++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2547

ต้องอดทน

สุจินดา เป็นเพื่อนรักกับชวลิต มานาน เมื่อ ชวลิต จะลงสมัคร ส.ส. สุจินดาจึงเตือนเพื่อนด้วยความเป็นห่วง

สุจินดา : คนจะเป็น ส.ส.ได้ต้องใจเย็น ต้องอดทน

ชวลิต : ครับ ขอบคุณครับ ผมจะจำไว้

เวลาผ่านไปไม่นานเท่าไหร่ สุจินดาก็เตือนชวลิตอีก

สุจินดา : คนจะเป็น ส.ส. ได้ ต้องใจเย็น ต้องอดทน

ชวลิต : ครับ ขอบคุณครับ ผมจะจำไว้

เวลาผ่านไปไม่นานเท่าไหร่ ก็เตือนอีก

สุจินดา : คนจะเป็น ส.ส. ได้ ต้องใจเย็น ต้องอดทน

ชวลิต : เฮ้ย นี่ลื้อเห็นอั๊วเป็นคนอย่างไรวะ พูดครั้งเดียวกูก็รู้เรื่องแล้ว มึงจะเอายังไงกับกู กูเดือดแล้วโว้ย

สุจินดา : ผมบอกแล้วไง คนจะเป็น ส.ส. ต้องใจเย็น ต้องอดทน


พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547

แผ่เมตตาจิต ให้ใจเข้มแข็ง

ยามเศรษฐกิจไม่ดี นอกจากจะเกิดความทุกข์ ทางกายมากกว่าสมัยเศรษฐกิจฟองสบู่แล้ว ปัญหาทางใจยังตามมารังควานไม่รู้จักหยุดจักหย่อน

แถม ปัญหาทางจิตใจเนี่ยมันฝังรากหยั่งลึก ยากต่อการซ่อมแซมหรือรักษา อาจจะยากกว่า การรักษาโรคทางกายหลายเท่า เพราะเวลาจิตป่วย ใจจะเตลิดเปิดเปิงได้ง่ายและรวดเร็วเสียด้วย แต่ถ้ากายป่วยยังเยียวยาแก้ไขด้วยการเอกซเรย์, ผ่าตัดหรือให้ยาให้น้ำเกลือยังพอยับยั้งโรค ไว้ไม่ให้ลุกลามได้บ้าง สิ่งที่ปรากฏอยู่ภายนอกจึงรักษาง่ายกว่าของที่ซ่อนอยู่ภายในหลายเท่า

สัปดาห์นี้ขอคุยถึงสุขภาพจิต เรื่องทำอย่างไรถึงจะหยุดตัดสินผู้อื่น (How To Stop Judging Others) สักทีดีกว่า

อธิบาย ก่อนว่า ความนิยมตัดสินผู้อื่นก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนทั่วๆ ไปในสังคม เพียงแต่เมื่อ พูดพาดพิงไปถึงคนอื่น มนุษย์ชอบเอาเรื่องไม่ดีของผู้อื่นมาซุบซิบนินทาหาคำสรรเสริญยาก ทั้งที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงซึ่งพูดออกไปนั้น รู้จริงหรือเปล่า...ก็ยังน่าสงสัยอยู่ แต่ขอให้ได้พูดไว้ก่อน ก็แล้วกัน คนรอบข้างจะได้คิดว่า เราก็มีมนุษยสัมพันธ์เหมือนกันนะ

ทั้งที่ “มนุษยสัมพันธ์” กับการ “นินทา” หรือพวก “ปากมาก”...มันคนละเรื่องกันเลยนะท่าน

สะกิดสะเกากันแล้วก็วกกลับมาคุยเรื่อง ทำไมคนเราจึงควรหยุดตัดสินคนอื่น ต่อซะเลย

โอปราห์ วินฟรีย์ เจ้าแม่รายการทอล์กโชว์ ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นเพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่ คนเราทำออกไป ล้วนส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขาและความสัมพันธ์ ที่พวกเขามีต่อ คนอื่นเสมอ

“พฤติกรรม กระซิบกระซาบ, วิพากษ์วิจารณ์ และซุบซิบนินทาชาวบ้าน (ในเรื่องไม่เข้าท่า) รู้ไหมว่า ทุกครั้งที่คุณทำสิ่งเหล่านี้ มันเป็นบ่อเกิดสร้างความเจ็บปวดให้ตัวเอง”

แกรี ซูคาฟ นักจิตวิทยาและนักเขียนซึ่งเป็นแขกรับเชิญในรายการของเจ๊โอปราห์กล่าวว่า การตัดสินผู้อื่น (โดยไม่รู้ข้อมูลให้รอบด้าน) คือการสร้างความรู้สึกด้อยค่าและยังเป็นยาพิษ กัดเซาะทำลายตัวเอง ยกเว้นแต่ว่า คนที่คุณพูดถึงนั้นเค้ามีนิสัยยอดแย่ เป็นที่ประจักษ์อย่างแท้จริง... แบบนี้ก็สมควรถูกยำใหญ่

อย่างไร ก็ตาม แทนที่ จะเพลิดเพลินไปกับการติฉินนินทา คุณควรหันมาแผ่เมตตาให้ความเห็นใจ ต่อผู้ด้อยทั้งฐานะและโอกาสกว่าคุณไม่ดีกว่าหรือ ยิ่งคุณให้สิ่งที่ดีต่อผู้อื่นมากเท่าไหร่ จิตใจของคุณก็จะเบิกบานมีความสุขมากเท่านั้น เมื่อใจเป็นสุขก็จะสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้จิตป่วย จิตที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะช่วยให้รอดจากวิกฤติเศรษฐกิจ.

ท่องเที่ยวช่วยบํารุงสุขภาพแข็งแรง




อาจารย์วิชาจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก ได้บอกสรุป ในหนังสือที่เขียนว่า การท่องเที่ยวพักผ่อนไม่แต่ เพียงทำให้เบิกบานใจเท่านั้น หากยังส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยอีกด้วย เขาร่วมกับ คณะได้ศึกษา โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ของการให้ผู้ชายที่ล่อแหลมกับโรคหัวใจอย่างยิ่งไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องการท่องเที่ยวพักผ่อน ด้วยมาเป็นเวลา 9 ปี

ทำ ให้ได้พบข้อสังเกตว่า ผู้ที่ยึดการท่องเที่ยวพักผ่อน อยู่เป็นประจำ เสี่ยงกับการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในระหว่าง ช่วงเวลาเหล่านั้นต่ำกว่าเพื่อน แม้จะได้คำนึงถึง ปัจจัยอื่นด้วยแล้ว อย่างเช่นผู้ที่สุขภาพไม่ดีอาจจะไม่เหมาะกับการเดินทางท่องเที่ยว ก็ยังสรุปได้ว่าการท่องเที่ยวพักผ่อนมีผลช่วยปกป้องสุขภาพ

พวก เขาให้ความเห็นว่า การท่องเที่ยวอาจจะช่วยรักษาสุขภาพร่างกาย เพราะช่วยบรรเทาความเครียด ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของโรคต่างๆหลายโรค โดยเฉพาะการท่องเที่ยวจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือด หัวใจ ซึ่งทราบกันอยู่ว่า ความเครียดมีส่วนอยู่ด้วย ได้มากกว่าโรคอื่น อย่างเช่น โรคมะเร็ง
โดยคุณ : วิทยาการ



ดูแลจิตใจเพื่อสุขภาพดีปีใหม่ : ศาสตร์แห่งชีวิต

ศาสตร์ในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะในซีกโลกตะวันออกนั้น มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตใจไม่แพ้ร่างกาย ถึงกับกล่าวกันว่าคนเราไม่อาจมีร่างกายที่แข็งแรงหรือสุขภาพดีได้ถ้าหากจิต ใจไม่อยู่ในศานติมีแต่ความเร่าร้อนทุรนทุราย
ใน ทำนองเดียวกันจิตใจก็ไม่อาจเป็นสุขสงบอยู่ได้ ถ้าหากร่างกายเต็มไปด้วยโรคาพยาธิ พูดอีกอย่างหนึ่งว่าจิตใจและร่างกายนั้นต่างก็อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นการที่คนเราจะมีสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จึงต้องดูแลรักษาทั้งร่างกายและจิตใจพร้อมๆ กันไป
ศาสตร์อายุรเวทซึ่งเป็นศาสตร์อันเก่าแต่โบราณก็ให้ความสำคัญกับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
ใน ทางร่างกายก็มีข้อแนะนำว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าอย่างที่ได้นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็ยังมีหลักปฏิบัติตัวในแต่ละฤดูกาล หลักปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละคน เหล่านี้เป็นวิถีปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลทั้งกับตัวเองและขณะ เดียวกันก็สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติที่เราอิงอาศัยอยู่
ในส่วนของจิตใจก็มีหลักหรือข้อปฏิบัติที่เรียกว่า "สัตตวฤต" (Sadvrtta) หรือข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงาม
โดยในคัมภีร์อายุรเวทมีจารึกเป็นโศลกถอดความออกมาได้ว่า
"กิจกรรมหรือการกระทำทั้งหลายของมนุษย์นั้น ควรเป็นไปเพื่อความสุขของสรรพชีวิตทั้งมวล"
การ ทำให้ผู้อื่นเป็นสุขได้ ขั้นต้นที่สุดที่พึงกระทำก็คือไม่ทำให้เขาทุกข์ทรมาน เพราะฉะนั้นจึงมีสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงคือไม่กระทำทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือทำร้ายร่างกาย ไม่พรากเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ประพฤติผิดทางเพศ ไม่พูดจาหยาบคายให้ร้ายป้ายสี ไม่พูดปด ไม่พูดจาให้เกิดความแตกแยกประเภทยุให้รำตำให้รั่ว ไม่มีจิตมุ่งร้ายอิจฉาริษยา หรือคอยจ้องจับผิดผู้อื่น
นอกจากหลีก เลี่ยงที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นทุกข์ทรมานแล้ว ก็ควรที่จะช่วยลดความทุกข์หรือเกื้อกูลผู้อื่นด้วย เป็นการเกื้อกูลที่ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นญาติมิตรของเราเท่านั้น แต่ควรให้กว้างไกลออกไปถึงคนยากจน คนด้อยโอกาสในสังคม คนเจ็บไข้ได้ป่วย ไปจนถึงคนที่เป็นศัตรูหรือไม่หวังดีต่อเรา
ในคัมภีร์บอกว่าแม้แต่แมลงหรือมดตัวน้อยๆ เราก็ควรดูแลปฏิบัติต่อพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเมตตาปรานีเหมือนที่เราปฏิบัติต่อตัวเราเอง
ควร เคารพบูชาต่อบุคคลผู้ควรบูชา เช่น เทพเจ้าที่เรานับถือศรัทธา พระสงฆ์องค์เจ้า พระเจ้าแผ่นดิน แพทย์ ผู้ที่อาวุโสกว่าเรา รวมทั้งแขกที่มาเยี่ยมเยือนควรพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานอบอุ่นและ จริงใจ รู้จักควบคุมประสาทสัมผัสทั้งห้าคือ ตา หู ลิ้น จมูก กาย (ผิวหนัง) ให้เสพหรือรับรู้สิ่งที่ทำให้เกิดความสมดุลของร่างกายและจิตใจ
ควรประกอบสัมมาอาชีวะ คือดำรงชีวิตด้วยวิชาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ผิดศีลธรรมอันดีงาม
นอก จากการดูแลจิตใจโดยตรงอย่างที่ว่ามาแล้ว ศาสตร์แห่งชีวิตยังพูดถึงการดูแลร่างกายส่วนต่างๆ ด้วย เพราะร่างกายที่แข็งแรงย่อมทำให้จิตใจพลอยแช่มชื่นแจ่มใสไปด้วย
โดย ให้ดูแลเรื่องผมเผ้า เล็บ หนวด ทวารทั้งหลาย ควรจะตัดให้เรียบร้อย คอยดูแลให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อไม่เป็นแหล่งของโรคภัยไข้เจ็บ ควรอาบน้ำชำระล้างร่างกายและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สะอาด
ไม่ ใช้ร่างกายอย่างหักโหม ทุกอย่างควรให้เป็นทางสายกลาง ไม่โดนแดดตากลม หรือสัมผัสกับฝุ่นละอองเป็นเวลานานๆ ที่สำคัญควรพิจารณาไตร่ตรองอยู่เนืองๆ ว่าเราใช้ชีวิตให้ผ่านวันและคืนที่ล่วงเลยไปอย่างไรบ้าง ตรงนี้ในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า
"ผู้ที่หมั่นทบทวนไตร่ตรองว่าตนเองใช้ ชีวิตผ่านวันและคืนอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร จะไม่กลายเป็นเหยื่อของความโศกเศร้าเสียใจ"
หรือจะพูดอีกอย่างว่าให้ เราหมั่นทบทวนและคอยระมัดระวังให้ตัวเองได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม เกื้อกูลทั้งตนเอง ทั้งคนรอบข้าง กว้างไกลไปจนถึงธรรมชาติที่ประกอบด้วยสรรพชีวิตอีกนับไม่ถ้วนสายพันธุ์ ก็จะทำให้เกิดความสงบสุขและกลมกลืนระหว่างตัวเราและสิ่งรอบตัว
ปีเก่า ล่วงเลยไป ปีใหม่เข้ามา ให้ของขวัญปีใหม่แก่ตัวเองและผู้อื่นด้วยการดูแลจิตใจของเราให้ดีงามเพื่อ ความเป็นองค์รวมแห่งชีวิตและเพื่อความสุขสันติของโลกทั้งมวลดีไหม
โดยคุณ : มูลนิธิสุขภาพไทย

ใช้ยางให้เต็มประสิทธิภาพ

ในการขับรถตามเส้นทางต่างๆ ยางรถ ยนต์มีบทบาทสำคัญอย่างมาก
การยึดเกาะถนน ทั้งบนทางเรียบ ตรง หรือทางโค้ง ผู้ผลิตจะพยายามให้ยาง
กดตัวอยู่บนพื้นผิวถนนให้มากที่สุด แม้ในยามที่แบกน้ำหนักรถเอาไว้เต็มที


ผู้ขับขี่หลายคน มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ชอบเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่า
ปกติ ซึ่งแม้ว่า ช่วงล่างของรถคันนั้น จะออกแบบมาดีแค่ไหน ความรับผิด
ชอบก็ยังคงตกอยู่กับยางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ผลิตยางรถยนต์ได้คำนึง
ถึงจุดนี้ไว้แล้ว โดยจะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้รถยนต์สามารถทรงตัวอยู่ได้ใน
ขณะเข้าโค้ง ในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.เมื่อรถเปลี่ยนทิศทางโดยการเลี้ยวโค้งจะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
(Centifugal Force) ขึ้น และเพื่อจะต้านแรงเหวี่ยงนี้ ไม่ให้รถลื่นไถลออก
นอกเส้นทาง จึงจำเป็นต้องมีแรง ยึดเหนี่ยวไว้ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงเสียดทาน
ระหว่างยางกับพื้นถนน โดยเรียกแรงนี้ว่า Cornering Force โดยแรงนี้จะ
เกิดเป็นมุม ฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวรถ

2.Cornering Force และ Cornering Power สำหรับCornering
Force นี้ จะเพิ่ม ตามองศาที่ล้อเลี้ยวไป แต่ในช่วง 1-4 องศา การ
เกิดแรงนี้จะ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พอเกินจาก 4 องศาไปแล้ว แรงดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ ดังนั้น ในการขับรถเข้าโค้ง ควรหักมุมล้อประมาณ 3-5 องศา
เพราะถ้าหักมุมล้อต่ำกว่า 3 องศา หรือเกิน 5 องศา ค่าของ
Cornering Force จะลดลง ซึ่งก็หมายถึงยางมีแรงต้านน้อย ลง โอกาสลื่นไถลก็มีมากขึ้น

3.Cornering Force กับน้ำหนักบรรทุก ความสัมพันธ์นี้สามารถอธิบาย
โดยสรุปได้ว่า ถ้าความดันลมยางคงที่ แต่น้ำหนักยาง (ซึ่งหมาย ถึงน้ำหนัก
บรรทุกทั้งหมด) เพิ่มขึ้น ค่าของ Cor-nering Force จะเพิ่มขึ้นด้วย หรือพูด
ได้ว่า ความสามารถในการเลี้ยวโค้งของรถหนัก จะดีกว่ารถเบานั่นเอง

4.Cornering Force กับความดันลมยาง เมื่อใดก็ตามที่ความดันลมยาง
เพิ่มขึ้น หมาย ถึงความแข็งของยางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าของ Cor-nering Force
จะเพิ่มขึ้นตามความแข็งของยาง แต่ไม่ได้แนะนำให้เติมลมยางมากเกินไป
หากต้องการเพิ่มในการใช้งานปกติ ควรเพิ่มเพียง 0.3-0.8 ก.ก./ตร.ซม.
จากลมยางมาตรฐานเท่านั้น เพราะถ้าเพิ่มสูงกว่านี้ จะทำให้ความสามารถใน
การจับถนนหรือ Road Griping ลดลง เนื่องจากยางจะเต้นจนลอยตัวจาก
พื้นถนน

5.Cornering Force กับความกว้างของกระทะล้อ สำหรับกระทะล้อที่มี
ความกว้างมาก ค่าของ Cornering Force จะมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก็เช่น
เดียวกันคือ ไม่แนะนำให้เพิ่มความกว้างของกระทะล้อ ให้มากกว่าขนาด
มาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเกินกว่า 0.5 นิ้ว เพราะอาจจะทำให้ยางหลุด
จากกระทะล้อได้ ในขณะที่กำลังเข้าโค้งอย่างแรง
จากความสัมพันธ์และปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ Cornering Force ที่ได้
เขียนมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การบำรุงรักษายางหรือการใช้ยางให้เหมาะ
สมตามมาตรฐาน จะทำให้ประ-สิทธิภาพของยางในขณะเข้าโค้งเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น ถ้ายางรถยนต์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือหมดสภาพแล้ว ก็ควรที่
จะเปลี่ยนยางชุดใหม่ เพราะผลเสียที่ตามมาหากละเลยในจุดนี้ก็คือ ความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
พูดถึงน้ำหนักบรรทุกมาแล้วก็ขอต่ออีกนิด เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ
ยางกับน้ำหนักบรรทุก ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
การจัดวางน้ำหนัก ปกติแล้วเวลาเราบรรทุกสิ่งของท้ายรถ หรือที่กระบะ
หลัง หลายคนมักจะคำนึงถึงความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของ เช่น การวาง
สิ่งของไว้ใกล้กับฝากระโปรง ท้าย ทำให้ยางบางเส้นต้องรับน้ำหนักมากกว่า
เส้นอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่ออายุการใช้งานของยาง โดยยางเส้นที่รับ
น้ำหนักมากกว่าจะสึกหรอเร็วกว่า และเกิดความร้อนมากกว่า มีผลทำให้ยาง
บวม หรืออาจเกิดระเบิดได้ง่าย ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงความสมดุลของ
น้ำหนัก ถ้าบรรทุกของที่หนักที่สุดไว้ ท้ายรถ น้ำหนักก็จะกดลงบนล้อหลังมาก ทำให้ยางล้อหน้า ไม่ได้รับน้ำหนัก
การบังคับพวงมาลัยจะทำได้ยาก และเช่นเดียวกัน หากบรรทุกของหนักไว้
ด้านหน้ามากเกินไป ก็จะทำให้พวงมาลัยหนัก และควบคุมยากอีกเช่นกัน
สำหรับความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง จะมีตัวเลขบ่งบอกอยู่
แล้วเป็นรัหส เช่น 82, 86, 91 เป็นต้น โดยเป็นตัวเลข 2 หลักสุด
ท้ายของ ขนาดยาง ส่วนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยาง หากบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะ
มีทั้ง
1.อายุยางสั้นลง เนื่องจากยางที่รับน้ำหนัก มากเกินอัตรา จะเกิดความ
ร้อนสูงบริเวณหน้ายาง ทำให้ความต้านทานการสึกหรอของยางลด ลง
อายุ ยางจึงลดลงด้วย โดยมีข้อมูลที่เปรียบเทียบให้ดูว่า หากบรรทุกน้ำหนักเกิน
อัตราประ-มาณ 20% อายุยางจะลดลงเหลือ 70% และหากบรรทุกเกินถึง
100% หรือเท่าตัว จะทำให้อายุยางลดลงเหลือเพียง 25% เท่านั้น

2.ยางเสียหายก่อนกำหนด สภาพการเสียหายที่รุนแรง เช่น ยางบวม
ร่องยางแตก แก้มยางหัก ขอบยางระเบิด เป็นต้น ส่วนมากจะเกิดจากการ
บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราทั้งสิ้น
ผลจากการบรรทุกน้ำหนักเกินอย่างที่ว่ามา
ไม่เฉพาะยางเท่านั้นที่ได้รับความเสียหาย แต่ กระทะล้อและช่วงล่าง เช่น ลูกปืน เพลา สปริง แหนบ
คลัตช์ และอีกหลายจุด ก็จะพลอยสึก หรอเร็วกว่าปกติอีกด้วย วิธีป้องกัน
ง่ายๆ ก็เพียง บรรทุกสิ่งของตามน้ำหนักที่กำหนดเท่านั้น
โดยคุณ : ดาบส

เคล็ดลับวิธีการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพดีรับปีใหม่

แพทย์แนะออก กำลังกายที่เหมาะสมกับวัย สร้างสุขภาพที่ดีเป็นของขวัญให้
กับตัวเองในวันปีใหม่โดยไม่ต้องลงทุน เตือนผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศทั้งวัน
โดยแทบไม่เคยออกกำลัง ระวังสารพัดโรค ตั้งแต่โรคหลอดเลือดหัวใจ ความ
อ้วน และความดันโลหิตสูง

พ.ญ.ศิริพร กัญชนะ ผู้อำนวย การสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข เผยเคล็ดลับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยว่า
ใน วัยเด็กการเคลื่อนไหวออกกำลังกายจะปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
กิจกรรมการเดิน การเล่น
แต่ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ผู้ใหญ่ต้องสนับสนุน
ให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามความต้องการของเด็ก
ซึ่งเด็กจะ มีการเรียนรู้และปรับสภาพกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถของตนเอง
ส่วนในวัยทำงานนั้น พ.ญ. ศิริพร แนะนำว่า ในกลุ่มที่ทำงานในออฟฟิศ
ควรออกกำลังกายประ-เภทฝึกความทนทานของระบบหายใจและการ
ไหลเวียนโลหิต เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
ส�วนในกลุ่มที่ต้องออกแรงทำงานหนัก เช่น การยกหรือแบก รวมทั้งหิ้ว
ของหนักๆ หรือออกแรง เคลื่อนย้ายสิ่งของ กาจเกิดการบาด เจ็บสะสมของ
ระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง ในกลุ่มนี้การออกกำลังแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
จึงมีความ สำคัญและจำเป็นมาก หากมีเวลาสามารถออกกำลังกายได้อย่าง
เป็นเรื่องเป็นราวจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
สำหรับวัยสูงอายุ ควรออกกำลังกายประเภทฝึกความทนทาน หรือแอ
โรบิกด้วยระดับความแรงระดับเบาถึงปานกลางก็พอเพียงต่อสุขภาพแล้ว

พ.ญ.ศิริพร กล่าวต่อว่า ในโอกาสวันปีใหม่นี้กรมอนามัยขอแนะนำให้
ประชาชนหันมาออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีเป็นของขัวญสำหรับตน
เอง ซึ่งไม่ต้องลงทุนแต่ให้ผลคุ้มค่ามากต่อสุขภาพ
ทั้งนี้มีเคล็ดลับว่าการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่จำเป็น
ต้องหนักหน่วงรุนแรงหรือหักโหม แต่ควรสะสมรวมกันให้ได้อย่างน้อย 30
นาทีต่อวันอย่างต่อเนื่องกัน หรือเป็นช่วงสั้นๆ 8-10 นาที ทำทุกวันหรือ
เกือบทุกวันในแต่ละสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายในงานอาชีพ กิจ
กรรมเวลาว่าง หรือภารกิจประจำวันทั้งนี้ต้องให้เหมาะสมกับวัย ความ
สามารถ และความต้องการของแต่ละวัยด้วย

พ.ญ.ศิริพร กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือออกกำลัง
กายน้อย ถ้าสนใจจะออกกำลังกายควรเริ่มต้นออกกำลังกายเป็นช่วงสั้นๆ
เบาๆ ช้าๆ ก่อน เพื่อให้ร่างกายปรับตัวแล้วจึง ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่
ต้อง การ ส่วนผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต สูง โรค
อ้วน หรือผู้ชายอายุ 40 ปี และผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ของโรคหัวใจและหลอดเลือด หากต้องการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นด้วยความ
แรงที่หนักหน่วงซึ่งไม่เคยทำมาก่อน จะต้องรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน