้ค่าน้ำหนักของดัชนีย่อยแต่ละตัวที่จะเป็นองค์ประกอในสูตรดัชนี กลุ่ม
ค) การพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเป็น 2 ส่วน คือ

ค.1) ส่วนที่ให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถสร้างแบบจำลองดัชนีกลุ่มได้เอง ซึ่งแบบจำลองดัชนีกลุ่มจะถูกนำไปใช้ในการคำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของหมู่บ้าน
ค.2) คำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของตำบลจากค่าคะแนนดัชนีกลุ่มของหมู่บ้าน โดยหาค่าคะแนนมาตรฐานของคะแนนดัชนีกลุ่มของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งคิดจากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัด แล้วหาค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานของแต่ละตำบล แล้วจึงคำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของตำบล

ระบบโปรแกรมได้พัฒนาโดยใช้ทดสอบ กับข้อมูล กชช. 2ค (2542) ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลกาวิจัยที่ได้รับมีความหมายที่มีความแตกต่างจากเดิมในแง่ของการสร้างแบบ จำลองดัชนีกลุ่มที่สามารถกำหนดน้ำหนักได้ นอกจากนั้นยังสามารถแสดงผลเชิงพื้นที่ของดัชนีกลุ่มในระดับตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ

ผู้วิจัย - สถิพรรณ จันทรัตน์ 2545
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยาพนธ์ - รศ.ดร.ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์, รศ.ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี, ผศ.บุญส่ง วัฒนกิจ